“ Trade war ญี่ปุ่น รายต่อไป ”
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET วานนี้รีบาวด์ขึ้นปิดบวกที่ 1,694 จุด +7.57 จุด (+0.45%) ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 54,644 ล้านบาท จากแรงซื้อ Technical rebound ตามสัญญาณเทคนิค แม้ว่าภาวะตลาดจะยังคงมีความกังวลภาวะเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศ Emerging market รวมถึงความไม่แน่นอนการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนรอบใหม่วงเงิน 2 แสนล้านดอลลาร์ของสหรัฐ ทั้งนี้ Foreign ขายสุทธิ 10 วันติดต่อกันอีก 2,555 ล้านบาท และ Net Short TFEX 1,766 สัญญา และขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 1,949 ล้านบาท
แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้ : เรามีมุมมองเป็นลบ คาดดัชนีปรับตัวลงทดสอบ 1,675 – 1,680 จุด จากความกังวลข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐกับประเทศคู่ค้า โดยล่าสุดปธน.ทรัมป์ ส่งสัญญาณว่าอาจใช้มาตรการทางการค้ากับญี่ปุ่น ประกอบกับแรงกดดันปัจจัยเดิม ได้แก่ การเจรจาการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) กับแคนาดารอบใหม่ยังไม่มีความคืบหน้า, การเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนรอบใหม่วงเงิน 2 แสนล้านดอลลาร์ หากได้ข้อสรุปประชาพิจารณ์จากภาคส่วนต่างๆ ทั้งนี้จีนได้ส่งสัญญาณเตือนว่าจะใช้มาตรการตอบโต้ทันทีหากสหรัฐประกาศเก็บภาษีรอบใหม่ด้วยเช่นกัน รวมถึงภาวะเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ Emerging market ที่อ่อนแอ โดยเฉพาะอินโดนิเซีย ตุรกี และอาร์เจนติน่า ส่งผลให้แนวโน้ม Fund Flow ยังคงไหลออกต่อเนื่องซึ่งเป็นแรงกดดันต่อทิศทางการลงทุน
กลยุทธ์การลงทุนวันนี้ : Selective Buy
กลุ่มอาหาร (CPF, GFPT, TU) อิเล็กทรอนิกส์ (HANA, KCE, SVI) และ EPG คาดผลประกอบการ 3Q18 เติบโตจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง
กลุ่ม defensive stock ในภาวะตลาดผันผวน เช่น กลุ่มโรงพยาบาล (BDMS, BCH, CHG) กลุ่มโรงไฟฟ้า (BGRIM, CKP, EA) และกลุ่มค้าปลีก (CPALL)
หุ้นแนะนำวันนี้ : DCC (ปิด 2.78 ซื้อ/เป้า 3.1) ผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วจากยอดขายและมาร์จิ้นเพิ่มขึ้น และยังเปิดแผนธุรกิจใหม่ (one stop center) เพิ่มรายได้ประจำลดความผันผวนของผลประกอบการ, TPIPP (ปิด 6.45 ซื้อ/เป้า 8.2) คาดกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น (ส.ค.โรงไฟฟ้า TG7 กำลังการผลิต 70MW เริ่มการผลิต) ขณะที่ Valuation ค่อนข้างถูก PE 13 เท่าเทียบกับกลุ่มเฉลี่ยที่ 24 เท่า อีกทั้งยังจ่ายปันผลสม่ำเสมอให้ Yield 6-7%ต่อปี, IHL (ปิด 8.7 ซื้อ/เป้า 11.8) ทยอยสะสมคาดผลกำไรจะทยอยฟื้นตัว qoq ตั้งแต่ 3Q18 เป็นต้นไป เนื่องจากโรงฟอกหนังเฟสใหม่เริ่มผลิตอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือน ส.ค.หนุนกำลังการผลิตเพิ่มเท่าตัวจาก 1 ล้านชิ้น/เดือน เป็น 1.7 ล้านชิ้น
Top picks ปีนี้ : ADVANC, ANAN, BEM, BDMS, CHG, CPALL, IVL, MINT, MTC และ QH
KSS report วันนี้ : CBG (ปิด 52 ขาย/เป้า 35), CPN (ปิด 81.5 ซื้อ/เป้าใหม่ 99 จาก 88)
ประเด็นสำคัญวันนี้ :
(-) สงครามการค้าสหรัฐ, จีน และ แคนนาดา ยังไม่จบ แต่จะมีคู่กรณีใหม่เกิดขึ้น หลัง โดนัล ทรัมป์ ขู่จะทำสงครามการค้ากับญี่ปุ่นเป็นประเทศถัดไป : สงครามการค้าจะยังสร้างความไม่แน่นอนให้กับตลาดต่อไป เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนจากการเจรจาคลี่คลายปัญหาการค้าระหว่างสหรัฐและแคนนาดา เช่นเดียวกับการทำประชาพิจารณ์ของสหรัฐต่อการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้านำเข้าจากจีนก็ยังไม่มีข้อสรุปเช่นเดียวกัน ขณะที่เช้าวันนี้ปัญหาสงครามการค้าดูเหมือนจะขยายตัวเป็นวงกว้างมากขึ้นหลังจากที่ โดนัลทรัมป์ ออกมาระบุและเตือนว่าญี่ปุ่นจะเป็นประเทศถัดไปที่สหรัฐจะประกาศสงครามการค้า ด้วยปัญหา trade war ที่ยังไม่แน่นอนจึงเป็นไปได้สูงที่นักลงทุนจะชะลอการลงทุนและลดความเสี่ยงเพื่อรอผลสรุปดังกล่าว
(-) กังวลดีมานด์จากประเทศเกิดใหม่ลดลง กดราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 และเป็นการลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบที่ 2 : ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลงอีก 95 เซนต์ (-1.4%) ปิดที่ 67.77 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นักลงทุนกลับมากังวลต่อภาวะความต้องการน้ำมันดิบที่ลดลงอีกครั้งจาก 1)สต็อกน้ำมันเบนซินรายสัปดาห์ของสหรัฐเพิ่มขึ้น 1.8 ล้านบาร์เรลสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 1.5 ล้านบาร์เรล เช่นเดียวกับสต๊อกน้ำมันกลั่นที่เพิ่มขึ้นเป็น 3.1 ล้านบาร์เรล ขณะที่ตลาดคาดว่าจะทรงตัว และ 2)กังลปัญหาเศรษฐกิจที่อ่อนแอในตลาดเกิดใหม่ อาทิ บราซิล อินเดีย และ อินโดฯ จะทำให้ดีมานด์ลดลง
(+/-) วันนี้ติดตามตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ และ ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ย เพื่อจับสัญญาณการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ และ โอกาสขึ้นดอกเบี้ยของเฟด : นอกจากปัญหาสงครามการค้าแล้ววันนี้ยังมีประเด็นที่ต้องติดตามเพิ่มขึ้น คือการรายงานตัวเลขนอกภาคเกษตรของสหรัฐเพื่อดูความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานสหรัฐ โดย Consensus คาดการจ้างงานนอกภาคเกษตรจะเพิ่มขึ้นเป็น 191,000 ราย มากกว่าเดือนก.ค.ที่เพิ่มขึ้น 157,000 ราย กดดันให้อัตราการว่างงานลดลงเป็น 3.8% แต่อีกหนึ่งตัวเลขที่ตลาดเฝ้าติดตามคือ ตัวเลขค่าจ้างต่อชั่วโมงโดยเฉลี่ยซึ่งเป็นอีกหนึ่งดัชนีที่ใช้ชี้วัดอัตราเงินเฟ้อ เบื้องต้นตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2%mom และ 2.7%yoy หากตัวเลขออกมาสูงกว่าที่คาดจะทำให้ความกังวลกับการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อกลับมาอีก
ข่าวเด่น