กลยุทธ์การลงทุน
เชื่อว่าดัชนีน่าจะอยู่ช่วงของการปรับฐานต่อ แม้หุ้นปิโตรเลี่ยมช่วยประคองตลาด หลังราคาน้ำมันดิบขึ้นแตะ 80 เหรียญฯ แต่กลุ่มแบงก์อาจกดดันตลาด จากการประเมินกำไรงวด 3Q61 น่าจะหดตัวจาก 2Q61 ขณะที่ต่างชาติยังคงซื้อสลับขาย กลยุทธ์ยังเลือก Domestic Play ที่ยังมี upside (CPALL, BJC, SEAFCO, MACO) Top picks ยังชอบ CPALL(FV@B80) ที่ผ่านจุดต่ำสุด TPIPP(FV@B7.3) หุ้นพลังงานทางเลือกที่มีการเติบโตโดดเด่น ราคาหุ้นยัง Laggard และเพิ่ม CK(FV@B32) กำไรงวด 3Q61 เติบโตสูง
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทยวานนี้ ….เข้าสู่โหมดการปรับฐาน
วานนี้ SET Index แกว่งตัวในกรอบแคบๆ ตลอดวัน ก่อนจะปิดตลาดแดนลบที่ระดับ 1,749.42 จุด ลดลง 6.7 จุด หรือ 0.38% มูลค่าซื้อขาย 4.41 หมื่นล้านบาท สงครามการค้ากดดันตลาดหุ้นไทยและภูมิภาคปรับตัวลดลงทิศทางเดียวกัน โดยตลาดหุ้นไทยถูกกดดันจากหุ้นขนาดใหญ่อย่าง SCC ปรับตัวลดลง 1.31% ตามด้วย AOT -0.75% ปิโตรฯ IVL-PTTGC -0.8% และ -1.9% ตามลำดับ ขณะที่ PTT PTTEP บวกสวนทางตลาด 0.5% และ 0.7% เช่นเดียวกันกับหุ้นในกลุ่ม ธ.พ. ทั้ง SCB KBANK KTB ปรับตัวลดลง ยกเว้น BBL +1.4%
แนวโน้ม SET Index วันนี้คาดว่ายังคงปรับฐาน หลังดัชนีแตะ PER 16 เท่า โดยให้น้ำหนักต่อ การทำ Earnings Preview กลุ่ม ธ.พ. ที่คาดว่าชะลอตัวจากงวด 2Q61 และ สงครามการค้าที่ขยายตัวในวงกว้างและกระทบการส่งออก 2 เดือน ใน 2 ตลาดหลักคือ จีน-สหรัฐ หนุนให้ต่างชาติยังซื้อสลับขาย
ดอลลาร์น่าฟื้นตัว Fed ขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม 25-26 ก.ย. นี้
วันนี้เป็นวันแรกของการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในช่วง 25-26 ก.ย. (แต่ทราบผลราวเช้าวันที่ 27 ก.ย.) คาดว่า Fed น่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ในครั้งนี้ และมีโอกาสขึ้นอีก 1 ครั้งในการประชุมรอบ ธ.ค. ทำให้ดอกเบี้ยฯ ณ สิ้นปี 2561 อยู่ที่ราว 2.5% เพราะเงินเฟ้อสหรัฐเดือน ส.ค. ขยายตัว 2.7% ยังสูงกว่าดอกเบี้ยที่ 2% และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่ยังแข็งแกร่ง โดยเฉพาะตลาดแรงงาน สะท้อนจากอัตราการว่างงาน เดือน ส.ค. อยู่ที่ 3.9% ต่ำสุดตั้งแต่วิกฤตซับไพรม์
ขณะที่ฝั่งเอเชียในวันที่ 27 ก.ย. จะมีการประชุม ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) และธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ตลาดคาดว่า BSP จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% เป็น 4.5% ขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ของในปีนี้ เพราะอัตราเงินเฟ้อฟิลิปปินส์พุ่งสูงขึ้นที่ 6.4%yoy ในเดือน ส.ค. เกินเป้าหมายที่ BSP ตั้งไว้ราว 31% และ เช่นเดียวกับอินโดนีเซีย ตลาดคาด BI น่าจะขึ้นดอกเบี้ยฯ ราว 0.25% เป็น 5.75% ผลจากค่าเงินรูเปียห์อินโดนีเซียที่อ่อนค่า 12.25% ตั้งแต่ปลายเดือน ม.ค. 2561 เพราะ Fund flow ไหลออก กดดันให้เงินเฟ้อพุ่งขึ้นล่าสุดเดือน ส.ค. ขยายตัว 3.2% จาก 3.12% ในเดือน มิ.ย.
CK ยังคงต่อเนื่องจากงบ 3Q61 ดีมาก และต่อเนื่อง 4Q61
ใกล้สิ้นสุด 3Q61 น่าจะเป็นช่วงเข้าสู่การทำประมาณการกำไรกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ใน 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า แต่สำหรับหุ้น Real sector หรือ ภาคก่อสร้าง คาดว่าหุ้นรายตัวที่จะมีผลกำไรดี คือ CK ( FV@ B32) แม้ในช่วงกว่า 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาหุ้นได้ตอบรับข่าวบวก กรณีศาลปกครองสูงสุดตัดสินให้ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จ่ายเงินชดเชยแก่ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ (ซึ่ง BEM ถือหุ้น 99.99% และ CK ถือหุ้น BEM 31.72% จึงรับรู้รายได้แบบสัดส่วนเงินลงทุน Equity Method) ซึ่งสูญเสียรายได้ค่าผ่านทางสายบางปะอิน-ปากเกร็ด จากการก่อสร้างทางด่วนโทลล์เวย์ทับซ้อน แต่ระยะสั้นยังมีบวกเพิ่มเติมคือผลกำไรในงวด 3Q61 น่าจโดดเด่นและดีที่สุดไตรมาสหนึ่งในปีนี้ จากการถือหุ้นในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม คือ
CKP (ถือหุ้น 27.41%) ไตรมาส 3 เป็นไตรมาสที่ดีมาก เพราะเป็นช่วงฤดูฝนทำให้มีปริมาณน้ำในการผลิตไฟฟ้าได้สูงสุดของปี รับรู้รายได้ตามสัดส่วนเงินลงทุน ( Equity Method)
TTW (ถือหุ้น 19.4%) จะรับรู้รายได้ในรูปเงินปันผล 2 ครั้งต่อปีในไตรมาส 2 และ 3 โดยปันผลที่รับรู้ 2Q มาจากผลประกอบการช่วง 2H ของปีก่อนหน้า ส่วนปันผลที่รับรู้ 3Q มาจากผลประกอบการช่วง 1H ของปีปัจจุบัน แต่ละครั้ง CK จะได้ปันผลจาก TTW ประมาณ 232 ล้านบาท
แม้ปี 2561 CK ได้งานใหม่น้อย โดยตั้งแต่ต้นปีได้งานใหม่เพียง 5,131 ล้านบาท และส่วนใหญ่เป็นงานที่รับต่อจาก BEM ทำให้ Backlog ล่าสุดของ CK ลดลงเหลือเพียง 59,631 ล้านบาท แต่ยังรองรับการสร้างรายได้ช่วง 2 ปีข้างหน้า สาเหตุที่ไม่เข้าประมูลงานช่วงที่ผ่านมา เพราะเห็นว่าแข่งขันสูง และ margin ต่ำ แต่งานประมูลใหม่ๆที่กำลังจะออกมา น่าจะให้ margin ที่ดีขึ้น เพราะเป็นโครงการใหญ่ การแข่งขันน้อย โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ และสายสีส้มตะวันตก ซึ่งมีส่วนของงานใต้ดินจำนวนมาก และเป็นงานที่ CK มีความถนัด รวมถึงงานทางด่วนดาวคะนอง-พระราม 3 ในส่วนของสัญญาที่ 4 ที่มีสะพานขึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยายาว 2 กม. ที่น่าจะมีการแข่งขันต่ำเช่นกัน
กำไรกลุ่ม ธ.พ. ใน 3Q61 อ่อนตัว QoQ ขณะที่กังวลหนี้ตกชั้นมากขึ้น
คาดกำไรสุทธิ 3Q61 ของ ธ.พ.10 แห่งที่ศึกษา อยู่ที่ 5.18 หมื่นล้านบาท หดตัว 3.0% qoq (แต่ยังเพิ่มขึ้น 9.2% yoy) เป็นผลมาจากการลดลงของรายได้มิใช่ดอกเบี้ยเป็นหลักคือ ค่าธรรมเนียมฯ ที่ลดลงและรายได้พิเศษอื่นๆ ลดลง เช่น การขยายเงินลงทุน ส่วนรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ และNIM จะยังเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับคาดการณ์สินเชื่อสุทธิที่เพิ่มขึ้นทุกกลุ่ม ทั้งจากสินเชื่อรายใหญ่ รายย่อย (เช่าซื้อรถยนต์ ที่อยู่อาศัย และสินเชื่อบุคคล) และ SME ขณะที่การตั้งสำรองฯ ลดลง และ NPL ทรงตัวใกล้เคียงกับ ณ สิ้น 2Q61 ที่ 3.20% (coverage ratio ที่ 146%)
อย่างไรก็ตามเริ่มเห็นลูกหนี้สินเชื่อบางกลุ่มมีการตกชั้นจากกลุ่ม Special Mention หรือ มีอายุ 1-3 เดือน โดยเฉพาะในกลุ่มสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่ง ธปท. ได้แสดงความกังวลก่อนหน้านี้ถึงการแข่งขันกันและ นโยบายการปล่อยสินเชื่อที่หย่อนยาน สะท้อนจากสัดส่วนสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นจาก 13.3% เป็น 17.3%
ทั้งนี้หากพิจารณาคุณภาพสินเชื่อที่อยู่อาศัยของ ธ.พ.10 แห่งที่ศึกษาในปี 2555 เทียบกับ 1H61 พบว่า โอกาสที่สินเชื่อที่เป็น Special Mention Loan : SM (ค้างชำระตั้งแต่ 30 – 90 วัน) จะไหลตกชั้นเป็น NPL เพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ถึง 14.4% p.a.(CAGR) ดังนั้นเมื่อรวมสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในกลุ่ม SM ที่คาดว่าจะตกชั้น บวกกับ ยอด NPL ของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (เท่ากับนำ NPL + สินเชื่อที่มีอายุ 1-3 เดือน ที่คาดว่าจะเป็น NPL ในอนาคต) พบว่าเพิ่มขึ้นจาก 3.87% ในปี 2555 เป็น 5.4% ณ สิ้น 1H61 และ หากพิจารณาเป็นรายธนาคาร พบว่า KTB เพิ่มมากสุดที่ 7% ตามด้วย KBANK 6.75%, SCB 5.2% (ไม่รวม TISCO เนื่องจากเพิ่งซื้อพอร์ตสินเชื่อเข้ามา) ถือเป็นประเด็นเสี่ยงต่อกลุ่มธนาคาร
กลยุทธ์ลงทุน ยังเน้นไปที่ ธ.พ. ขนาดใหญ่ ที่มีคุณภาพสินทรัพย์แข็งแกร่ง ยังชอบ BBL (FV@B220) คุณภาพสินทรัพย์พ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว รวมถึง coverage ratio ระดับสูง จะช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ และ credit cost ที่ทยอยลดลงตั้งแต่ปี 2561 ขณะที่การเติบโตของธุรกิจหลักมาจากสินเชื่อรายใหญ่และ SME ที่จะได้รับผลบวกจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐและเอกชนที่ทยอยเกิดขึ้น แนะนำทยอยลงทุนเมื่อราคาอ่อนตัว
และ TCAP (FV@B65) คุณภาพสินทรัพย์ไม่น่ากังวล คาดการณ์ credit cost ปี 2561-63 อยู่ระดับต่ำต่อเนื่องที่เพียง 70bp ขณะที่ สินเชื่อ High Yield ทั้งสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และ SME กลับมาเติบโตแข็งแกร่งในปี 2561-62
ต่างชาติซื้อหุ้นกลุ่ม TIP น้อยลง และขายหุ้นไทยเป็นวันที่ 2
วานนี้ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ และไต้หวันหยุดทำการ เพราะเป็นวันไหว้พระจันทร์ ส่วนที่เหลือ ยังเปิดทำการ โดยภาพรวมแล้วพบว่า ต่างชาติซื้อสุทธิเล็กน้อย 7 ล้านเหรียญ และเป็นการขายเกือบทุกตกตลาดยกเว้น ตลาดหุ้นอินโดนีเซียเพียงแห่งเดียวที่ซื้อ 40 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) ที่เหลือขายสุทธิคือ ฟิลิปปินส์ 10 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 18) และไทยที่ต่างชาติ 22 ล้านเหรียญ หรือ 717 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิ 2.22 พันล้านบาท (หลังซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) กดดันให้ดัชนีหุ้นไทยลดลง 6.7 จุด
แม้สหรัฐยังเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย แต่ประเทศเพื่อนบ้านทยอยขึ้นดอกเบี้ยเช่นกัน เช่น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ช่วยชะลอการไหลออก และบางส่วนพักในตลาดตราสร้างหนี้ หนุนให้มียอดซื้อสุทธิในตลาดตราหนี้ไทย
ข่าวเด่น