ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่ม หลังสหรัฐฯ เริ่มมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน
+ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังสหรัฐฯ เริ่มมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิหร่าน เช่น การห้ามสกุลเงิน Rial ของอิหร่านอยู่ในบัญชีธนาคารระหว่างประเทศ รวมถึงการซื้อขายทองคำและสินค้าโภคภัณฑ์หลายรายการ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2561 ส่งผลให้ตลาดเกิดความกังวลต่ออุปทานน้ำมันดิบ หากสหรัฐฯ เริ่มมาตรฐการคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านในวันที่ 4 พฤศจิกายน นี้
+ ราคาน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงหนุนจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของซาอุดิอาระเบียในเดือนกรกฎาคม 2561 ที่ปรับตัวลดลงราว 200,000 บาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
+ นักวิเคราะห์คาดการณ์ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2561 จะปรับตัวลดลง 3.3 ล้านบาร์เรล ซึ่งปรับลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้า
+ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ปรับลดคาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ในปี 2561 จาก 10.79 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 10.68 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังอัตราการเพิ่มการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่ง Shale oil เริ่มปรับตัวลดลง
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากอุปทานที่ตึงตัว เนื่องจากโรงกลั่นในสิงคโปร์มีปัญหาด้านการผลิต อย่างไรก็ดี ตลาดคาดอุปทานจะกลับมาอยู่ในระดับเดิมเร็วๆ นี้
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากอุปทานที่ตึงตัว เนื่องจากโรงกลั่นในสิงคโปร์มีปัญหาด้านการผลิตเช่นกัน อย่างไรก็ดี ราคายังคงได้รับแรงกดดันจากนโยบายการใช้น้ำมันไบโอดีเซลในอินโดนีเซียที่อาจส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันดีเซลปรับลดลง
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 65-70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 70-75 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังปริมาณการผลิตน้ำมันดิบทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบของสหรัฐฯ คาดจะปรับเพิ่มขึ้นหลังแหล่งผลิตน้ำมันดิบ Syncrude ในแคนาดา กำลังการผลิต 360,000 บาร์เรลต่อวัน มีแนวโน้มกลับมาผลิตได้ตามปกติในเดือน ส.ค.
การร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตระหว่างผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกได้ปรับลดลงกว่าร้อยละ 5 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 111 ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หลังทั้งสองกลุ่มผู้ผลิตตัดสินใจปรับเพิ่มกำลังการผลิตในการประชุมโอเปกที่ผ่านมา
ปริมาณการผลิตและส่งออกของลิเบียมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มขึ้น หลังท่าเรือขนส่งน้ำมันดิบ Zueitina และ Hariga กลับมาดำเนินการตามปกติ นอกจากนี้ ท่าเรือ Ras Lanuf และ Es Sider สามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้แล้วด้วย แม้ว่าจะอยู่ระหว่างการซ่อมบำรุงถังเก็บน้ำมันดิบ อย่างไรก็ตาม ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่ง Sharara ยังคงหายไปกว่า 160,000 บาร์เรลต่อวัน หลังเกิดเหตุลักพาตัวคนงานโดยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ
ดัชนีและราคาที่สำคัญ
ข่าวเด่น