ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(-) ตลาดต่างประเทศ DJIA -125.44, NASDAQ -19.40, S&P -11.35, FTSE -24.56, CAC -2.36 และ DAX -65.61 ภายใต้ความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ค่าเงินตุรกี ส่งผลให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง โดยค่าเงินลีราของตุรกีอ่อนค่าลงต่อเนื่องนับจากวันศุกร์ที่ผ่านมา ภายใต้เศรษฐกิจของตุรกี และผลกระทบที่จะลุกลามไปยังประเทศต่างๆ
ขณะที่สหรัฐฯ เพิ่มอัตราภาษีต่อเหล็กและอลูมิเนียมที่นำเข้าจากตุรกี อีก 2 เท่า โดยอัตราภาษีต่อเหล็กนำเข้าจะอยู่ที่ 50% และอลูมิเนียมอยู่ที่ 20% พร้อมกับธนาคารกลางยุโรป (ECB) แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของค่าเงินตุรกีที่จะมีต่อธนาคารยุโรป โดยเฉพาะธนาคาร BBVA ของสเปน ธนาคารยูนิเครดิตของอิตาลี และธนาคารบีเอ็นพี พาริบาส์ของฝรั่งเศส
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลตุรกีเตรียมใช้มาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาผลกระทบของค่าเงิน คาดครอบคลุมถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ได้รับผลกระทบหนักสุดจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
และยังคงติดตามสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน หลังจีนขู่ว่าจะเรียกเก็บภาษีจากสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ วงเงิน 6 หมื่นล้านUSD โดยคิดอัตราภาษี 25%, 20%, 10% และ 5% ต่อสินค้า 5,207 รายการของสหรัฐฯ ซึ่งจีนจะดำเนินการเรียกเก็บภาษีดังกล่าว หากสหรัฐฯเดินหน้าจัดเก็บภาษีนำเข้าต่อสินค้าจีนวงเงิน 2 แสนล้านUSD
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ก.ย. -US$0.43 อยู่ที่ US$67.20 ต่อบาร์เรล หลังสต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบน้ำมัน ล่าสุด เพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านบาร์เรล รวมทั้งวิกฤตค่าเงินตุรกี และการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้า จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มอุปสงค์น้ำมันในตลาด
นอกจากนี้จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ ที่มีการใช้งาน ล่าสุดเพิ่มขึ้น 10 แท่น อยู่ที่ 869 แท่น ซึ่งเป็นจำนวนสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.’58
ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ธ.ค. -US$20.1 อยู่ที่ US$1,198.9 ต่อออนซ์ หลังนักลงทุนเข้าซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ และเงินสหรัฐฯ เพื่อความปลอดภัยแทนการเข้าซื้อทองคำ ภายใต้วิกฤตการเงินในตุรกี
(+) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ +272 ล้านบาท ยอดสะสม -181,274 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท และปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)
ประเด็นที่ต้องติดตาม 14 - 16 ส.ค.’61
14/8/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ดัชนีราคานำเข้าและส่งออกเดือนก.ค.
15/8/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ยอดค้าปลีกเดือนก.ค.
(2) ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนส.ค.
(3) การผลิตภาคอุตสาหกรรม-การใช้กำลังการผลิตเดือนก.ค.
(4) สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนมิ.ย.
(5) ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนส.ค. จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB)
(6) สต็อกน้ำมัน
16/8/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
(2) ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.ค.
(3) ดัชนีการผลิตเดือนส.ค.
ทิศทางตลาด
ผันผวน? ภายใต้ปัจจัยกดดันจากต่างประเทศ คาดดัชนีมีโอกาสปรับลดลง(หลังหยุดทำการวานนี้) และยังไม่ได้สะท้อนประเด็นวิกฤตค่าเงินของตุรกี ที่ส่งผลให้ค่าเงินตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) อ่อนค่าลง รวมถึงเงินบาทล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 33.30 – 33.40 บาท อ่อนค่าลงจากบริเวณ 33.00 – 33.10 บาท (ต้นเดือนส.ค. ที่ผ่านมา) นอกจากนี้ยังคงมีความกังวลว่าสถานการณ์ค่าเงินข้างต้น อาจส่งผลกระทบต่อธนาคารในยุโรป โดยเฉพาะการผิดนัดชำระหนี้ของภาคธุรกิจของตุรกี เนื่องจากต้องใช้เงินสกุลลีราที่สูงขึ้น และหนี้สกุลต่างประเทศคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 40% ของสินทรัพย์ภาคธนาคารของตุรกี
นอกจากนี้ยังคงมีประเด็นการทำสงครามระหว่างสหรัฐฯ และจีน แม้เป็นประเด็นเดิมที่ตลาดส่วนใหญ่รับรู้ไปบ้างแล้ว แต่ภายใต้ความกังวลต่อสถานการณ์ที่มีการตอบโต้กันไปมา ล่าสุดจีนประกาศตอบโต้สหรัฐฯ หลังสหรัฐฯ จะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีน อัตรา 25% วงเงิน 16,000 ล้านUSD (วงเงินที่เหลือจาก 50,000 ล้านUSD รอบแรก และมีผลไปแล้วเมื่อ 6/7/61 จำนวน 34,000ล้านUSD) ซึ่งจะมีผลในวันที่ 23/8/61 นี้ โดยเรียกเก็บอัตราภาษี และวงเงินเดียวกัน
และหากยังไม่สามารถเจรจาต่อรองกันได้ คาดข้อพิพาทอาจมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก เนื่องจากทั้งสหรัฐฯ และจีน เป็น 2 ผู้นำเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ยังมีสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน หลังสหรัฐฯ เริ่มใช้มาตรการคว่ำบาตรรอบแรกต่อภาคการเงินและอุตสาหกรรมของอิหร่าน
ขณะที่คาดราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน ยังถูกกดดันจากราคาน้ำมันปรับลดลง อย่างไรก็ตามคาดภาพรวมราคาน้ำมัน ยังได้รับปัจจัยหนุนจากการส่งออกของซาอุดิอาระเบียที่ลดลงในเดือนนี้ พร้อมคาดสต็อกน้ำมันในตลาดโลกในไตรมาส 3 มีแนวโน้มลดลง จากความต้องการใช้น้ำมันจำนวนมาก รวมถึงมาตรการคว่ำบาตรรอบ 2 ในเดือน พ.ย. ของสหรัฐฯ ต่อการส่งออกน้ำมันของอิหร่าน คาดทำให้การผลิตน้ำมันของอิหร่านลดลง มากกว่า 1.0 ล้านบาร์เรล ในไตรมาส 4 นี้
ประเด็นในประเทศ แนะระวังแรงขายทำกำไร (Sell on Fact) หลังเข้าสู่ช่วงท้ายของการประกาศงบ – 2Q/61 ทางด้าน Fund Flow คาด Sentiment ยังเป็นบวก จากแรงซื้อสุทธิของต่างชาติกลับเข้ามาต่อเนื่อง ทำให้ยอดขายสุทธิสะสมลดลง แต่อย่างไรก็ตาม YTD ยังอยู่ในระดับสูงกว่า 181,000 ล้านบาท
แนะจับตาหุ้น (+) กลุ่มธนาคาร หลังหลายธนาคารเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (บ้านและเช่าซื้อรถยนต์)
ส่วนในระยะกลาง – ยาว ยังได้รับ Sentiment บวกจากทิศทางการเติบโตเศรษฐกิจ คาด GDP – 2Q/61 ยังเติบโตดี คาดไม่ต่ำกว่า 4.0% ขณะที่เป้าหมายทั้งปี’61 อยู่ในระดับ 4.4 – 4.5% พร้อมกับการปรับเพิ่มเป้าหมายการส่งออกเป็นไม่ต่ำกว่า 10% นอกจากนี้ยังมีการเร่งรัดเปิดประมูลโครงการรถไฟทางคู่ Phase 2 ภายในปีนี้ ซึ่งคาดยังเป็นปัจจัยหนุนภาพรวมกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL เป็นต้น
(2) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูง เช่น PTT, PTTEP เป็นต้น
(3) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.02 อยู่ที่ 2.88% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +1.62 อยู่ที่ 14.78
หุ้นแนะนำ : KTB
ข่าวเด่น