ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลง หลังสต็อกน้ำมันสำเร็จรูปสหรัฐฯ พุ่งขึ้นเกิดคาด
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง หลังได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันเบนซินและดีเซลคงคลังปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.1 และ 1.8 ล้านบาร์เรล ตามลำดับ สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลง ส่งผลให้ตลาดกังวลว่าอุปสงค์น้ำมันจะเริ่มชะลอตัวลง นอกจากนี้ ปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ณ จุดส่งมอบ คุชชิ่ง โอคลาโฮมา ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 549,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 24.8 ล้านบาร์เรล
- ตลาดหุ้นในเอเชียปรับตัวลงติดต่อกันกว่า 6 วัน หลังตลาดกังวลว่าสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน จะไม่สามารถตกลงยุติความขัดแย้งลงได้ในเร็วนี้ ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าอุปสงค์อาจปรับลดลงมากกว่าที่คิด
- นักวิเคราะห์คาดว่าปริมาณการผลิตของโอเปกในเดือน ส.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน หลังผู้ผลิตได้ตกลงที่จะปรับเพิ่มกำลังการผลิตในการประชุมโอเปกในเดือน มิ.ย. ส่งผลให้อุปทานจากโอเปกปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นำโดยซาอุฯ อิรัก และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
+ อุปทานน้ำมันดิบจากประเทศอิหร่านและเวเนซุเอลามีแนวโน้มจะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด ในเดือน ส.ค. กำลังการผลิตอิหร่านคาดจะปรับลดลงกว่า 150,000 บาร์เรลต่อวัน จากเดือนก่อนหน้า ประกอบกับ อุบัติเหตุที่ท่าเรือขนส่งน้ำมันในประเทศเวเนซุเอลา ส่งผลกดดันต่อปริมาณการส่งออกของประเทศ
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสิงคโปร์ที่ปรับลดลงมาแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน ประกอบกับ แรงซื้อจากตะวันออกกลางยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยได้รับแรงกดดันจากน้ำมันดีเซลคงคลังในสิงคโปร์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน ที่ 11.4 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม ราคายังได้รับแรงหนุนจากปริมาณการส่งออกจากจีนมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลง
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์หน้า
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 64-69 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 74-79 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
สำนักข่าว Reuters เผยปริมาณการส่งน้ำมันดิบของอิหร่านในเดือน ส.ค. 61 ลดลงมาแตะระดับ 2.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากระดับสูงสุดที่ 3.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา หลังได้เผชิญหน้ากับการคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ ซึ่งกำกับให้ทุกประเทศหยุดการนำเข้าน้ำมันดิบอิหร่านนับตั้งแต่ 4 พ.ย. 61 นี้เป็นต้นไป
ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบจากประเทศเวเนซุเอลามีแนวโน้มปรับลดลง เนื่องจากท่าเรือขนส่งน้ำมันหลักของประเทศได้มีการหยุดดำเนินการลง หลังเกิดเหตุเรือขนส่งน้ำมันดิบชนกัน
จับตาการการประชุมระหว่างผู้ผลิตทั้งในและนอกโอเปกในเดือน ก.ย. ว่าจะมีการพิจารณาปรับเพิ่มปริมาณการผลิตขึ้นเพื่อชดเชยปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของอิหร่านที่หายไปหรือไม่
ดัชนีและราคาที่สำคัญ
ข่าวเด่น