ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(-) ตลาดต่างประเทศ DJIA -12.34, NASDAQ -18.29, S&P -4.80, FTSE -46.74, CAC -71.10 และ DAX -136.20 ภายใต้ความกังวล (1) การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และแคนาดา โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะเปิดฉากการเจรจา NAFTA ฉบับใหม่อีกครั้งในวันนี้ (5/9/61) หลังไม่สามารถตกลงกันได้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ขณะที่ ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ออกมาระบุว่า สหรัฐฯ และเม็กซิโก สามารถเดินหน้า โดยไม่ต้องมีแคนาดาในการทาข้อตกลง NAFTA ฉบับใหม่ และ (2) ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ หลังปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ มีแผนเรียกเก็บภาษีนาเข้าสินค้าจีนวงเงิน 2 แสนล้านUSD ทันทีที่มาตรการดังกล่าวได้ข้อสรุปจากการทาประชาพิจารณ์จากภาคส่วนต่างๆ ของสหรัฐฯ ในวันพฤหัสบดีนี้
ทางด้านตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ (1) ดัชนีภาคการผลิต - ส.ค. อยู่ที่ 61.3 เพิ่มขึ้นจาก 58.1 เมื่อก.ค. และเป็นระดับสูงสุดนับแต่พ.ค.’ 47 (2) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) สาหรับภาคการผลิตขั้นสุดท้าย - ส.ค. อยู่ที่ 54.7 ในเดือนส.ค. ลดลงจาก 55.3 เมื่อก.ค. และเป็นระดับต่าสุดนับแต่พ.ย.’60 ปีที่แล้ว และ (3) การใช้จ่ายด้านการก่อสร้าง - ก.ค. เพิ่มขึ้นเพียง 0.1% น้อยกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.5%
ทิศทางตลาด
ตามตลาดต่างประเทศ? คาดการเคลื่อนไหวอยู่ในลักษณะแกว่งตัวกรอบแคบ โดยทิศทางเป็นลบตาม Sentiment ต่างประเทศ แม้ยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ๆ แต่อยู่ระหว่างรอความชัดเจนภายใต้ประเด็นเดิม โดยเฉพาะนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ต่อประเทศคู่ค้าที่ยังมีความไม่แน่นอน (1) การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และแคนาดา ที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ จากก่อนหน้าคาดหวังในเชิงบวกต่อการเจรจาและลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ฉบับใหม่น่าจะเกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ทีผ่านมา อย่างไรก็ตามจะมีการเจรจาอีกครั้งในวันพุธนี้ (5/9/61) และ (2) ความกังวลต่อสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รอบใหม่ที่อาจมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ภายใต้แผนการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน อัตรา 25% วงเงิน 200,000 ล้านUSD ที่คาดมีความชัดเจนหลังการทำประชาพิจารณ์จากหน่วยงานต่างๆ ของสหรัฐฯ ในวันที่ 5/9/61
พร้อมกับคาดเฟดจะมีการพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุม 25 – 26/9/61 นี้ ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 และคาดจะเกิดขึ้นอีก 1 ครั้ง ในเดือน ธ.ค. ทำให้คาดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งหมด 4 ครั้ง ในปี’61 อย่างไรก็ตามคาดตลาดสะท้อนไปบ้างแล้ว ขณะที่คาดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งต่อเนื่อง คาดสามารถรองรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามการส่งสัญญาณของประธานเฟดที่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป
ทางด้านหุ้นกลุ่มพลังงาน คาดยังได้รับปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมัน ที่ทรงตัวในระดับสูง เฉลี่ย 3 ตลาด (WTI, Brent และ Dubai) อยู่ที่ 70 – 78USD/barrel ซึ่งคาดส่งผลดีต่อ PTT และ PTTEP เป็นโอกาสซื้อในช่วงราคาหุ้นปรับลดลง ภายใต้ภาพรวมราคาน้ำมัน ที่ยังได้รับปัจจัยหนุนจากสต็อกน้ำมันในตลาดโลกในไตรมาส 3 มีแนวโน้มลดลง จากความต้องการใช้น้ำมันจำนวนมาก รวมถึงมาตรการคว่ำบาตรรอบ 2 ในเดือน พ.ย. ของสหรัฐฯ ต่อการส่งออกน้ำมันของอิหร่าน คาดทำให้การผลิตน้ำมันของอิหร่านลดลง มากกว่า 1.0 ล้านบาร์เรล ในไตรมาส 4 นี้
ทางด้านประเด็นในประเทศ คาดยังได้รับ Sentiment ลบจาก Fund Flow หลังต่างชาติกลับมาขายสุทธิต่อเนื่อง และทำให้ YTD ยอดขายสุทธิสะสมกลับขึ้นไปสู่ระดับสูงกว่า 200,000 ล้านบาท
ขณะที่ กนง. ประชุม 19/9/61 คาดในครั้งนี้ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่หลังอัตราเงินเฟ้อทั่วไป - ส.ค.61 ขยายตัว 1.62% เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 คาด กนง. อาจส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงเวลาที่เหลือของปี คาดเป็นปัจจัยกดดันภาพรวมตลาด อย่างไรก็ตามเป็น Sentiment บวก ต่อกลุ่มธนาคาร
อย่างไรก็ตามในระยะกลาง – ยาว คาด Sentiment ยังเป็นบวก จาก (1) แนวโน้มเศรษฐกิจ หลัง GDP – 2Q/61 อยู่ที่ 4.6% ดีกว่าคาด ขณะที่เป้าหมายทั้งปี’61 อยู่ในระดับ 4.4 – 4.5% และ (2) ความชัดเจนระยะเวลาการเลือกตั้ง ซึ่งอยู่ภายใต้ Road Map เดิม เบื้องต้นคาดมีการเลือกตั้งในวันที่ 24/2/62 คาดช่วยให้ความเชื่อมั่นลงทุนดีขึ้นตามลำดับ
ทิศทางตลาด
ทิศทางเดียวกับตลาดต่างประเทศ? คาดภาพการเคลื่อนไหวยังอยู่ในทิศทางเดียวกับวานนี้ และคาดยังเป็นไปตามตลาดต่างประเทศ ที่ Sentiment ยังเป็นลบ อยู่ระหว่างรอความชัดเจนภายใต้ประเด็นเดิม โดยเฉพาะนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ต่อประเทศคู่ค้าที่ยังมีความไม่แน่นอน (1) การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และแคนาดา ที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ จากก่อนหน้าคาดหวังในเชิงบวกต่อการเจรจาและลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ฉบับใหม่น่าจะเกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ทีผ่านมา อย่างไรก็ตามจะมีการเจรจาอีกครั้งในวันนี้ (5/9/61) และ (2) ความกังวลต่อสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รอบใหม่ที่อาจมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ภายใต้แผนการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน อัตรา 25% วงเงิน 200,000 ล้านUSD ที่คาดมีความชัดเจนหลังการทำประชาพิจารณ์จากหน่วยงานต่างๆ ของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้
พร้อมกับคาดเฟดจะมีการพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุม 25 – 26/9/61 นี้ ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 และคาดจะเกิดขึ้นอีก 1 ครั้ง ในเดือน ธ.ค. ทำให้คาดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งหมด 4 ครั้ง ในปี’61 อย่างไรก็ตามคาดตลาดสะท้อนไปบ้างแล้ว ขณะที่คาดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งต่อเนื่อง คาดสามารถรองรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามการส่งสัญญาณของประธานเฟดที่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป
ทางด้านหุ้นกลุ่มพลังงาน คาดยังได้รับปัจจัยหนุนจากราคาน้ามัน ที่ทรงตัวในระดับสูง เฉลี่ย 3 ตลาด (WTI, Brent และ Dubai) อยู่ที่ 70 – 77USD/barrel ซึ่งคาดส่งผลดีต่อ PTT และ PTTEP เป็นโอกาสซื้อในช่วงราคาหุ้นปรับลดลง ภายใต้ภาพรวมราคาน้ามัน ที่ยังได้รับปัจจัยหนุนจากสต็อกน้ำมันในตลาดโลกในไตรมาส 3 มีแนวโน้มลดลง จากความต้องการใช้น้ำมันจานวนมาก รวมถึงมาตรการคว่ำบาตรรอบ 2 ในเดือน พ.ย. ของสหรัฐฯ ต่อการส่งออกน้ำมันของอิหร่าน คาดทาให้การผลิตน้ำมันของอิหร่านลดลง มากกว่า 1.0 ล้านบาร์เรล ในไตรมาส 4 นี้
ทางด้านประเด็นในประเทศ คาดยังได้รับ Sentiment ลบจาก Fund Flow หลังต่างชาติกลับมาขายสุทธิต่อเนื่อง และทำให้ YTD ยอดขายสุทธิสะสมกลับขึ้นไปสู่ระดับสูงเกือบ 205,000 ล้านบาท
ขณะที่ กนง. ประชุม 19/9/61 คาดในครั้งนี้ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่หลังอัตราเงินเฟ้อทั่วไป - ส.ค.61 ขยายตัว 1.62% เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 คาด กนง. อาจส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงเวลาที่เหลือของปี คาดเป็นปัจจัยกดดันภาพรวมตลาด อย่างไรก็ตามเป็น Sentiment บวก ต่อกลุ่มธนาคาร
อย่างไรก็ตามในระยะกลาง – ยาว คาด Sentiment ยังเป็นบวก จาก (1) แนวโน้มเศรษฐกิจ หลัง GDP – 2Q/61 อยู่ที่ 4.6% ดีกว่าคาด ขณะที่เป้าหมายทั้งปี’61 อยู่ในระดับ 4.4 – 4.5% และ (2) ความชัดเจนระยะเวลาการเลือกตั้ง ซึ่งอยู่ภายใต้ Road Map เดิม เบื้องต้นคาดมีการเลือกตั้งในวันที่ 24/2/62 คาดช่วยให้ความเชื่อมั่นลงทุนดีขึ้นตามลำดับ
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ต.ค. +US$0.07 อยู่ที่ US$69.87 ต่อบาร์เรล หลังมีการปิดการผลิตที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน 2 แห่งในอ่าวเม็กซิโก ซึ่งเป็นแหล่งผลิตที่สาคัญ ก่อนพายุเฮอร์ริเคน"กอร์ดอน"จะเข้าพัดถล่ม พร้อมคาดการณ์ภาวะน้ำมันตึงตัวในตลาด หลังสหรัฐฯ ใช้มาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน โดยการส่งออกน้ำมันดิบและคอนเดนเสทของอิหร่าน - ส.ค. มีแนวโน้มลดลงต่ากว่าระดับ 70 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นครั้งแรกนับแต่เม.ย.’60 ก่อนถึงวันที่ 4/11/61 ซึ่งเป็นวันที่สหรัฐฯ เตรียมออกมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่ออิหร่าน อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นยังอยู่ในกรอบจำกัด จากเงินสหรัฐฯ ที่แข็งค่า
ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ธ.ค. -US$7.6 อยู่ที่ US$1,199.1 ต่อออนซ์ จากเงินสหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้น ทำให้ทองคำ ซึ่งกำหนดราคาในรูปของเงินสหรัฐฯ มีราคาสูงขึ้นสาหรับนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่นๆ
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -181 ล้านบาท ยอดสะสม -203,152 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท และปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดาเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL เป็นต้น
(2) กลุ่มธนาคาร จะฟื้นตัวตามเศรษฐกิจไทย เช่น BBL, KTB
(3) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูง เช่น PTT, PTTEP และค่าการกลั่นฟื้นตัว เช่น TOP, SPRC
(4) กลุ่มขนส่ง ค่าระวางเรือในระดับสูง ส่งผลดีต่อ PSL
(5) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.05 อยู่ที่ 2.90% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +0.30 อยู่ที่ 13.16
หุ้นแนะนำ : TKN
หุ้นแนะนำ TKN : คาด 2H/61 เติบโตดีกว่า 1H/61 และคาดทั้งปี’61 กำไรสุทธิ กลับมาเติบโต 26%
- แนวโน้ม 2H61 เติบโตดี จากการเข้าสู่ช่วง High Season ของธุรกิจ ภายใต้ยอดขายส่งออกปัจจุบันมีสัดส่วนสูงถึง 61% จากยอดขายรวม ซึ่งคาดยังเติบโตแข็งแกร่งต่อเนื่อง หลังเพิ่มขึ้นกว่า 22% เมื่อ 1Q61 และ 15% เมื่อปี’60 โดยเฉพาะยอดขายในจีน ที่ TKN เน้นทำการตลาดมากขึ้น และล่าสุดสัดส่วนอยู่ที่ 42% ของยอดขายรวม เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจาก 37% และ 40% เมื่อปี’59 และ 60 ตามลำดับ
- TKN ได้ประโยชน์จากการเริ่มต้นใช้วัตถุดิบสาหร่าย Lot ใหม่ที่มีราคาถูกลงตั้งแต่กลาง 2Q61 คาดช่วย อัตรากำไรขั้นต้นมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น หลัง 2Q60 - 1Q61 ถูกกดดันอย่างหนักจากต้นทุนสาหร่ายที่สูงขึ้น นอกจากนี้ Utilization Rate ของโรงงานใหม่ปรับตัวดีขึ้น คาดช่วยลดต้นทุนต่อหน่วยลง ประกอบกับโรงงานแห่งใหม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี (BOI) ส่งผลดีต่ออัตราภาษีเงินได้ของ TKN
- คาดกำไรสุทธิปี’61 อยู่ที่ 765 ล้านบาท กลับมาเติบโต 26% หลังลดลง 22%เมื่อปี’60 พร้อมคาดเงินปันผล 0.44 บาท หรือคิดเป็น Div. Yield ประมาณ 3.0%
- ประเมินราคาเป้าหมายที่ 19.50 บาท
ประเด็นที่ต้องติดตาม 5 – 7 ก.ย.’61
5/9/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ดุลการค้าเดือนก.ค.
(2) ดัชนีภาวะธุรกิจนิวยอร์กเดือนส.ค.
6/9/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนส.ค
(2) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
(3) ผลิตภาพ-ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยไตรมาส 2/2561
(4) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนส.ค.
(5) ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนก.ค.
(6) ดัชนีภาคบริการเดือนส.ค.
(7) สต็อกน้ำมัน
7/9/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนส.ค.
ข่าวเด่น