ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังตลาดกังวลปริมาณน้ำมันดิบอิหร่านลดและการผ่อนคลายความตึงเครียด
+ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังตลาดกังวลต่อปริมาณน้ำมันดิบที่จะขาดหายไปในตลาด จากการที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ลงนามเพื่ออนุมัติมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านครั้งใหม่ ซึ่งในปัจจุบัน อิหร่านยังคงเป็นผู้ผลิตน้ำมันเป็นอันดับ 3 ในกลุ่มโอเปก โดยการคว่ำบาตรนี้ จะมีผลกระทบต่อการทำธุรกรรมของธนาคารกลาง การส่งออกน้ำมัน และการขนส่งสินค้าทางเรือของอิหร่าน รวมไปถึงหลายประเทศในกลุ่ม EU ได้ทำการถอนการลงทุนในอิหร่านแล้ว
+ นักลงทุนจับตาความคืบหน้าในการผ่อนคลายความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยที่คณะผู้แทนของจีนจะเดินทางไปยังสหรัฐเพื่อเจรจาและหาทางคลี่คลายข้อพิพาททางการค้าที่เกิดขึ้น คาดว่าการประชุมจะมีขึ้นในวันที่ 22-23 ส.ค. 61 ซึ่งเป็นวันที่สหรัฐฯ จะใช้มาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มเติมในอัตรา 25% หรือเท่ากับวงเงิน 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์
+/- สหรัฐฯ เตรียมส่งขายน้ำมันดิบในคลังสำรองเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserves หรือ SPR) ราว 11 ล้านบาร์เรล ในช่วงเดือนต.ค. และพ.ย.เพื่อลดความกังวลเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันดิบที่จะขาดหายไปจากตลาดเมื่อทำการคว่ำบาตรอิหร่านที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือน พ.ย.
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากตลาดมีการซื้อขายเบาบางก่อนเข้าสู่เทศกาล Eid El-Adha ประกอบกับมีอุปทานน้ำมันเบนซินจากยุโรปเข้าสู่เอเชียมากขึ้น
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นตามน้ำมันดิบดูไบ จากอุปทานที่ปรับตัวลดลงจากอินเดียเนื่องจากโรงกลั่นหยุดดำเนินการผลิต และปริมาณการผลิตของจีนที่ปรับตัวลดลง
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 62-67 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 68-73 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบของสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากแหล่งผลิตน้ำมันดิบ Syncrude ในแคนาดาคาดจะกลับมาดำเนินการผลิตได้เต็มกำลังภายในเดือน ส.ค. 61
การผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันดิบโอเปกและนอกโอเปกคาดจะปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังทั้งสองกลุ่มผู้ผลิตตัดสินใจปรับเพิ่มกำลังการผลิตกว่า 1 ล้านบาร์เรลต่อวันในการประชุมโอเปกในเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยในเดือน ก.ค. ที่ผ่านมากำลังการผลิตจากซาอุดิอาระเบีย คูเวต สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปรับเพิ่มกำลังการผลิตรวมกันกว่า 170,000 บาร์เรลต่อวันจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่รัสเซีย การผลิตคาดจะเพิ่มขึ้นกว่า 200,000 บาร์เรลต่อวัน
ดัชนีและราคาที่สำคัญ
ข่าวเด่น