ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(+) ตลาดต่างประเทศ DJIA +55.53, NASDAQ +49.40, S&P +11.12, FTSE +25.88, CAC +13.11 และ DAX +100.52
สะท้อนถ้อยแถลงประธานเฟดต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนฯ ที่แสดงความเชื่อมั่นต่อการขยายตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากมาตรการกระตุ้นทางการคลัง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค, การลงทุนในภาคธุรกิจ ความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นในภาคครัวเรือน การขยายตัวของเศรษฐกิจในต่างประเทศ รวมถึงสภาวะทางการเงินที่ผ่อนคลายภายในประเทศ ขณะที่อัตราว่างงานอยู่ในระดับต่ำ
พร้อมการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้นักลงทุนเชื่อว่า เฟดจะไม่เร่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แม้เศรษฐกิจภายในประเทศส่งสัญญาณแข็งแกร่งขึ้นก็ตาม
และยังได้รับปัจจัยหนุนจากผลประกอบการ – 2Q/61 ที่สดใสของบริษัทจดทะเบียนและดีกว่าคาด เช่น โกลด์แมน แซคส์ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน และยูไนเต็ดเฮลท์ กรุ๊ป อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทประกันสุขภาพรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ
ขณะที่สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุด (1) การผลิตภาคอุตสาหกรรม - มิ.ย. เพิ่มขึ้น 0.6% สอดคล้องกับคาด และดีขึ้น จาก
พ.ค. ซึ่งลดลง 0.5% และ (2) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้าน - ก.ค. ทรงตัวที่ 68 เมื่อเทียบกับมิ.ย. ที่ผ่านมา จากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งและภาวะขาดแคลนบ้านในตลาด
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ส.ค. +US$0.02 อยู่ที่ US$68.08 ต่อบาร์เรล ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ภายใต้คาดการณ์ว่าสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ล่าสุด จะลดลง 3 ล้านบาร์เรล
ขณะที่ยังได้รับปัจจัยกดดัน (1) การเปิดสถานีส่งออกน้ำมัน 4 แห่ง ของลิเบีย จากที่ถูกปิดไปก่อนหน้านี้ ทำให้มีการส่งออกน้ำมันราว 850,000 บาร์เรล/วัน เข้าสู่ตลาด (2) เวเนเซุเอลาเตรียมดำเนินการซ่อมบำรุงโรงกลั่นน้ำมันดิบ 2 ใน 4 แห่ง โดยโรงกลั่นดังกล่าวมีกำลังการผลิตรวมกันถึง 700,000 บาร์เรลต่อวัน และ (3) EIA คาดว่า การผลิตน้ำมันจาก
ชั้นหินดินดาน (shale oil) ของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้น 143,000 บาร์เรล/วัน สู่ระดับ 7.47 ล้านบาร์เรล/วันในเดือนส.ค. ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ส.ค. -US$12.4 อยู่ที่ US$1,227.3ต่อออนซ์ ยังได้รับปัจจัยกดดันจากการคาดการณ์ว่าเฟด จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ หลังตัวเลขเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับขึ้นยังส่งผลให้นักลงทุนเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
(+) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ +12 ล้านบาท ยอดสะสม -196,972 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท และปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)
ประเด็นที่ต้องติดตาม 18 – 20 ก.ค.’61
18/7/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนมิ.ย.
(2) สต็อกน้ำมัน
(3) รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากเฟด
19/7/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
(2) ดัชนีการผลิตเดือนก.ค.
20/7/61 ไม่มีรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ
ทิศทางตลาด
ตามตลาดต่างประเทศ? คาดมีโอกาสปรับขึ้นในทิศทางเดียวกับต่างประเทศ ที่ให้น้ำหนักบวกต่อถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อสภาผู้แทนฯ โดยเฉพาะความเชื่อมั่นต่อการขยายตัวเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ
ทำให้คาดสามารถรองรับกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ที่คาดค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งคาดจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง ในเดือนก.ย. และ ธ.ค. ตามลำดับ รวมเป็น 4 ครั้งในปีนี้ ยังแนะติดตามเงินสหรัฐฯ คาดกลับมาแข็งค่าอีกครั้ง อย่างไรก็ตามเงินบาทที่อ่อนค่าลง ส่งผลดีต่อหุ้นกลุ่มส่งออก
ขณะที่ในวันนี้ประธานเฟดจะแถลงต่อวุฒิสภาอีกครั้ง คาดแสดงมุมมองทั้งเศรษฐกิจและนโยบายการเงินในลักษณะเดียวกัน
ส่วนทางด้านหุ้นกลุ่มพลังงาน คาดยังได้รับปัจจัยกดดันจากราคาน้ำมัน ภายใต้ความกังวลปริมาณผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมถึงสหรัฐฯ ผ่อนผันให้ประเทศต่างๆ ซื้อน้ำมันจากอิหร่าน แม้สหรัฐฯ จะคว่ำบาตรอิหร่านก็ตาม
สำหรับประเด็นสงครามการค้า แม้ตลาดส่วนใหญ่สะท้อนไปบ้างแล้วในช่วงที่ผ่านมา และมีสัญญาณที่ดีจากความพยายามยุติปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน หลังสหรัฐฯ ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าอัตรา 10% จากสินค้าจากจีน เพิ่มอีก 200,000 ล้านUSD โดยครอบคลุมสินค้า 6,000 รายการ คาดจะมีการเจรจาทวิภาคีรอบใหม่ระหว่าง 2 ประเทศ อย่างไรก็ตามยังแนะติดตามต่อเนื่อง (+) หากสามารถเจรจาต่อรอง และสถานการณ์ไม่ลุกลามไปจากความคาดหมายเดิม แต่ในทางกลับกัน (-) หากไม่สามารถเจรจาต่อรองกันได้ คาดการตอบโต้อาจมีความรุนแรง และอาจส่งผลต่อการขยายตัวเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งเป็นความกังวลและกดดันภาพรวมตลาดต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้านี้
ประเด็นในประเทศคาดจะเริ่มมีน้ำหนักมากขึ้น จากการที่เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลประกาศผลประกอบการ 2Q61 เริ่มโดยกลุ่ม Bank เบื้องต้นคาดภาพ YoY ดีขึ้นหลังจากตั้งสำรองไปมากแล้วในปีที่ผ่านมา ซึ่งจะทยอยประมาณภายในสัปดาห์นี้ หลังจากนั้นเป็นกลุ่ม Real Sector ถึงกลางเดือนส.ค.
อย่างไรก็ตามคาดยังได้รับ Sentiment เป็นลบ จาก Fund Flow ยอดขายสุทธิของต่างชาติ YTD ยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องเกือบ 2 แสนล้านบาท ทางด้านเงินบาทล่าสุด 33.32 บาท ซึ่งยังเคลื่อนไหวในกรอบที่เป็นระดับอ่อนค่าสูงสุดนับจากต้นปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามหากมีการกำหนดวันเลือกตั้งชัดเจน (คาดภายในก.พ.’62) คาดช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นการลงทุนกลับมา โดยเฉพาะจากต่างชาติกลับเข้ามาอีกครั้ง
ขณะที่ในระยะกลาง – ยาว ยังได้รับ Sentiment บวกทิศทางการเติบโตเศรษฐกิจ หลังหลายหน่วยงานปรับเพิ่ม GDP ปี’61 ขึ้นมาอยู่ในระดับ 4.4 – 4.5% ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์พร้อมปรับเพิ่มเป้าหมายการส่งออกเป็นไม่ต่ำกว่า 10% นอกจากนี้ยังมีการเร่งรัดเปิดประมูลโครงการรถไฟทางคู่ Phase 2 ภายในปีนี้ ซึ่งคาดยังเป็นปัจจัยหนุนภาพรวมกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL เป็นต้น
(2) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูง เช่น PTT, PTTEP เป็นต้น
(3) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.01 อยู่ที่ 2.86% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.77 อยู่ที่ 12.06
หุ้นแนะนำ : BBL
ข่าวเด่น