คำแนะนำ
หากราคายืนเหนือ 1,196-1,188 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แนะนำเปิดสถานะซื้อ(ตัดขาดทุนหากหลุด1,188 ดอลลาร์ต่อออนซ์) ขณะที่หากราคากลับขึ้นไปยืนเหนือ 1,214 ดอลลาร์ต่อออนซ์ การถือสถานะขายต้องเพิ่มความระมัดระวัง
แนวรับ-แนวต้าน
แนวรับ 1,196 1,188 1,180
แนวต้าน 1,214 1,225 1,236
ปัจจัยพื้นฐาน
ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวลดลง 6.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จากการที่นักลงทุนคลายความวิตกเกี่ยวกับสถานการณ์ในอิตาลี หลังรัฐบาลอิตาลีวางแผนลดสัดส่วนระหว่างสัดส่วนหนี้สินต่อจีดีพีลงสู่ 2.2% ของ GDP ในปี 2020 และสู่ 2% ในปี 2021 ส่งผลให้นักลงทุนกลับเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นซึ่งทำให้ทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยถูกลดความน่าสนใจลง ขณะเดียวกันราคาทองคำกลับมาอยู่ภายใต้แรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์อีกครั้ง หลังการจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐจาก ADP เพิ่มขึ้นถึง 230,000 ตำแหน่งในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. นอกจากนี้ดัชนีภาคบริการของสหรัฐจาก ISM ยังพุ่งขึ้นเกินคาดสู่ระดับ 61.6 ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ที่มีการสร้างดัชนีดังกล่าวในปี 2008 อีกด้วย ตัวเลขเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐยังคงตอกย้ำแผนการเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนดอลลาร์และกดดันราคาทองคำ ด้านกองทุน SPDR ลดการถือครองทองคำลงวานนี้อีก -6.18 ตันสู่ระดับ 731.64 ตันซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.ปี 2016 ทำให้นับตั้งแต่ต้นปี SPDR ลดการถือครองทองคำลงแล้ว -105.86 ตัน สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์และยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค
หากราคาทองคำสามารถทรงตัวเหนือแนวรับแรกบริเวณ 1,196 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ อาจเกิดแรงซื้อพยุงราคาไว้ซึ่งอาจทำให้ราคาทองคำยังคงค่อยๆปรับตัวขึ้นและทรงตัวในระดับสูง และหากราคายืนเหนือระดับสูงสุดของวันก่อนหน้าได้ ทำให้ราคายังคงมีโอกาสขยับขึ้นเพื่อทดสอบแนวต้านบริเวณ 1,214 ดอลลาร์ต่อออนซ์
กลยุทธ์การลงทุน GOLD SPOT & GOLD FUTURES
พิจารณาเปิดสถานะซื้อหากราคาอ่อนตัวลงในโซน 1,196-1,188 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยลดความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนหากราคาหลุด 1,188 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่หากราคากลับขึ้นไปยืนเหนือ 1,214 ดอลลาร์ต่อออนซ์ การถือสถานะขายต้องเพิ่มความระมัดระวัง
ข่าวเด่น