ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง จากแรงเทขายทำกำไร
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง จากแรงเทขายทำกำไร อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงหนุนจากอุปทานน้ำมันดิบตึงตัว และการที่สหรัฐฯ สามารถบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีกับเม็กซิโกเมื่อวานนี้
- ผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก ยังคงปรับเพิ่มกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการตรวจสอบการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันเปิดเผยว่า ความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตปรับตัวลดลงจาก 120% ในเดือน มิ.ย. มาอยู่ 109% ในเดือน ก.ค. อย่างไรก็ตาม อัตราการปรับเพิ่มขึ้นของปริมาณการการผลิตของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกยังคงมีอัตราที่ค่อยเป็นค่อยไป และต่ำกว่าคาดการณ์
+ รอยเตอร์ ประมาณปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบและคอนเดนเสทของอิหร่านเดือน ส.ค. 61 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 2.06 ล้านบาร์เรลต่อวัน แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 60
- หลังตลาดปิด ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงต่อ เนื่องจากสถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นราว 38,000 บาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับลด 686,000 บาร์เรล
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม อุปทานน้ำมันเบนซินมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังโรงกลั่นหลายแห่งเริ่มกลับมาดำเนินการผลิตตามปกติ
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความต้องการใช้ที่ยังคงแข็งแกร่ง ประกอบกับปริมาณการส่งออกจากอินเดียยังถูกจำกัด จากการที่โรงกลั่นในประเทศปิดซ่อมบำรุงฉุกเฉิน
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 65-70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 72-77 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านมีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างเนื่อง หลังสหรัฐฯ ประกาศคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันดิบจากอิหร่าน และเรียกร้องให้ทุกประเทศหยุดการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านนับตั้งแต่วันที่ 4 พ.ย. นี้เป็นต้นไป
ความต้องการใช้น้ำมันโลกคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก หลังสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีนยังคงมีอย่างต่อเนื่อง
ดัชนีและราคาที่สำคัญ
ข่าวเด่น