+ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี เนื่องจากการคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐฯ ที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 4 พ.ย. 61 และคาดว่าจะทำให้การส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านปรับตัวลดลง ถึงแม้ว่าผู้ผลิตน้ำมันดิบหลักรายอื่นๆ จะปรับเพิ่มกำลังการผลิตก็ตาม
-/+ ซาอุดิอาระเบียคาดว่าจะสามารถปรับเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อชดเชยกำลังการผลิตน้ำมันดิบที่หายไปจากอิหร่าน โดยซาอุดิอาระเบียรวมทั้งประเทศในกลุ่มและนอกกลุ่มโอเปกคาดว่าจะตกลงที่จะเพิ่มกำลังการผลิตขึ้น 500,000 บาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าการปรับเพิ่มการผลิตครั้งนี้ ก็ยังไม่สามารถชดเชยกำลังการผลิตของอิหร่านที่หายไปที่ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน
- ซาอุดิอาระเบียมีความกังวลต่อปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ Shale ของสหรัฐฯ ที่จะปรับตัวเพิ่มมากขึ้นในปี 2562 ซึ่งจะก่อให้เกิดปริมาณน้ำมันดิบล้นตลาดอีกครั้ง โดยเฉพาะถ้าค่าเงินสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเกิดใหม่เกิดการชะลอตัวลง ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบปรับตัวลดลงตาม
-/+ กำลังการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในเดือน ก.ค. 61 ที่ผ่านมา โดยปรับขึ้น 269,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ระดับ 10.964 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม Baker Hughes รายงานปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ ณ วันที่ 28 ก.ค. ปรับตัวลดลง 3 แท่น
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากความต้องการน้ำมันเบนซินในสิงคโปร์ปรับตัวเพิ่มขึ้น และทำให้ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังที่สิงคโปร์ปรับตัวลดลงในช่วงระหว่างสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังทั้งในยุโรปและสิงคโปร์ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม อุปสงค์น้ำมันดีเซลในภูมิภาคก็ยังคงมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 70-75 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 81-86 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
§ ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของประเทศอิหร่านมีแนวโน้มปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังสหรัฐฯ ประกาศคว่ำบาตรในเดือน พ.ค. 61 ที่ผ่านมา
§ ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของเวเนซุเอลายังคงปรับลดลงต่อเนื่อง หลังท่าเรือขนส่งน้ำมันดิบหลักของเวเนซุเอลายังคงปิดดำเนินการอยู่
§ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้นและคาดจะส่งผลกดดันต่อเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมันของโลกอย่างต่อเนื่อง หลังสหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนในอัตราร้อยละ 10 กับสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่ารวมกว่า 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ข่าวเด่น