คำแนะนำ
เน้นเก็งกำไรระยะสั้นในทิศทางขาลง เปิดสถานะขายหากราคาไม่ผ่าน 1,203-1,214 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากผ่านให้ชะลอไปที่แนวต้านถัดไป ทั้งนี้หากราคาอ่อนตัวลงไม่หลุดโซนแนวรับ 1,181 ดอลลาร์ต่อออนซ์อาจเลือกปิดสถานะขายบางส่วน
แนวรับ-แนวต้าน
แนวรับ 1,181 1,170 1,162
แนวต้าน 1,203 1,214 1,223
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 16.85 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยทองคำสูญเสียสถานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับการดิ่งลงของค่าเงินตุรกีที่อาจจะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจตุรกี และอาจลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศในยูโรโซนมีการเกินดุลการค้ากับตุรกี นอกจากนี้การดิ่งลงของค่าเงินลีราอาจทำให้ภาคธุรกิจของตุรกีผิดนัดชำระหนี้สกุลเงินต่างประเทศ สถานการณ์ดังกล่าวกระตุ้นเม็ดเงินลงทุนให้ไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยง สะท้อนจากการปรับตัวลงของตลาดหุ้นทั่วโลก ขณะที่กระแสเงินทุนไหลเข้าสู่สกุลเงินดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย(safe-haven currency) ส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 13 เดือนซึ่งเป็นปัจจัยกดดันราคาทองคำ ประกอบกับราคาทองคำได้รับแรงกดดันเพิ่มจากการที่นายเรเซป ตอยยิบ เออร์โดกันประธานาธิบดีตุรกี กล่าวเรียกร้องให้ชาวตุรกีซึ่งถือเป็นผู้บริโภคทองคำมากเป็นอันอับ 5 ของโลกในปี 2017 แปลงทองคำและสกุลเงินดอลลาร์ให้อยู่ในรูปสกุลเงินลีราอีกด้วย ประเด็นเหล่านี้กดดันให้ราคาทองคำร่วงลงหลุด 1,200 ดอลลาร์ต่อออนซ์ลงมาแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ปี 2017 ด้านกองทุน SPDR ลดการถือครองทองคำลง -1.48 ตัน สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีราคานำเข้าและส่งออกของสหรัฐ และติดตามการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ทั่วโลกอย่างใกล้ชิด
ปัจจัยทางเทคนิค
หลังจากราคาอ่อนตัวลงแรง หากแรงขายสลับออกมาไม่มากเมื่อราคาปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น จะมีผลให้ราคาปรับตัวลงต่ออาจค่อนข้างจำกัด แต่หากการดีดตัวกลับของราคาไม่มาก หรือหากไม่สามารถยืนเหนือแนวต้าน 1,203-1,214 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ มีโอกาสเกิดแรงขายกดดัน ให้ราคาอ่อนตัวลงทดสอบแนวรับโซน 1,181 ดอลลาร์ต่อออนซ์เพื่อสร้างฐานราคา
กลยุทธ์การลงทุน GOLD SPOT & GOLD FUTURES
อาจพิจารณาแบ่งทองคำออกขายทำกำไรบางส่วน หากราคาทองคำไม่ผ่านแนวต้านที่ 1,203-1,214 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากรับความเสี่ยงได้สูงอาจเปิดสถานะซื้อเมื่อราคาอ่อนตัวลงมาในโซน 1,181 ดอลลาร์ต่อออนซ์เพื่อลงทุนระยะสั้น พร้อมลดการลงทุนหากราคาหลุดโซนดังกล่าว
ข่าวเด่น