ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(-) ตลาดต่างประเทศ DJIA -137.51, NASDAQ -96.78, S&P -21.59, FTSE -113.77, CAC -98.19 และ DAX -195.86
ภายใต้ปัจจัยกดดัน (1) ค่าเงินตุรกี และผลกระทบที่จะลุกลามไปยังประเทศต่างๆ รวมทั้งข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และตุรกี หลังตุรกีประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ รวมถึงรถยนต์โดยสาร เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ เป็น 120%, 140% และ 60% ตามลำดับ เพื่อตอบโต้สหรัฐฯ ที่เพิ่มอัตราภาษีต่อเหล็กและอลูมิเนียมที่นำเข้าจากตุรกีขึ้นอีก 2 เท่า โดยอัตราภาษีเหล็กและอลูมิเนียม นำเข้าจากตุรกี อยู่ที่ 50% และ 20% นอกจากนี้ ตุรกียังปรับขึ้นภาษีนำเข้าเครื่องสำอาง ข้าว และถ่านหินจากสหรัฐฯ และ (2) หุ้นกลุ่มพลังงาน หลังราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับลดลง
ทางด้านตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุด (1) ยอดค้าปลีก - ก.ค. เพิ่มขึ้น 0.5% สูงกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% และ (2) การผลิตภาคอุตสาหกรรม - ก.ค. เพิ่มขึ้น 0.1% ชะลอตัวจากที่เพิ่มขึ้น 1.0% เมื่อมิ.ย. และต่ำกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.3%
และยังคงติดตามสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน หลังจีนขู่ว่าจะเรียกเก็บภาษีจากสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ วงเงิน 6 หมื่นล้านUSD โดยคิดอัตราภาษี 25%, 20%, 10% และ 5% ต่อสินค้า 5,207 รายการของสหรัฐฯ ซึ่งจีนจะดำเนินการเรียกเก็บภาษีดังกล่าว หากสหรัฐฯเดินหน้าจัดเก็บภาษีนำเข้าต่อสินค้าจีนวงเงิน 2 แสนล้านUSD
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ก.ย. -US$2.03 อยู่ที่ US$65.01 ต่อบาร์เรล หลัง EIA เปิดเผย สต็อกน้ำมันดิบ ล่าสุด เพิ่มขึ้น 6.8 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่คาดว่าจะลดลง 2.5 ล้านบาร์เรล เช่นเดียวกับสต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบน้ำมัน เพิ่มขึ้น 1.6 ล้านบาร์เรล
พร้อมกับความกังวลผลกระทบสงครามการค้า หลังกลุ่มผู้นำเข้าน้ำมันของจีน ระงับการนำเข้าน้ำมันจากสหรัฐฯ นับแต่ต้นเดือนส.ค. ภายใต้ความกังวลว่า รัฐบาลจีนอาจตัดสินใจปรับขึ้นภาษีน้ำมันที่นำเข้าจากสหรัฐฯ จากก่อนหน้า จีนนำเข้าน้ำมันจากสหรัฐฯ ราว 300,000 บาร์เรล/วัน ในเดือนมิ.ย. และก.ค.
ขณะที่ยังจับตาผลกระทบการใช้มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ต่ออิหร่าน ซึ่งคาดอาจส่งผลให้อิหร่านลดการส่งออกน้ำมันสู่ตลาดโลก ประมาณ 1 ล้านบาร์เรล/วัน ภายในปี’62
ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ธ.ค. -US$15.7 อยู่ที่ US$1,185.0 ต่อออนซ์ หลักๆ จากเงินสหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคำ มีราคาสูงขึ้นสำหรับนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่นๆ
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -1,959 ล้านบาท ยอดสะสม -185,379 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท และปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)
ประเด็นที่ต้องติดตาม 16 - 17 ส.ค.’61
16/8/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
(2) ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.ค.
(3) ดัชนีการผลิตเดือนส.ค.
17/8/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นเดือนส.ค.
ทิศทางตลาด
ตามตลาดต่างประเทศ? คาดแกว่งตัวในแดนลบ ภายใต้ Sentiment ลบจากประเด็นต่างประเทศ โดยเฉพาะข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าต่างๆ ที่มีการตอบโต้กันไปมา ทั้ง (1) จีน ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ อัตรา 25% วงเงิน 16,000 ล้านUSD (วงเงินที่เหลือจาก 50,000 ล้านUSD รอบแรก และมีผลไปแล้วเมื่อ 6/7/61 จำนวน 34,000ล้านUSD) ซึ่งจะมีผลในวันที่ 23/8/61 นี้ โดยเรียกเก็บอัตราภาษี และวงเงินเดียวกันกับที่สหรัฐฯ ประกาศ นอกจากนี้จีนยังพร้อมเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ วงเงิน 60,000 ล้านUSD อัตราภาษี 5 – 25% ต่อสินค้าสหรัฐฯ 5,207 รายการ หากสหรัฐฯ จัดเก็บภาษีสินค้าจีนเพิ่มอีก 200,000 ล้านUSD (2) ตุรกี ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ 60 – 140% หลังสหรัฐฯ หลังเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม พร้อมกับความกังวลต่อค่าเงินลีราของตุรกี ที่อาจส่งผลกระทบไปยังประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะธนาคารในยุโรป จากการผิดนัดชำระหนี้ของภาคธุรกิจของตุรกี
นอกจากนี้ยังมีสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน หลังสหรัฐฯ เริ่มใช้มาตรการคว่ำบาตรรอบแรกต่อภาคการเงินและอุตสาหกรรมของอิหร่าน
ขณะที่คาดราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน ยังถูกกดดันจากราคาน้ำมันปรับลดลง อย่างไรก็ตามคาดภาพรวมราคาน้ำมัน ยังได้รับปัจจัยหนุนจากการส่งออกของซาอุดิอาระเบียที่ลดลงในเดือนนี้ พร้อมคาดสต็อกน้ำมันในตลาดโลกในไตรมาส 3 มีแนวโน้มลดลง จากความต้องการใช้น้ำมันจำนวนมาก รวมถึงมาตรการคว่ำบาตรรอบ 2 ในเดือน พ.ย. ของสหรัฐฯ ต่อการส่งออกน้ำมันของอิหร่าน คาดทำให้การผลิตน้ำมันของอิหร่านลดลง มากกว่า 1.0 ล้านบาร์เรล ในไตรมาส 4 นี้
ทางด้านประเด็นในประเทศ หลังหมดช่วงประกาศผลการดำเนินงาน คาดระวังแรงขายทำกำไร (Sell on Fact) และยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ๆ ส่วน Fund Flow คาด Sentiment กลับเป็นลบ จากแรงขายสุทธิของต่างชาติ ล่าสุด อีกเกือบ 2,000 ล้านบาท และ YTD ยังอยู่ในระดับสูงกว่า 185,000 ล้านบาท
แนะจับตาหุ้น (+) กลุ่มธนาคาร หลังหลายธนาคารเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (บ้านและเช่าซื้อรถยนต์)
ส่วนในระยะกลาง – ยาว ยังได้รับ Sentiment บวกจากทิศทางการเติบโตเศรษฐกิจ คาด GDP – 2Q/61 ยังเติบโตดี คาดไม่ต่ำกว่า 4.0% ขณะที่เป้าหมายทั้งปี’61 อยู่ในระดับ 4.4 – 4.5% พร้อมกับการปรับเพิ่มเป้าหมายการส่งออกเป็นไม่ต่ำกว่า 10% นอกจากนี้ยังมีการเร่งรัดเปิดประมูลโครงการรถไฟทางคู่ Phase 2 ภายในปีนี้ ซึ่งคาดยังเป็นปัจจัยหนุนภาพรวมกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL เป็นต้น
(2) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูง เช่น PTT, PTTEP เป็นต้น
(3) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.04 อยู่ที่ 2.85% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +1.33 อยู่ที่ 14.64
หุ้นแนะนำ : AOT
ข่าวเด่น