ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน (-/+) ตลาดต่างประเทศ DJIA -79.33, NASDAQ -20.18 (10/09/61)


 ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้ 

(-/+) ตลาดต่างประเทศ DJIA -79.33, NASDAQ -20.18, S&P -6.37, FTSE -41.26, CAC +8.38 และ DAX +4.38 
หลัง ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ เปิดเผยว่า สหรัฐฯ พร้อมที่จะเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมต่อสินค้านำเข้าจากจีนวงเงิน 2.67 แสนล้านUSD จากการทำประชาพิจารณ์จากภาคส่วนต่างๆ ของสหรัฐฯ ต่อมาตรการดังกล่าว และจากการเจรจาการค้าระหว่างเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ และจีน เมื่อ 22 – 23/8/61 ซึ่งไม่มีความคืบหน้าใดๆ ขณะที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้เรียกเก็บภาษีนาเข้าสินค้าระหว่างกัน คิดเป็นวงเงิน 5 หมื่นล้านUSD
พร้อมกับยังคงมีความกังวลว่าสหรัฐฯ จะทาสงครามการค้ากับญี่ปุ่น เป็นประเทศต่อไป หลังหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล รายงานว่า ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ เตรียมแก้ไขปัญหาขาดดุลการค้าทวิภาคีกับญี่ปุ่น
ขณะที่สหรัฐฯ เปิดเผย (1) ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร - ส.ค. เพิ่มขึ้น 201,000 ตำแหน่ง สูงกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 191,000 ตำแหน่งและ (2) ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน - ส.ค. เพิ่มขึ้น 10 เซนต์/ชั่วโมง หรือ 0.4% จากระดับ 0.3% เมื่อก.ค. และเพิ่มขึ้น 2.9%yoy ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับแต่เม.ย.’ 52 และสูงกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.7%

ทิศทางตลาด
ผันผวน? คาดอยู่ในกรอบแคบตามตลาดต่างประเทศที่เคลื่อนไหวไร้ทิศทาง แม้ได้รับปัจจัยกดดันจากประเด็นการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าต่างๆ แต่คาดตลาดสะท้อนไปแล้วบางส่วนโดยเฉพาะข้อพิพาททางการค้ารอบใหม่กับประเทศจีน ที่จะมีการเรียกเก็บภาษีนาเข้า วงเงิน 267,000 ล้านUSD (สูงกว่าที่เคยประกาศก่อนหน้าที่ ประมาณ 200,000 ล้านUSD) อย่างไรก็ตามยังไม่มีการระบุวันที่จะมีผลบังคับใช้ ขณะที่คาดจีนจะมีมาตรการตอบโต้ออกมา เช่นเดียวกับครั้งที่ผ่านมาที่มีการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ เช่นเดียวกับที่สหรัฐฯ ดำเนินการกับจีน ทั้งอัตราภาษีวงเงิน และวันที่มีผลบังคับใช้
พร้อมคาดอยู่ระหว่างติดตาม (1) การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ครั้งใหม่ของสหรัฐฯ และแคนาดา เริ่มเมื่อ 5/9/61 และ (2) ข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศต่อไป
รวมถึงการประชุมเฟด ที่คาดจะมีการพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุม 25 – 26/9/61 นี้ ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 และคาดจะเกิดขึ้นอีก 1 ครั้ง ในเดือน ธ.ค. ทำให้คาดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งหมด 4 ครั้ง ในปี’61 อย่างไรก็ตามคาดตลาดสะท้อนไปบ้างแล้ว ขณะที่คาดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งต่อเนื่อง คาดสามารถรองรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามการส่งสัญญาณของประธานเฟดที่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป
ทางด้านหุ้นกลุ่มพลังงาน คาดอาจมีแรงขายทากาไร หลังราคาน้ำมันปรับลดลง อย่างไรก็ตามยังทรงตัวในระดับสูงทั้ง 3 ตลาด (WTI, Brent และ Dubai) อยู่ที่ 68 – 76 USD/barrel ซึ่งคาดส่งผลดีต่อ PTT และ PTTEP เป็นโอกาสซื้อในช่วงราคาหุ้นปรับลดลง ภายใต้ภาพรวมราคาน้ำมัน ที่ยังได้รับปัจจัยหนุนจากสต็อกน้ำมันในตลาดโลกในไตรมาส 3 มีแนวโน้มลดลง จากความต้องการใช้น้ำมันจำนวนมาก รวมถึงมาตรการคว่ำบาตรรอบ 2 ในเดือน พ.ย. ของสหรัฐฯ ต่อการส่งออกน้ำมันของอิหร่าน คาดทำให้การผลิตน้ำมันของอิหร่านลดลง มากกว่า 1.0 ล้านบาร์เรล ในไตรมาส 4 นี้
ทางด้านประเด็นในประเทศ คาดยังได้รับ Sentiment ลบจาก Fund Flow หลังต่างชาติกลับมาขายสุทธิต่อเนื่อง และทาให้ YTD ยอดขายสุทธิสะสมกลับขึ้นไปสู่ระดับสูงเกือบ 209,000 ล้านบาท พร้อมคาดความกังวลต่อวิกฤตเศรษฐกิจและค่าเงินของกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ยังส่งผลต่อ Fund Flow ไหลออก
ขณะที่ กนง. ประชุม 19/9/61 คาดในครั้งนี้ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่หลังอัตราเงินเฟ้อทั่วไป - ส.ค.61 ขยายตัว 1.62% เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 คาด กนง. อาจส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงเวลาที่เหลือของปี คาดเป็นปัจจัยกดดันภาพรวมตลาด อย่างไรก็ตามเป็น Sentiment บวก ต่อกลุ่มธนาคาร

ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ต.ค. -US$0.02 อยู่ที่ US$67.75 ต่อบาร์เรล ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยกดดันจากเงินสหรัฐฯ ที่แข็งค่า รวมถึงความกังวลต่อประเด็นการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้า ซึ่งจะกระทบต่ออุปสงค์น้ำมัน อย่างไรก็ดี การปรับลดลงอยู่ในกรอบจากัด ภายใต้ปัจจัยหนุนจากคาดการณ์ภาวะน้ำมันตึงตัวในตลาด หลังสหรัฐฯ ใช้มาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน โดยการส่งออกน้ำมันดิบและคอนเดนเสทของอิหร่านมีแนวโน้มลดลงต่ากว่าระดับ 70 ล้านบาร์เรลในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นครั้งแรกนับแต่เม.ย.’60 ก่อนถึงวันที่ 4/11/61 ซึ่งเป็นวันที่สหรัฐฯ เตรียมออกมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่ออิหร่าน

ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ธ.ค. -US$3.9 อยู่ที่ US$1,200.4 ต่อออนซ์ ภายใต้ปัจจัยกดดันจากเงินสหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้น รวมถึงตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นเกินคาด และตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงของแรงงานที่เพิ่มสูงสุดในรอบกว่า 9 ปี ส่งผลให้คาดการณ์ว่าเฟด จะเร่งการขึ้นอัตราดอกเบี้ย

(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -773 ล้านบาท ยอดสะสม -208,706 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท และปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)

ประเด็นที่ต้องติดตาม 10 - 13 ก.ย.’61
10/9/61 ไม่มีเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่สาคัญของสหรัฐฯ
11/9/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนก.ค.
12/9/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนส.ค.
(2) สต็อกน้ำมัน
(3) รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากเฟด
13/9/61 ประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BoE)
ประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB)
สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
(2) อัตราเงินเฟ้อเดือนส.ค.

อย่างไรก็ตามในระยะกลาง – ยาว คาด Sentiment ยังเป็นบวก จาก (1) แนวโน้มเศรษฐกิจ หลัง GDP – 2Q/61 อยู่ที่ 4.6% ดีกว่าคาด ขณะที่เป้าหมายทั้งปี’61 อยู่ในระดับ 4.4 – 4.5% และ (2) ความชัดเจนระยะเวลาการเลือกตั้ง ซึ่งอยู่ภายใต้ Road Map เดิม เบื้องต้นคาดมีการเลือกตั้งในวันที่ 24/2/62 คาดช่วยให้ความเชื่อมั่นลงทุนดีขึ้นตามลำดับ

และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL เป็นต้น
(2) กลุ่มธนาคาร จะฟื้นตัวตามเศรษฐกิจไทย เช่น BBL, KTB
(3) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูง เช่น PTT, PTTEP และค่าการกลั่นฟื้นตัว เช่น TOP, SPRC
(4) กลุ่มขนส่ง ค่าระวางเรือในระดับสูง ส่งผลดีต่อ PSL
(5) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน

ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.06 อยู่ที่ 2.94% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)

ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +0.23 อยู่ที่ 14.88

หุ้นแนะนำ : COM7

หุ้นแนะนำ

COM7 : แนวโน้ม 2H61 ดีกว่า 1H61 โดยเฉพาะ 4Q61 คาดยอดขายทา New High

  • แนวโน้ม 2H61 ดีกว่า 1H61 จากรายได้ขาย 3Q61 คาดเติบโตต่อเนื่อง (+5%qoq, +27%yoy) ส่วนหนึ่งจากการระบายสินค้า (Clearance) ขณะที่คาด 4Q61 ยอดขายทำจุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ (+22%qoq, +20%yoy) ภายใต้ปัจจัยหนุนจากช่วง High Season รวมถึงการเปิดตัวสินค้ารุ่นใหม่ Apple (รวม IPhone เปิดตัวเดือนกันยายน ในต่างประเทศ และคาดเริ่มขายในไทย ในเดือนพฤศจิกายน) พร้อมคาดรายได้ปี’61 อยู่ที่ 28,848 ล้านบาท +28%
  • ธุรกิจ Franchise อยรู่ ะหว่างพัฒนา คาดเห็นผลชัดเจนใน 4Q61 โดย COM7 ยังคงเป้าหมายเดิมที่ 100 สาขาทำให้คาดมีการเร่งตัวในช่วงเวลาที่เหลือของปี จากปัจจุบันมี 20 สาขา
  • เปิด “BaNANA Mega Store” บนเนื้อที่กว่า 1,000 ตารางเมตร เมื่อ 17/8/61 แบ่งเป็น (1) “BaNANA” นำเสนอสินค้ารุ่นปัจจุบัน (2) “BaNANA Outlet” สำหรับขายสินค้าตกรุ่นตัวโชว์ และสินค้าลดราคา และ (3) “BaNANA Shopping” สำหรับสั่งซื้อออนไลน์และรับสินค้า พร้อมคาด “BaNANA Outlet” ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายจากการตกรุ่นของสินค้าได้ราว 50 ล้านบาทต่อปี และคาดช่วยให้ Net Profit Margin ปี’62 ดีขึ้นเป็น 3.06% จากประมาณการปี’61 ที่ 2.92%
  • ประเมินราคาเป้าหมายปี’61 ที่ 22.50 บาท อิง P/E ที่ 32X (ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยกลุ่มพาณิชย์ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา)

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 10 ก.ย. 2561 เวลา : 10:03:49

24-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 24, 2024, 5:17 pm