ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ไทยออยล์ วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมันประจำวันที่ (22/08/61) กังวลอุปทานจากอิหร่านลดลง


 กังวลอุปทานจากอิหร่านลดลง หนุนราคาน้ำมันดิบขึ้นต่อเนื่อง

  + ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังได้รับแรงหนุนต่อเนื่องจากความกังวลต่ออุปทานน้ำมันดิบจากอิหร่านที่มีแนวโน้มลดลงในเร็วๆ นี้ เนื่องจากหลายประเทศปรับลดการซื้อน้ำมันดิบจากอิหร่านก่อนที่สหรัฐฯ จะคว่ำบาตรในวันที่ 4 พ.ย. นี้ นอกจากนี้ หลายประเทศในสหภาพยุโรปได้ทำการถอนการลงทุนในอิหร่านแล้ว
  -/+ ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ยังไม่มีแนวโน้มคลี่คลายในเร็วๆ นี้และคาดจะส่งผลกดดันต่อราคาน้ำมันดิบอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าในสัปดาห์นี้จีนและสหรัฐฯ จะมีการเจรจาและหาทางคลี่คลายข้อพิพาททางการค้าที่เกิดขึ้น โดยการประชุมคาดจะมีขึ้นในวันที่ 22-23 ส.ค. 61
  - สหรัฐฯ เตรียมขายน้ำมันดิบในคลังสำรองเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserves หรือ SPR) ราว 11 ล้านบาร์เรล ในเดือน ต.ค. และ พ.ย. เพื่อลดความกังวลต่อภาวะอุปทานที่อาจจะตึงตัวมากขึ้นหลังอิหร่านโดนคว่ำบาตรในช่วงเดือน พ.ย.
  + ภายหลังจากตลาดปิด สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ปรับลดลง 5.2 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลง 1.5 ล้านบาร์เรล เนื่องจากปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบปรับลดลง

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังตลาดได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้น ขณะที่อุปทานในภูมิภาคตึงตัวมากขึ้น โดยเฉพาะจากอินเดีย เนื่องจากโรงกลั่นขนาดใหญ่มีการปิดซ่อมบำรุงหน่วยผลิตน้ำมันเบนซิน
  ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงกดดันจากการส่งออกของจีนที่ยังคงอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ราคายังได้รับแรงหนุนจากอุปทานในภูมิภาคที่มีแนวโน้มตึงตัวมากขึ้นหลังโรงกลั่นในอินเดียมีการปิดซ่อมบำรุงฉุกเฉิน

ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
   ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 64-69 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
  ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 69-74 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยที่น่าจับตามอง
  อุปทานน้ำมันดิบจากกลุ่มผู้ผลิตโอเปกคาดจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังกลุ่มผู้ผลิตมีมติปรับเพิ่มกำลังการผลิตกว่า 1 ล้านบาร์เรลต่อวันในการประชุมโอเปกในเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยรายงานล่าสุดของโอเปก อุปทานจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวต และอิรักได้ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 120,000 บาร์เรลต่อวัน ในเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา 
  สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนยังไม่มีแนวโน้มคลี่คลายในเร็ววัน แม้ล่าสุดสหรัฐฯ และจีนเตรียมเจรจาการค้ารอบใหม่ปลายเดือนนี้
  ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของอิหร่านมีแนวโน้มปรับลดลงหลัถูกสหรัฐฯ คว่ำบาตร โดยล่าสุดในเดือน ก.ค. ปริมาณการผลิตปรับลดลงกว่า 56,300 บาร์เรลต่อวันจากเดือนก่อหน้า

ดัชนีและราคาที่สำคัญ


LastUpdate 22/08/2561 15:29:21 โดย : Admin

23-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 23, 2024, 8:33 pm