ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(+) ตลาดต่างประเทศ DJIA +94.52, NASDAQ +2.06, S&P +3.02, FTSE +10.54, CAC +23.30 และ DAX +47.76
DJIA และ S&P 500 ปรับขึ้นไปอยู่เหนือระดับ 25,000 จุด และ 2,800 จุด ได้อีกครั้ง ขณะที่ Nasdaq ปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนทางด้านผลประกอบการธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐฯ มีทั้งสูงและต่ำกว่าคาด เช่น เจพีมอร์แกน เชส ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐ มีกำไรสุทธิ – 2Q/61 เพิ่มขึ้น 18% สูงกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 9.4% โดยอยู่ที่ 8.32 พันล้านUSD ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เช่นเดียวกับซิตี้กรุ๊ป เปิดเผย กำไรสุทธิ – 2Q/61 อยู่ที่ 1.63 USD/หุ้น สูงกว่าที่คาดว่าจะอยู่ที่ 1.56 USD/หุ้น
ขณะที่เวลส์ ฟาร์โก ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของสหรัฐฯ มีกำไรสุทธิและรายได้ – 2Q/61 ต่ำกว่าคาด
ทางด้านตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ (1) ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค - ก.ค. อยู่ที่ 97.1 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน และต่ำกว่าที่คาดว่าจะอยู่ที่ 98.2 จากความกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้า (2) ดัชนีราคานำเข้า - มิ.ย. ลดลง 0.4% MoM โดยลดลงมากที่สุดนับแต่ก.พ.’ 59 หลังเพิ่มขึ้น 0.9% เมื่อพ.ค. แต่เพิ่มขึ้น 4.3%YoY และ (3) ดัชนีราคาส่งออก - มิ.ย. เพิ่มขึ้น 0.3%MoM หลังจากเพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อพ.ค. และเพิ่มขึ้น 5.3%YoY ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับแต่ต.ค.’54
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ส.ค. +US$0.68 อยู่ที่ US$71.01 ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับการกลับมาส่งออกน้ำมันของลิเบียอีกครั้ง รวมถึงคาดอิหร่านจะยังคงสามารถส่งออกน้ำมัน แม้เผชิญกับการคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ ขณะที่จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ มีจำนวนคงที่
ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ส.ค. -US$5.4 อยู่ที่ US$1,241.2ต่อออนซ์ ภายใต้ปัจจัยกดดันจากเงินสหรัฐฯ ที่แข็งค่า หลังยังมีความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมถึงการคาดการณ์ว่าเฟด จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -357 ล้านบาท ยอดสะสม -196,224 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท และปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)
ประเด็นที่ต้องติดตาม 16 – 20 ก.ค.’61
16/7/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนก.ค.
(2) ยอดค้าปลีกเดือนมิ.ย.
(3) สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนพ.ค.
17/7/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย.
(2) ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนก.ค
18/7/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนมิ.ย.
(2) สต็อกน้ำมัน
(3) รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากเฟด
19/7/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
(2) ดัชนีการผลิตเดือนก.ค.
20/7/61 ไม่มีรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ
ทิศทางตลาด
ผันผวน? โดย Sentiment ยังเป็นบวก ภายใต้ประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่คาดตลาดส่วนใหญ่สะท้อนไปบ้างแล้วในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาเริ่มมีสัญญาณที่ดี จากความพยายามยุติปัญหาสงครามการค้าระหว่าง 2 ประเทศข้างต้น หลังสหรัฐฯ ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าอัตรา 10% จากสินค้าจากจีน เพิ่มอีก 200,000 ล้านUSD โดยครอบคลุมสินค้า 6,000 รายการ คาดจะมีการเจรจาทวิภาคีรอบใหม่ระหว่าง 2 ประเทศ อย่างไรก็ตามยังแนะติดตามต่อเนื่อง (+) หากสามารถเจรจาต่อรอง และสถานการณ์ไม่ลุกลามไปจากความคาดหมายเดิม (-) หากไม่สามารถเจรจาต่อรองกันได้ คาดการตอบโต้อาจมีความรุนแรง และอาจส่งผลต่อการขยายตัวเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งเป็นความกังวลและกดดันภาพรวมตลาดต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้านี้
ขณะที่ประธานเฟด กำหนดแถลงนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจรอบครึ่งปี ต่อสภาคองเกรสในวันอังคาร (สภาผู้แทนฯ) และพุธ (วุฒิสภา) นี้ พร้อมยังแนะติดตามเงินสหรัฐฯ กลับมาแข็งค่าอีกครั้ง หลังตัวเลขเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดเป็นปัจจัยที่ทำให้เฟดพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามการส่งสัญญาณก่อนหน้านี้อีก 2 ครั้ง ในเดือนก.ย. และ ธ.ค. ตามลำดับ ซึ่งคาดทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีการซื้อขายในรูปเงินสหรัฐฯ ราคาลดลง อย่างไรก็ตามเงินบาทที่อ่อนค่าลง ส่งผลดีต่อหุ้นกลุ่มส่งออก
ทางด้านราคาน้ำมันมีความผันผวน ภายใต้ความกังวลปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยังทรงตัวในระดับสูง 71 – 74USD/บาร์เรล การลงทุนในกลุ่มพลังงานแนะนำเก็งกำไรตามราคาน้ำมัน (+/-)
ประเด็นในประเทศคาดจะเริ่มมีน้ำหนักมากขึ้น จากการที่เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลประกาศผลประกอบการ 2Q61 เริ่มโดยกลุ่ม Bank เบื้องต้นคาดภาพ YoY ดีขึ้นหลังจากตั้งสำรองไปมากแล้วในปีที่ผ่านมา ซึ่งจะทยอยประมาณภายในสัปดาห์นี้ หลังจากนั้นเป็นกลุ่ม Real Sector ถึงกลางเดือนส.ค.
อย่างไรก็ตามคาดยังได้รับ Sentiment เป็นลบ จาก Fund Flow ยอดขายสุทธิของต่างชาติ YTD ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องเกือบ 2 แสนล้านบาท ทางด้านเงินบาทล่าสุด 33.27 บาท ซึ่งยังเคลื่อนไหวในกรอบ 33.20 – 33.30 บาท ซึ่งเป็นระดับอ่อนค่าสูงสุดนับจากต้นปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามหากมีการกำหนดวันเลือกตั้งชัดเจน (คาดภายในก.พ.’62) คาดช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นการลงทุนกลับมา โดยเฉพาะจากต่างชาติกลับเข้ามาอีกครั้ง
ขณะที่ในระยะกลาง – ยาว ยังได้รับ Sentiment บวกทิศทางการเติบโตเศรษฐกิจ หลังหลายหน่วยงานปรับเพิ่ม GDP ปี’61 ขึ้นมาอยู่ในระดับ 4.4 – 4.5% ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์พร้อมปรับเพิ่มเป้าหมายการส่งออกขึ้นเป็น 9.0% นอกจากนี้ยังมีการเร่งรัดเปิดประมูลโครงการรถไฟทางคู่ Phase 2 ภายในปีนี้ ซึ่งคาดยังเป็นปัจจัยหนุนภาพรวมกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL เป็นต้น
(2) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูง เช่น PTT, PTTEP เป็นต้น
(3) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.02 อยู่ที่ 2.83% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.40 อยู่ที่ 12.18
หุ้นแนะนำ : PSL
ข่าวเด่น