กลยุทธ์วันนี้ >> Energy and Laggard Play//Mid-Term Let Profit Run
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index แกว่งตัว Sideways ในแดนบวกได้ตลอดทั้งวันและปิดบวกได้ 4.06 จุด โดยกลุ่มพลังงานยังหนุนตลาดได้ต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่มนิคมฯปรับตัวขึ้นเด่นจากประเด็นเร่งลงทุนใน EEC แรงซื้อส่วนใหญ่วานนี้มาจากฝั่งบัญชีบล. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติยังซื้อสุทธิบางๆอีก 475 ลบ. (แต่กลับมา Short ใน Index Futures 2.8 พันสัญญา)
แนวโน้มตลาดวันนี้ : SET Index จะแกว่งตัว Sideways Up โดยกลุ่มพลังงานคาดว่ายังนำตลาดได้ต่อเนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่พุ่งสูงสุดในรอบเกือบ 4 ปีจากทั้งการคว่ำบาตรอิหร่านและการบรรลุข้อตกลงการค้า USMCA ขณะที่ปัจจัยในประเทศโดยเฉพาะการเมืองยังเป็นปัจจัยหนุนสำคัญ นอกจากนี้แม้ทิศทาง Dollar Index จะปรับขึ้น แต่ค่าเงินบาทกลับแข็งขึ้นเช่นกันซึ่งสะท้อนถึงความแข็งแกร่งและแนวโน้มกระแสเงินทุนที่คาดว่าจะไหลเข้าในระยะนี้ เราจึงยังคงมุมมองว่าดัชนีจะยังอยู่ในทิศทางขาขึ้นจนถึงช่วงเลือกตั้ง
กลยุทธ์ : เน้นลงทุนหุ้นกลุ่มพลังงานและ Domestic ที่ยัง Laggard //ระยะกลาง-ยาวยังเน้นถือต่อเนื่อง
หุ้นเด่นเดือนต.ค. : BDMS, CPALL, CPN, MINT, PTTGC
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$34ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้าไต้หวัน US$66 ล้าน ส่วนไทยมีเม็ดเงินไหลเข้า US$15ล้าน ขณะที่ไหลออกจากเกาหลีใต้ US$63ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลเข้าภูมิภาคหลังสหรัฐ แคนาดาและเม็กซิโก บรรลุข้อตกลงทางการค้า
ชวนเม้าท์หุ้นเด่น >> ORI <<
- แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 25.40 บาท
- ราคาหุ้นลงรับรู้ประเด็นแบงก์คุมสินเชื่อไปหมดแล้ว ซึ่งเรามองว่า ORI ถูกกระทบจำกัด เพราะเน้นตลาดกลาง-บนที่มีการปฏิเสธสินเชื่อต่ำ ในทางตรงข้าม ทิศทางดอกเบี้ยทีเริ่มขึ้นกลับหนุนยอดขายให้เร่งตัวช่วงแรก
- คาดกำไรปกติปี 2018-19 โตแกร่งที่สุดในกลุ่มเฉลี่ย 69% ต่อปี มี Backlog รองรับแล้ว 91% และ 56% ตามลำดับ และถ้าหัก Dilution จากหุ้นปันผล กำไรต่อหุ้นปี 2018-2019 ยังโตได้ 10% Y-Y และ 31% Y-Y ระยะยาวจึงมีโอกาสได้ปันผลฟรี
ประเด็นสำคัญวันนี้
(0) ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อ่อนตัวลง จากดัชนี Caixin PMI ภาคการผลิตของจีนงวด ก.ย. ที่อ่อนตัวลงแตะ 50 จุดซึ่งเป็นเส้นแบ่งระหว่างเศรษฐกิจชะลอและขยายตัว กดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์กลุ่มโลหะทั้งมีค่าและโลหะอุตสาหกรรมให้อ่อนตัวลง โดยทั้งราคาอะลูมิเนียมและเหล็กที่ทรุดตัวจะเป็นบวกต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศ เราแนะนำซื้อ PCSGH ราคาเป้าหมาย 11 บาท เพราะราคาอะลูมิเนียมลงแรงสุดในกลุ่มโลหะอุตสาหกรรม ซึ่ง PCSGH ใช้อะลูมิเนียมมากสุดในกลุ่มยานยนต์
(0) เงินบาทแข็งค่าเร่งตัวขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นภาวะที่ผิดปกติเพราะแข็งค่าท่ามกลางการปรับขึ้นของ Dollar Index ขณะที่ Yield Curve ในประเทศเริ่ม Shift ขึ้นในตัวของพันธบัตรอายุยาวกว่า 10 ปี สะท้อนทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นชัดเจน แต่การไหลเข้าของ Flow ยังชะลอทั้งตลาดตราสารหนี้และตราสารทุน ตั้งแต่เฟดปรับขึ้นดอกเบี้ย 26 ก.ย. 18 เราเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติกำลัง Reallocate ก่อนจะกลับมาลงทุนในตลาดทุนไทยอีกครั้ง เงินบาทแข็งค่าเป็นลบระยะสั้นกับกลุ่มส่งออก และบวกกับ PTTEP GULF BGRIM และ SYNEX ส่วนทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นเป็นบวกต่อกลุ่มแบงก์ใหญ่ KBANK BBL
(0) เงินเฟ้อของไทยเดือน ก.ย. เพิ่มมากกว่าคาด เงินเฟ้อทั่วไป +1.33% Y-Y (คาด +1.28% Y-Y) เงินเฟ้อพื้นฐาน +0.80% Y-Y (คาด +0.72% Y-Y) แม้เงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในกรอบเป้าหมายของ ธปท. ที่ 1-4% มาหลายเดือนแต่ถือว่าอยู่ในระดับต่ำและอาจต่ำเป็นเวลานาน เพราะมีการค้า online กันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าธปท.จะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในเดือน ธ.ค. เพื่อสกัดเงินไหลออก พยุงค่าบาท และไม่ให้ส่วนต่างดบ.ไทยกับเฟดมีมากเกินไป
(0) กลุ่มโรงพยาบาล ราคาหุ้น BCH (TP 19.30) และ CHG (TP 2.86) ปรับลงแรง 5% วานนี้คาดว่าเกิดจากราคาหุ้นที่เริ่มเต็มมูลค่าและสะท้อนการเติบโตปี 2018 ไปแล้ว ในขณะที่ EKH (TP 7) เริ่มปรับตัวขึ้นได้ดีสอดคล้องกับการเติบโตของกำไร 3Q18 ที่จะโตเด่นและเป็น Top Pick ของโรงพยาบาลขนาดเล็ก อย่างไรก็ตามยังมีหุ้นโรงพยาบาลที่ยัง Laggard กลุ่มอยู่คือ BDMS ซึ่งเราคาดว่ามีโอกาสที่จะ Outperform ได้ในเดือน ต.ค. และเป็น 1 ใน 5 หุ้นเด่นของ Momentum เดือน ต.ค. แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 29 บาท
(+) CMAN เป็น 1 ใน 2 หุ้น IPO ปีนี้ที่ราคายังต่ำกว่าราคาจอง (มี CMAN และ ABM) เรายังชอบ CMAN และมองเป็นโอกาสซื้อสำหรับนักลงทุนที่หาหุ้น laggard เพื่อรับผลประกอบการ 2H18 ที่จะโดดเด่นมาก จากฐานต่ำและคำสั่งซื้อปูนไลม์ทำสถิติสูงสุดใหม่ ขณะที่ Valuation ตอนนี้ไม่แพง PBV 1.4 เท่า และ PE เพียง 12-15 เท่า ต่ำกว่า SUTHA ที่ 20 เท่า โดยเราคาดกำไร 3Q18 +200% Y-Y และทั้งปีคาด +86% Y-Y แตะ 200 ลบ.ครั้งแรก เพราะผลผลิตน้ำตาลออกมามาก ราคาเป้าหมายของเราที่ 3.80 บาท ยังมี upside 14% แถมปันผลอีก 5% ต่อปี
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
2 ต.ค.
|
- ออสเตรเลีย: ประชุมธนาคารกลาง ตลาดคาดคงดอกเบี้ย 1.5%
|
3 ต.ค.
|
- สหรัฐฯ: ยอดจ้างงานภาคเอกชน (ก.ย.)
- ยูโรโซน: PMI ภาคการผลิต (ก.ย.)
|
5 ต.ค.
|
- สหรัฐฯ: ดุลการค้า (ส.ค.) ยอดจ้างงานนอกภาคเกษตร (ก.ย.)
|
11 ต.ค.
|
- สหรัฐฯ: อัตราเงินเฟ้อ (ก.ย.)
|
(+) ตลาดสหรัฐปรับตัวขึ้น หลังสหรัฐสามารถบรรลุข้อตกลงทางการค้ากับแคนนาดาได้ในที่สุด ส่งผลให้สัญญาการค้า NAFTA ที่มีมากว่า 25 ปียังคงดำเนินต่อไปได้
(0) ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวผสมผสาน แม้จะมีข่าวดีจากสหรัฐ แต่ตลาดก็ยังคงกังวลกับปัญหาหนี้สินในอิตาลี
(-) ตลาดเอเชียเช้านี้ปรับตัวลง โดยความกังวลหลักยังคงมาจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่แพงขึ้น, เงินเฟ้อและการอ่อนค่าลงของค่าเงิน
(-) ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 32.30 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน พ.ย. พุ่งขึ้น 2.05 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 75.30 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งถือเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบเกือบ 4 ปี โดยราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นมาจากความกังวลเรื่อง Supply จากทางอิหร่านที่ลดลง
(+) ค่าการกลั่นสิงคโปร์ปรับตัวขึ้น +6.9% ล่าสุดเคลื่อนไหวอยู่ที่ 6.19 ดอลลาร์/บาร์เรล
() ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค. ลดลง 4.50 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 1191.70 ดอลลาร์/ออนซ์
ข่าวเด่น