คำแนะนำ
เน้นการทำกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว แต่จำเป็นต้องตั้งจุดทำกำไรและจุดตัดขาดทุน โดยอาจรอซื้อในโซน 1,200-1,193 ดอลลาร์ต่อออนซ์และหากยังไม่สามารถผ่าน 1,222-1,237 ดอลลาร์ต่อออนซ์ไปได้ อาจใช้วิธีการลดพอร์ตการลงทุนเช่นเดิม
แนวรับ-แนวต้าน
แนวรับ 1,200 1,193 1,186
แนวต้าน 1,222 1,237 1,248
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่ในระหว่างวันร่วงลงจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ หลังจีนประกาศในวันศุกร์ว่าจะเรียกเก็บภาษีจากสินค้านำเข้าจากสหรัฐวงเงิน 6 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยคิดอัตราภาษีในช่วง 5-25% ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวหนุนดัชนีดอลลาร์ให้แข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ และหนุนดอลลาร์ให้แข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบ 14 เดือนเมื่อเทียบกับหยวนซึ่งเป็นปัจจัยกดดันราคาทองคำให้ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือนบริเวณ 1,204.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก่อนที่ราคาทองคำจะดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งแตะระดับสูงสุดบริเวณ 1,220.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในเวลาต่อมา โดยได้รับแรงหนุนจากดอลลาร์ที่กลับมาอ่อนค่าลง หลังการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐประจำเดือนก.ค.ที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดเพียง 157,000 ตำแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 3.9% และค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงานเพิ่มขึ้น 0.3% ตามคาด ด้านกองทุน SPDR ลดการถือครองทองคำลงในวันศุกร์ -2.06 ตัน สำหรับวันนี้ไม่มีกำหนดการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค
ความแข็งแกร่งของราคาทองคำน้อยลง ทำให้การลงทุนอาจต้องเป็นไปในลักษณะรอจังหวะการอ่อนตัวลงของราคาค่อยเข้าซื้อ หรือราคาทองคำไม่สามารถยืน 1,222-1,237 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ให้แบ่งทองคำออกขายเพื่อทำกำไรบางส่วน แต่หากผ่านได้ให้ชะลอการขายออกไป
กลยุทธ์การลงทุน GOLD SPOT & GOLD FUTURES
การเข้าซื้อยังคงเน้นการเก็งกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว โดยเข้าซื้อเฉพาะเมื่อตลาดปรับตัวลงมาในบริเวณแนวรับ 1,200-1,193 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่การเปิดสถานะขายอาจเสี่ยงพิจารณาในโซน 1,222-1,237 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากยืนเหนือ 1,237 ดอลลาร์ต่อออนซ์)
ข่าวเด่น