คำแนะนำ
เข้าซื้อเพื่อเก็งกำไรระยะสั้นหากราคาทองคำสามารถยืนเหนือบริเวณ 1,200-1,193 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ และทยอยปิดสถานะทำกำไรบางส่วนหากไม่ผ่านบริเวณแนวต้าน 1,222-1,237 ดอลลาร์ต่อออนซ์
แนวรับ-แนวต้าน
แนวรับ 1,200 1,193 1,186
แนวต้าน 1,222 1,237 1,248
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 7.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากดอลลาร์ที่แข็งค่าจากการเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ในปีนี้ และข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐและจีนที่กระตุ้นแรงซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัยและกดดันสกุลเงินของประเทศคู่ค่าโดยเฉพาะหยวน ขณะที่การประกาศมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านรอบใหม่ของสหรัฐวานนี้ไม่ได้กระตุ้นแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยแต่อย่างใด เนื่องจากมาตรการดังกล่าวครอบคลุมไปถึงการทำธุรกรรมซื้อขายทองคำของอิหร่านอีกด้วย ประกอบกับข้อมูลของ CFTC รายงานว่าในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 31 ก.ค.กองทุนเฮดจ์ฟันและผู้จัดการกองทุนได้เพิ่มสถานะขาย(Short positions)สัญญาฟิวเจอร์สทองคำ COMEX สู่ระดับ 153,108 สัญญา ทำให้สถานะขายสุทธิเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 42,528 สัญญาซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2006 บ่งชี้ถึงการคาดการณ์เชิงลบที่ยังคงอยู่ในระดับสูงทำให้การซื้อขายในตลาดทองคำยังคงซบเซาต่อเนื่อง ด้านกองทุน SPDR ลดการถือครองทองคำลง -6.19 ตัน สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยตําแหน่งงานว่างเปิดใหม่ (JOLTS Job Openings)และการสำรวจความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจจาก IBD/TIPP
ปัจจัยทางเทคนิค
หากราคาทองคำปรับตัวลงมาพอเข้าใกล้โซนแนวรับ 1,200-1,193 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อาจมีแรงดีดกลับสั้นๆ เบื้องต้นอาจต้องระวังแรงขายกลับลงมาอีกครั้งหากราคายังไม่มีแรงซื้อมากพอหรือมีปัจจัยใหม่มาดันราคาขึ้น โดยประเมินแนวต้านที่ 1,222-1,237 ดอลลาร์ต่อออนซ์
กลยุทธ์การลงทุน GOLD SPOT & GOLD FUTURES
รอจังหวะการเปิดสถานะซื้อ โดยอาจใช้บริเวณ 1,200-1,193 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และตัดขาดทุนหากหลุด 1,193 ดอลลาร์ต่อออนซ์ลงมา และสำหรับนักลงทุนที่ถือสถานะซื้ออยู่ แนะนำทยอยแบ่งปิดสถานะทำกำไรตั้งแต่ราคา 1,222-1,237 ดอลลาร์ต่อออนซ์ขึ้นไป
ข่าวเด่น