ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน ดัชนียังผันผวนและต่ำกว่า 1700 จุด (10/09/61)


 กลยุทธ์การลงทุน

  ดัชนียังผันผวนและต่ำกว่า 1700 จุด สงครามการค้าโลกขยายวงกว้าง มิใช่สหรัฐเตรียมเพิ่มวงเงินภาษีนำเข้าจากจีนเท่ากับมูลค่านำเข้าปีละกว่า 5 แสนล้านเหรียญ แต่จะกีดกันการค้ากับญี่ปุ่นอีกประเทศ และค่าเงินประเทศกำลังพัฒนาอ่อนตัว กดดัน fund flow ไหลออกต่อเนื่อง แต่บวกต่อหุ้นส่งออก ซึ่งเข้าสู่ High Season (CPF, TU, HANA) กลยุทธ์ปรับพอร์ตและเลือกลงทุนรายหุ้นเน้น Domestic Play ที่ P/E และ Beta ต่ำ (RATCH, EASTW) เติบโตสูง 2H61 หรือหุ้นอาหารส่งออกเข้าสู่ High Season (CPF, TU, HANA) หรือมีเงินสดสุทธิ (VGI, MACO, PLANB) Top Picks CPF(FV@B30) และ HANA(FV@B44)        

ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวันศุกร์…. SET ยังเคลื่อนไหวต่ำ 1700 จุด
  วันศุกร์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยยังคงผันผวน พร้อมมูลค่าซื้อขายค่อนข้างน้อย 3.64 หมื่นล้านบาท จึงไม่สามารถผลักดันดัชนีไปได้ไกล โดยปิดตลาดที่ระดับ 1689.49 จุด ลดลง 4.45 จุด หรือ -0.26% ซึ่งถูกกดดันจากกลุ่มขนาดใหญ่ โดยเฉพาะหุ้นน้ำมัน PTT-0.99% PTTEP-1.07% ตามด้วยหุ้น GPSC -1.41% และ AOT -1.15% ตรงข้าม หุ้นในกลุ่มโรงพยาบาล (BDMS BCH) และหุ้นรายตัวอย่าง CBG SAWAD HANA  ปิดบวก
  แนวโน้มตลาดฯ ไทยยังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่า   1700 จุด  ยังให้น้ำหนักต่อ   สงครามการค้าโลก ล่าสุด สหรัฐเตรียมขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนอีก 2 แสนล้านเหรียญฯ หลังทำ public hearing เสร็จ และจะ เพิ่มอีก 2.6 แสนล้านเหรียญ  หรือ โดยสรุปสหรัฐจะขึ้นสินค้านำเข้าจากจีนทุกรายการในอัตราภาษี 25% ถือว่าเป็นกรณีที่เลวร้ายสุด ขณะเดียวกันสหรัฐจะกีดกันสินค้ากับญี่ปุ่นอีกประเทศ เพราะญี่ปุ่นได้ดุลการค้าสหรัฐมากเป็นอันดับ 3 รองจากจีน และเม็กซิโก และตามด้วยค่าเงินเอเชียที่ยังมีแนวโน้ม อ่อนค่า ตามปัญหาในประเทศเกิดใหม่หลายแห่ง และสหรัฐมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยในเดือน ก.ย. นี้ แต่ หนุนหุ้นส่งออกอาหาร ที่เข้าสู่ช่วง High season ชอบ HANA, CPF, TU  
สหรัฐจะขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนทุกรายการกว่า 5 แสนล้านเหรียญ  
  สหรัฐยังคงเดินหน้ากีดกันการค้ากับจีนต่อเนื่อง  โดยจะประกาศขึ้นภาษีนำเข้าจีนรอบ 3  วงเงิน 2 แสนล้านเหรียญอัตราภาษี 25% หลังทำประชาพิจารณ์เสร็จสิ้นไป และเตรียมจะขึ้นภาษีนำเข้ากับจีนรอบที่ 4 อีก 2.67 แสนล้านเหรียญฯ รวมทั้งหมด 4 รอบ หรือเท่ากับที่สหรัฐนำเข้าสินค้าจากจีนทั้งหมดในปี  2560  5.17  แสนล้านเหรียญฯ ขณะที่จีน น่าจะตอบโต้ได้จำกัดเพราะได้ดุลการค้ากับสหรัฐ เพียง 3.75 แสนล้านเหรียญฯ 
  นอกจากสหรัฐเตรียมจะขึ้นภาษีกับประเทศที่เกินดุลการค้ารายถัดไป คือ ญี่ปุ่น ซึ่งได้ดุลการค้าเป็นอันดับ 3 เป็นรองเม็กซิโก และจีน(ดังรูป) สินค้าที่สหรัฐนำเข้าจากญี่ปุ่น หลักๆ คือรถยนต์และส่วนประกอบ 37% ของการนำเข้าทั้งหมดจากญี่ปุ่น รองลงมาคือ  เครื่องจักรกล 22.7%, อุปกรณ์ไฟฟ้า 12.5%, อุปกรณ์ถ่ายภาพและอุปกรณ์การแพทย์ 4.8%, อากาศยาน 2.9% เป็นต้น   ขณะที่ญี่ปุ่นนำเข้าจากสหรัฐ คือ เครื่องจักรกล 15.5%, อุปกรณ์ถ่ายภาพและอุปกรณ์การแพทย์ 10.1%, อุปกรณ์ไฟฟ้า 8.5%, เชื้อเพลิง 8.3%, เภสัชภัณฑ์ 6.5% เป็นต้น 

  ผลกระทบต่อเอเชียเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะ คู่ค้าหลักของญี่ปุ่น คือ เอเชีย ซึ่งมีจีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่สัดส่วนราว 23.6% ของการค้ารวมของญี่ปุ่น  รองลงมาคือเกาหลีใต้ 5.9%, ออสเตรเลีย 4% ตามลำดับ  ส่วนไทยเป็นคู่อันดับที่ 6   3.9%  แต่เชื่อว่าต่อไทยได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม  เพราะไทยค้าขายกับทั้งจีนและญี่ปุ่นมากสุด (จีน ราว 18.1%   ญี่ปุ่น 11.5% และ สหรัฐ  9.7%)      โดยพบว่าไทยขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นราว 1 หมื่นล้านเหรียญฯในปี 2560 ราว  1 หมื่นล้านเหรียญฯ   สินค้าส่งออกของไทยไปญี่ปุ่นมากที่สุดคือ  รถยนต์และส่วนประกอบราว 5.8% ของการส่งออกไปญี่ปุ่นทั้งหมด รองมาคือ  ไก่แปรรูป 5.72% , โทรศัพท์และส่วนประกอบ 4.9%, ส่วนประกอบเครื่องจักร 4.4% และคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ  3.7%  ตรงข้ามสินค้าที่ไทยนำเข้าจากญี่ปุ่น มากที่สุดคือ  เครื่องจักร  17.6% ของการนำเข้าทั้งหมดจากญี่ปุ่นรองลงมาคือ  เหล็ก 14.9%, ส่วนประกอบยานยนต์ 11.37%  , เครื่องจักรไฟฟ้า 11%,  เคมีภัณฑ์ 7.4%
การประกาศสงครามทางการค้าทั่วโลก ถือว่าเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุด  จากการศึกษาของ  World Bank  ประเมินว่าการกีดกันทางการค้าทุก 5 หมื่นล้านเหรียญฯ จะทำให้การค้าโลกหดตัวราว 9%  นั่นแปลว่าผลกระทบต่อการค้าโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากกดดันเงินเฟ้อโลก ยังกดดันเศรษฐกิจ โลกเติบโตในอัตราชะลอตัวลงจากที่คาดไว้   

สงครามการค้าโลก ยิ่งกดดันต่างชาติขายหุ้นภูมิภาคทั้ง 5 ประเทศ
  ประเด็นสงครามการค้าสหรัฐ-จีน และลุกลามมายังญี่ปุ่น น่าจะกดดันให้ Fund Flow ไหลออกจากตลาดหุ้นภูมิภาคต่อเนื่อง และวันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติยังเดินหน้าขายหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่าสูงถึง 738 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิสูงสุดในรอบเกือบ 3 เดือน) และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ นำโดยเกาหลีใต้ขายสุทธิ 658 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยไต้หวัน 11 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว), อินโดนีเซีย 19 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6), ฟิลิปปินส์ 26 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7) และไทยที่ต่างชาติยังขายสุทธิอีก 24 ล้านเหรียญ หรือ 773 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 11 มีมูลค่าขายรวม 1.52 หมื่นล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิหุ้นไทย 301 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 3 วัน)
  ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 5.17 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิในวันก่อนหน้า) แต่เป็นการพักเงินในตราสารหนี้ระยะสั้น (T<1) กว่า 7.29 พันล้านบาท และขายตราสารหนี้ระยะยาว (T>1) 2.12 พันล้านบาท

สหรัฐกดดันทั่วโลก กดดันตลาดหุ้นโลกลงกับลง 
  ประเมินว่า แนวโน้มของ SET Index นับจากนี้มีโอกาสปรับลงมากกว่าขึ้น เนื่องด้วยเห็นความเสี่ยงในหลายๆ ปัจจัย กล่าวคือ
  1. สงครามการค้าขยายวงกว้างและรุนแรงมากขึ้น  ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งคาดว่าผลกระทบจากสงครามการค้าจะเริ่มเห้นตั้งแต่ 4Q61 และเห็นชัดเจนต่อเศรษฐกิจโลกในปีหน้าเป็นต้นไป
  2. แนวโน้มเงินเฟ้อโลกที่ขยับสูงขึ้น เป็นผลจาก cost push  ทั้งราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น และ  การกีดกันการค้าข้างต้น ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่ม ตั้งแต่สินค้าขั้นต้น-กลาง และ ขั้นปลาย  ทั่วโลก ทั้งสหรัฐ จีน รวมถึงประเทศในกลุ่ม Emerging Market ที่มีปัญหาเรื่องดุลการค้าติดลบ และ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด มาตั้งแต่อดีต  และ ยังมีหนี้ต่างประเทศอยู่ในระดับสูง ล้วนได้รับผลกระทบเรื่องค่าเงิน  ยิ่งกดดันให้ เงินเฟ้อมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วดังที่เห็นในประเทศเกิดใหม่หลายแห่ง คือ  เวเนซุเอลา อาร์เจนตินา ตุรกี มีการแผ่ขยายมายังภูมิภาคเอเซีย ทั้งอินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้กระแส Fund Flow ยังคงไหลออกจากภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง
  3. แนวโน้มกำไรตลาดฯ ปี 2561 ของไทย ที่มีมีโอกาสปรับประมาณการลง แม้ว่าผลประกอบการ 1H61 จะทำได้ 50% ของประมาณการฯ ทั้งปีที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ที่ 1.1 ล้านล้านบาท แต่หลังจากการประชุมนักวิเคราะห์แล้ว พบว่าได้มีการปรับลดประมาณการกำไรหุ้นรายตัวในบางกลุ่มฯ โดยส่วนใหญ่เป็นการปรับรายการพิเศษ ที่มีมูลค่ารวมกันกว่า 1.75 หมื่นล้านบาท เกือบทั้งหมดอยู่ในกลุ่ม ICT ส่วนการปรับอันเนื่องมาจากการดำเนินงานปกติมีสาเหตุหลายประการ เช่น กำไรสุทธิ 1H61ออกมาต่ำกว่าคาด, ต้นทุนทางการเงินมีโอกาสเพิ่มขึ้น หรือแนวโน้มการทำกำไร 2H61 ชะลอตัวจากที่คาด แต่ยอดรวมที่ปรับลดมีมูลค่าน้อยกว่ารายการพิเศษ เบื้องต้นคาดกำไรตลาดฯ ปี 2561 ลดลงจากประมาณการเดิม 2.6 หมื่นล้านบาท หรือ 2.4% ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยอยู่ในระหว่างการทบทวนปี 2562 เช่นกัน 

  โดยรวมทำให้ดัชนีเป้าหมาย 1662 จุด ภายใต้ประมาณการ EPS เดิมที่ 110.78 บาท และ Expected P/E 16 เท่า มีความเป็นไปได้ที่จะลดลงจากเดิม กลยุทธ์การลงทุน จึงยังเน้น Domestic Play ดังนี้
  หุ้นที่เกี่ยวข้องกับการอุปโภคบริโภคในประเทศ : ROBINS, BJC, ADVANC
  หุ้นวัสดุก่อสร้าง : SCC, SCCC, DCC
  หุ้นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน : EASTW, TTW,  RATCH, BGRIM
  หุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น 
  1.  ธนาคาร : BBL, TCAP
  2.  มีเงินสดสุทธิ : VGI, MACO, PLANB
  หุ้นที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า  และ ราคาหุ้นยัง Laggard : TU, CPF, HANA


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 10 ก.ย. 2561 เวลา : 10:08:35

22-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 22, 2024, 2:55 am