|
|
|
|
|
|
Today Selections >> BH, PTTEP, QH
Stock S R Comment
BH 175.00 180.50 EBITDA Margin ยังสูงกว่าเพื่อนที่ 35.5% หนุนกำไรแกร่ง
PTTEP 134.00 138.00 คาดราคาน้ำมันดิบใน 2H61 จะยังทรงตัวในระดับสูง
QH 3.44 3.54 Demand แนวราบมาแรง QH ตอบโจทย์บ้านทุกขนาด
GDP, Consumption, THB, MPC
GDP : สภาพัฒน์รานงานตัวเลข GDP ประจำไตรมาส 2/61 ขยายตัวที่ระดับ 4.6% YoY มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 4.4% โดยเมื่อเข้าไปดูรายละเอียดพบว่าค่อนข้าง น่าประทับใจ โดยเฉพาะในส่วนของการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่ง (+4.5% และ +7.4% ตามลำดับ)
Contribution : โดยหากพิจารณาทางด้าน GDP Contribution นั้น พบว่าการบริโภคภาคเอกชนมีผลกระทบส่วนเพิ่มให้กับ GDP ไปถึงครึ่งหนึ่งของการขยายตัวในไตรมาสที่ผ่านมา (+2.3%) และเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้สัดส่วนของการบริโภคต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งหมดในไตรมาส 2 นี้ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 54% แล้ว สูงที่สุดในรอบ 8 ไตรมาส
Consumption : ถึงแม้ว่าการบริโภคส่วนหนึ่งที่ดีขึ้นจะมาจากรายได้ภาคเกษตรที่ปรับตัว ดีขึ้น แต่ยังคงต้องยอมรับว่า การขยายตัวโดยหลักนั้นยังมาจากกลุ่มผู้บริโภคระดับกลาง-บน ซึ่งสะท้อนออกมายังการอุปโภคสินค้าคงทนที่ขยายตัวได้อย่างโดดเด่นถึง 14% ด้วยเหตุนี้ หากมองในแง่ของ Stock implication มองว่าบริษัทที่จะได้ประโยชน์จากปัจจัยดังกล่าว น่าจะเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการผลิต/จำหน่ายสินค้าจำพวก ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ IT ต่างๆ มากกว่ากลุ่มสินค้าจำเป็นหรือสินค้าไม่คงทนทั้งหลาย
THB : เงินบาทปรับตัวแข็งค่าอย่างมีนัยสำคัญสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน ภายหลังจากความกังวลต่อตุรกีเริ่มลดลงจนทำให้นักลงทุนเทขายเงินดอลลาร์สหรัฐฯและตัวเลข GDP ที่ออกมาแข็งแกร่ง โดยหากนับตั้งแต่เมื่อวานที่ผ่านมา พบว่าบาทเป็นสกุลเงิน อันดับ 1 ของ EM ที่ปรับตัวแข็งค่ามากที่สุด มองปัจจัยดังกล่าวอาจเป็น Sentiment เชิงลบต่อหุ้นในกลุ่มส่งออก อาทิ อิเล็กทรอนิกส์และอาหาร ในวันนี้ได้
Rate hike : อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เงินบาทปรับตัวแข็งค่าวานนี้ได้แก่ การออกมากล่าวของผู้ว่าธปท.ว่า "จากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้น ธปท. คาดว่าจะพิจารณาเลิกใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยของประเทศอุตสาหกรรมหลักเริ่มมีทิศทางปรับขึ้นต่อเนื่อง ประเทศไทยก็ไม่สามารถใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยสวนทางได้ โดยอาจมีความจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ย แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณาในช่วงเวลาที่เหมาะสมอีกครั้ง"
มุมมองของเรา : จากคำพูดดังกล่าว ทำให้ตลาดเริ่มให้น้ำหนักมากขึ้นกับการขึ้นดอกเบี้ยของธปท.ในปีนี้ อย่างไรก็ดี เรายังไม่มีการปรับเปลี่ยนมุมมองว่า ธปท. จะคงดอกเบี้ยที่ 1.5% ไปจนถึงสิ้นปีนี้ เนื่องจาก
1) แรงกดดันเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับจำกัดอย่างมาก
2) โมเมนตัมของการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่น่าจะเริ่มชะลอลงในช่วงครึ่งปีหลังจากฐานที่สูง
3) เสถียรภาพในระบบการเงินที่ยังคงแข็งแกร่ง จึงทำให้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกังวลต่อภาวะเงินทุนเคลื่อนย้ายมากนัก (ตัวอย่างล่าสุดที่เกิดความผันผวนที่ตุรกี ก็ยังมี fund flow ส่วนหนึ่งไหลเข้าตลาดทุนไทยด้วยเช่นกัน)
4) ความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภายในที่รออยู่ อาทิเช่น สงครามการค้า ภาวะน้ำท่วม และการลดลงของนักท่องเที่ยวชาวจีน
5) สถาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
กลยุทธ์การลงทุน : ยังคงมองกรอบแนวต้านในช่วงที่เหลือของเดือนนี้ที่บริเวณดัชนี 1700-1720 จุด โดยไม่คิดว่าจะมีจุดสูงสุดใหม่ของเดือนนี้ เนื่องจากประมาณการ EPS ของตลาดเริ่มถูกปรับลดลงตามลำดับ จนทำให้ Valuation แพงขึ้นโดยอัตโนมัติ ดังนั้น แนะนำให้นักลงทุนที่เข้าซื้อหุ้นไปที่บริเวณดัชนี 1670 จุดตามที่เราแนะนำทยอยขายทำกำไรที่บริเวณกรอบดังกล่าว ประเมินภาพ SET Index ในช่วงที่เหลือของเดือนนี้จะเป็นลักษณะของการแกว่งตัว Sideways จึงจำเป็นที่จะต้องใช้กลยุทธ์ขึ้นขาย-ลงซื้อตามกรอบแนวต้านแนวรับต่อไป โดยมองกรอบแนวรับที่น่าสนใจในช่วงที่เหลือของเดือนนี้ที่บริเวณดัชนี 1670 และ 1650 จุดเช่นเดิม
แนวรับ 1,689 แนวต้าน 1,712
Today's Event :
- BAFS XD 0.23 บาท
- B-WORK XD 0.3034 บาท
- CPNREIT XD 0.4055 บาท
- JUBILE XD 0.33 บาท
- PDG XD 0.08 บาท
- RS XD 0.25 บาท
- SPF XD 0.35 บาท
- URBNPF XD 0.09 บาท
- JMT XW 4:1
- PDJ ลูกหุ้นเข้า 1,941,823 หุ้น
|
บันทึกโดย : Adminวันที่ :
21 ส.ค. 2561 เวลา : 09:56:45
|
|
|
|
|
ข่าวเด่น