คำแนะนำ
หากราคาทองคำไม่สามารถยืน 1,202 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ให้แบ่งทองคำออกขายเพื่อทำกำไรบางส่วน แต่หากผ่านได้ให้ชะลอการขายไปที่แนวต้านถัดไป และเมื่อราคาอ่อนตัวลงให้เสี่ยงเข้าซื้อบริเวณแนวรับ 1,182-1,175 ดอลลาร์ต่อออนซ์
แนวรับ-แนวต้าน
แนวรับ 1,182 1,175 1,160
แนวต้าน 1,202 1,214 1,228
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยได้รับแรงหนุนจากรายงานข่าวของบลูมเบิร์กที่ระบุว่า สหราชอาณาจักร และเยอรมนีเตรียมที่จะยกเลิกเงื่อนไขที่เคยเป็นอุปสรรคต่อการเจรจาในประเด็น Brexit ซึ่งได้สร้างความหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถบรรลุข้อตกลงระหว่างกัน (Soft Brexit) ส่งผลให้เงินปอนด์และเงินยูโรแข็งค่าขึ้นจนกดดันสกุลเงินดอลลาร์ให้อ่อนค่าซึ่งช่วยสร้างแรงหนุนให้กับทองคำ อย่างไรก็ดีสกุลเงินดอลลาร์ยังเคลื่อนไหวใกล้ระดับสูงสุดในรอบหลายสัปดาห์จากความวิตกเกี่ยวกับความตึงเครียดทางการค้า หลังสหรัฐเตรียมจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าต่อสินค้าของจีนวงเงิน 2 แสนล้านดอลลาร์ทันทีที่มาตรการดังกล่าวได้ข้อสรุปจากการทำประชาพิจารณ์ในวันพฤหัสบดีนี้ ประกอบกับนักลงทุนรอดูความชัดเจนเกี่ยวกับการเจรจาข้อตกลง NAFTA ฉบับใหม่ระหว่างสหรัฐและแคนาดา โดยล่าสุดบลูมเบิร์กรายงานว่า ทรัมป์กล่าวว่าสหรัฐอาจได้ข้อสรุปในไม่กี่วันข้างหน้านี้ว่าแคนาดาจะเป็นส่วนหนึ่งข้อตกลง NAFTA ฉบับใหม่หรือไม่ส่งผลให้ราคาทองคำยังคงเคลื่อนไหวในกรอบ สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ อาทิ การจ้างงานภาคเอกชนเดือนส.ค. จาก ADPและดัชนี PMI ภาคบริการ พร้อมกับจับตาความคืบหน้าเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้าอย่างใกล้ชิด
ปัจจัยทางเทคนิค
หลังจากราคาทองคำดีดตัวขึ้นในระยะสั้นในช่วงที่ก่อนหน้านี้มีแรงขายทำกำไรสลับออกมาแสดงให้เห็นถึงการแกว่งตัวที่ผันผวนเพิ่มขึ้น เบื้องต้น หากราคาทองคำไม่สามารถยืน 1,202 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ โดยนักลงทุนต้องระมัดระวังแรงขายทำกำไรออกมาที่อาจเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจกดดันราคาทองคำให้ลงสู่แนวรับในระดับ 1,182-1,175 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้
กลยุทธ์การลงทุน GOLD SPOT & GOLD FUTURES
เน้นการเข้าซื้อขายทำกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว โดยการเปิดสถานะขายอาจพิจารณาในโซน 1,202-1,214 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และเข้าซื้อเฉพาะเมื่อราคาปรับตัวลงมาในบริเวณแนวรับ 1,182-1,175 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากลงทุนผิดทางเมื่อราคาทะลุกรอบด้านใดด้านหนึ่ง)
ข่าวเด่น