ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(-) ตลาดต่างประเทศ DJIA -6.38, NASDAQ -5.10, S&P -2.66, FTSE -5.18, CAC -18.75 และ DAX -124.87
แม้กลับมาได้รับปัจจัยกดดันจากประเด็นสงครามการค้า หลังล่าสุดปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวว่า พร้อมที่จะเรียกเก็บภาษีศุลกากรต่อสินค้าทุกประเภทที่นำเข้าจากจีน หากมีความจำเป็น คาดวงเงินสูงถึง 5 แสนล้านUSD เทียบเท่ากับวงเงินสินค้าจีนที่นำเข้าสหรัฐฯ ในปีที่ผ่านมา ซึ่งมีมูลค่า 5.055 แสนล้านUSD ขณะที่สหรัฐฯ ส่งออกสินค้าไปยังจีนคิดเป็นมูลค่าเพียง 1.299 แสนล้านUSD
อย่างไรก็ตามการปรับลดลงอยู่ในกรอบจำกัด เนื่องจากได้รับการชดเชยจากผลประกอบการที่สดใสและดีกว่าคาด เช่น ไมโครซอฟท์ และ
ฮันนีเวลล์ ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มเทคโนโลยีและภาคการผลิตของสหรัฐฯ
ทางด้านตลาดหุ้นยุโรป มีความกังวลว่า สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ข้างต้น จะส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก รวมถึงผลประกอบการของบริษัทต่างๆ
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ส.ค. +US$1.00 อยู่ที่ US$70.46 ต่อบาร์เรล ยังได้รับปัจจัยหนุน (1) ซาอุดิอาระเบียเตรียมลดการส่งออกน้ำมันในเดือนหน้า ประมาณ 100,000 บาร์เรล/วัน เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะอุปทานน้ำมันในตลาดที่สูงเกินไป รวมถึงสต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง (จุดส่งมอบสัญญาน้ำมันดิบ) รัฐโอกลาโฮมา ล่าสุด ลดลง 1.8 ล้านบาร์เรล และ (2) เงินสหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลง หลังปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวหาจีนและสหภาพยุโรปกำลังปั่นค่าเงินเพื่อสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ
ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ส.ค. +US$7.1 อยู่ที่ US$1,231.1 ต่อออนซ์ ภายใต้ปัจจัยหนุนจากเงินสหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลง
(+) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ +979 ล้านบาท ยอดสะสม -197,426 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท และปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)
ประเด็นที่ต้องติดตาม 23 – 27 ก.ค.’61
23/7/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ยอดขายบ้านมือสองเดือนมิ.ย.
24/7/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ดัชนีราคาบ้านเดือนพ.ค.
(2) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นเดือนก.ค.
(3) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นต้นเดือนก.ค.
25/7/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ยอดขายบ้านใหม่เดือนมิ.ย.
(2) สต็อกน้ำมัน
26/7/61 ประชุมธนาคารกลางยุโรป - ECB
สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
(2) ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมิ.ย.
(3) สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนมิ.ย.
27/7/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) – 2Q/61
(2) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ค.
ทิศทางตลาด
ตามตลาดต่างประเทศ? คาดมีโอกาสปรับลดลงตามตลาดต่างประเทศ แต่คาดอยู่ในกรอบแคบ ภายใต้ปัจจัยเดิมที่กลับมากดดัน จากประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ล่าสุด ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ออกมากล่าวถึงการเก็บภาษีสินค้าจากจีน ว่าอาจสูงถึง 5 แสนล้านUSD ซึ่งเท่ากับมูลค่าที่สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากจีนในปีที่ผ่านมา ขณะที่ประเด็นการเจรจาต่อรองของ 2 ประเทศ ยังมีความความคืบหน้า
นอกจากนี้ยังมีความขัดแย้งในการดำเนินนโยบายในสหรัฐฯ โดยเฉพาะนโยบายการเงิน ที่ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ออกมาแสดงความเห็นต่อการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด โดยเฉพาะการส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ว่าอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวเศรษฐกิจของสหรัฐฯ คาด Sentiment ในประเด็นนี้ยังเป็นลบภายใต้การแทรกแซงการทำงานของธนาคารกลางสหรัฐฯ แนะติดตามการกลับเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงตลาดหุ้น หลัง Bond Yield สหรัฐฯ ที่ล่าสุด ปรับลดลง จากประเด็นข้างต้น พร้อมกับอาจส่งผลให้เงินสหรัฐฯ กลับมามีความผันผวน จากก่อนหน้าได้รับปัจจัยหนุนจากการส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด พร้อมกับการขยายตัวเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่ง
ส่วนทางด้านหุ้นกลุ่มพลังงาน คาดกลับมาได้รับความสนใจจากแนวโน้มราคาน้ำมันที่คาดได้รับปัจจัยหนุนจากการส่งออกของซาอุดิอาระเบียที่ลดลงในเดือนหน้า พร้อมคาดสต็อกน้ำมันในตลาดโลกในไตรมาส 3 มีแนวโน้มลดลง จากความต้องการใช้น้ำมันจำนวนมาก
ทางด้านประเด็นในประเทศ คาดมีแรงเก็งกำไรผลประกอบการ – 2Q/61 ซึ่งจะทยอยประกาศถึงกลางเดือนส.ค. พร้อมแรงซื้อกลับกลุ่มธนาคารหลังผลประกอบการ – 2Q/61 ดีกว่าคาด และคาดมีแนวโน้มที่ดีในช่วง 2H/61ทางด้าน Fund Flow แรงขายสุทธิต่างชาติในช่วงที่ผ่านมา เริ่มชะลอ และล่าสุดกลับมาเป็นซื้อสุทธิ ประมาณ 980 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม YTD ยอดขายสุทธิสะสมของต่างชาติ ยังอยู่ในระดับสูงเกือบ 2 แสนล้านบาท ทางด้านเงินบาทล่าสุด 33.32 บาท แข็งค่าจากระดับ 33.45 เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามหากมีการกำหนดวันเลือกตั้งชัดเจน (คาดภายในก.พ.’62) คาดช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นการลงทุนกลับมา โดยเฉพาะจากต่างชาติกลับเข้ามาอีกครั้ง
ขณะที่ในระยะกลาง – ยาว ยังได้รับ Sentiment บวกทิศทางการเติบโตเศรษฐกิจ หลังหลายหน่วยงานปรับเพิ่ม GDP ปี’61 ขึ้นมาอยู่ในระดับ 4.4 – 4.5% ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์พร้อมปรับเพิ่มเป้าหมายการส่งออกเป็นไม่ต่ำกว่า 10% นอกจากนี้ยังมีการเร่งรัดเปิดประมูลโครงการรถไฟทางคู่ Phase 2 ภายในปีนี้ ซึ่งคาดยังเป็นปัจจัยหนุนภาพรวมกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL เป็นต้น
(2) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูง เช่น PTT, PTTEP เป็นต้น
(3) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.05 อยู่ที่ 2.89% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.01 อยู่ที่ 12.86
หุ้นแนะนำ : PTTEP
ข่าวเด่น