ราคาน้ำมันดิบดีดกลับ จากแรงซื้อทำกำไร
+ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น จากแรงซื้อเพื่อเก็งกำไร หลังราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงราวร้อยละ 2 วานนี้ เนื่องจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
- ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบกลุ่มโอเปก ในเดือน ก.ค ปรับตัวเพิ่มขึ้น 70,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 32.64 ล้านบาร์เรลต่อวัน แตะระดับสูงสุดของปี 2561 หลังซาอุดิอาระเบีย คูเวต และและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต่างเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเพื่อชดเชยการผลิตน้ำมันจากอิหร่านที่อาจปรับตัวลดลงจากมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ
- ความตึงเครียดด้านสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น หลังทรัมป์ขู่จะปรับอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขึ้นเป็นร้อยละ 25 ซึ่งมากกว่าตัวเลขเดิมที่เคยระบุไว้ว่าจะมีการปรับขึ้นภาษีเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 10 ส่งผลให้ตลาดเกิดความกังวลว่าปัจจัยข้างต้นจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก รวมถึงความต้องการใช้น้ำมัน
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานรัสเซีย เผยว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบรัสเซียในเดือน ก.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 200,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งมากกว่าระดับที่ตกลงกับกลุ่มโอเปกเมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมาว่ารัสเซียจะปรับเพิ่มกำลังการผลิตที่ 200,000 บาร์เรลต่อวัน
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากตลาดยังคงถูกกดดันจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสิงคโปร์ยังคงอยู่ในระดับสูง ประกอบกับแรงซื้อจากอินโดนีเซียที่เบาบางลง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยถูกกดดันจากปริมาณการส่งออกจากจีนและอินเดียที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
อย่างไรก็ตามได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังสิงคโปร์ที่ปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่ผ่าน อย่างไรก็ตาม
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์หน้า
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 67-72 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 71-76 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังปริมาณการผลิตน้ำมันดิบทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบของสหรัฐฯ คาดจะปรับเพิ่มขึ้นหลังแหล่งผลิตน้ำมันดิบ Syncrude ในแคนาดา กำลังการผลิต 360,000 บาร์เรลต่อวัน มีแนวโน้มกลับมาผลิตได้ตามปกติในเดือน ส.ค.
การร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตระหว่างผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกได้ปรับลดลงกว่าร้อยละ 5 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 111 ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หลังทั้งสองกลุ่มผู้ผลิตตัดสินใจปรับเพิ่มกำลังการผลิตในการประชุมโอเปกที่ผ่านมา
ปริมาณการผลิตและส่งออกของลิเบียมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขึ้น หลังท่าเรือขนส่งน้ำมันดิบ Zueitina และ Hariga กลับมาดำเนินการตามปกติ นอกจากนี้ ท่าเรือ Ras Lanuf และ Es Sider สามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้แล้วด้วย แม้ว่าจะอยู่ระหว่างการซ่อมบำรุงถังเก็บน้ำมันดิบ อย่างไรก็ตาม ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่ง Sharara ยังคงหายไปกว่า 160,000 บาร์เรลต่อวัน หลังเกิดเหตุลักพาตัวคนงานโดยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
ดัชนีและราคาที่สำคัญ
ข่าวเด่น