บล.ไอร่า มองทิศทางตลาดหุ้นวันนี้ (8 ต.ค.61) “ผันผวน ตามตลาดต่างประเทศที่ไร้ทิศทาง”ขณะที่คาดยังถูกกดดันจากปัจจัยเดิมทั้งในประเทศและต่างประเทศ
(1) หุ้นกลุ่มพลังงาน คาด +/- ตามราคาน้ำมัน ภายใต้ความไม่แน่นอนต่อประเด็นที่ประเทศผู้ผลิตน้ำมัน (ซาอุฯ และรัสเซีย) มีแผนปรับเพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อชดเชยการผลิตน้ำมันจากอิหร่านที่ลดลง หลังได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามระดับราคาน้ำมันยังทรงตัวในระดับสูง เฉลี่ยทั้ง 3 ตลาด (WTI, Brent และ Dubai) ที่ 74 - 84 USD/barrel และ
(2) ธปท. มีการปรับปรุงเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยกำหนดเงินดาวน์ขั้นต่ำ สำหรับการกู้หลังที่ 2 ขึ้นไป หรือ ที่อยู่อาศัยที่มีมูลค่า 10 ล้านบาท ขึ้นไป ซึ่งต้องดาวน์อย่างน้อย 20%ของมูลค่าหลักประกัน (LVT limit 80%) และปรับเกณฑ์การนับสินเชื่อ Top-up ที่ใช้หลักประกันเดียวกัน ซึ่งจะเปิดรับฟังความเห็นถึง 22/10/61 และคาดบังคับใช้ตั้งแต่ 1/1/62 เป็นต้นไป ภาพรวมคาดเป็น Sentiment ลบ ต่อกลุ่มธนาคาร และกลุ่มอสังหาฯ
ขณะที่เริ่มเข้าสู่ช่วงประกาศผลประกอบการ – 3Q/61 เริ่มจากกลุ่มธนาคารประมาณกลางเดือนนี้ หลังจากนั้นเป็นกลุ่ม Real Sector คาดมีแรงเก็งกำไรต่อเนื่องกลางเดือนพ.ย. ส่วนประเด็นทางการเมือง คาดมีความชัดเจนมากขึ้นตามลำดับ คาดช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ อย่างไรก็ตามล่าสุด Fund Flow ยังมีความผันผวนแรงซื้อขายต่างชาติสลับกัน ขณะที่ YTD ยังขายสุทธิสะสม สูงเกือบ 220,000 ล้านบาท หรือประมาณ 7,000 ล้านนUSD คาดบางส่วนพักตัวอยู่ในตลาดพันธบัตร ซึ่งYTD ต่างชาติซื้อสุทธิสะสม ประมาณ 7,200 ล้านUSD
ส่วนประเด็นต่างประเทศ คาดยังมีความไม่แน่นอนและอาจสร้างผันผวนให้กับภาพรวมตลาด ทั้งสถานการณ์การค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน หลังมีการเรียกเก็บสินค้าระหว่างกันต่อเนื่องจาก ก.ค. - ก.ย. พร้อมกับความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน วงเงินเพิ่มอีกประมาณ 267,000 ล้านUSD หลังสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้า อัตรา 10% วงเงิน 200,000 ล้านUSD เมื่อ 24/9/61 และเพิ่มเป็น 25%ต้นปี’62 ขณะที่จีนตอบโต้ด้วยการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ อัตรา 10%วงเงิน 60,000 ล้านUSD ในวันเดียวกัน รวมถึงประเด็นอัตราดอกเบี้ย โดยประธานเฟด ส่งสัญญาณต่อเนื่องว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ภายใต้เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มแข็งแกร่ง พร้อมจับตา Bond Yiled สหรัฐฯ ที่ปรับขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดอายุ 10 ปี ขึ้นไปสู่ระดับ 3.23% สูงสุดในรอบเกือบ 7 ปี ซึ่งอาจกลับมากดดันการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงตลาดหุ้น พร้อมค่าเงินกลุ่ม Emerging Market ภายใต้ความกังวล (1) ขาดดุลการค้าและบัญชีเดินสะพัด (2) ภาระหนี้ต่างประเทศ และ (3) เงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ
อย่างไรก็ตามคาดได้รับ Sentiment บวกเข้ามาบ้างจากล่าสุด ธนาคารกลางจีน (PBOC) ปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลง 1% มีผลตั้งแต่วันที่ 15/10/61 คาดช่วยเพิ่มสภาพคล่องและลดต้นทุนในตลาดเงิน
นอกจากนี้ยังแนะติดตามความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน ที่อาจมีความขัดแย้งเพิ่มขึ้น ล่าสุด ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) หรือศาลโลก วินิจฉัยต่อประเด็นที่สหรัฐฯ ออกมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน หลังถอนตัวจากข้อตกลงอิหร่านเมื่อ พ.ค. เป็นการละเมิดเงื่อนไขในสนธิสัญญาดังกล่าว ขณะที่สหรัฐฯ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลโลก
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVLเป็นต้น
(2) กลุ่มธนาคาร จะฟื้นตัวตามเศรษฐกิจไทย เช่น BBL, KTB
(3) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูง เช่น PTT, PTTEP และค่าการกลั่นฟื้นตัว เช่น TOP
(4) กลุ่มขนส่ง ค่าระวางเรือในระดับสูง ส่งผลดีต่อ PSL
(5) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี +0.03 อยู่ที่ 3.23% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +0.60 อยู่ที่ 14.82
หุ้นแนะนำ : TKN
หุ้นแนะนำ
TKN : คาด 2H/61 เติบโตดีกว่า 1H/61 และคาดทั้งปี’61 กำไรสุทธิ กลับมาเติบโต 26%
แนวโน้ม 2H61 เติบโตดี จากการเข้าสู่ช่วง High Season ของธุรกิจ ภายใต้ยอดขายส่งออกปัจจุบันมีสัดส่วนสูงถึง 61% จากยอดขายรวม ซึ่งคาดยังเติบโตแข็งแกร่งต่อเนื่อง หลังเพิ่มขึ้นกว่า 22% เมื่อ 1Q61 และ 15% เมื่อปี’60 โดยเฉพาะยอดขายในจีน ที่ TKN เน้นทำการตลาดมากขึ้น และล่าสุดสัดส่วนอยู่ที่ 42% ของยอดขายรวม เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจาก 37% และ 40% เมื่อปี’59 และ 60 ตามลำดับ
TKN ได้ประโยชน์จากการเริ่มต้นใช้วัตถุดิบสาหร่าย Lot ใหม่ที่มีราคาถูกลงตั้งแต่กลาง 2Q61 คาดช่วย
อัตรากำไรขั้นต้นมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น หลัง 2Q60 - 1Q61 ถูกกดดันอย่างหนักจากต้นทุนสาหร่ายที่สูงขึ้น นอกจากนี้ Utilization Rate ของโรงงานใหม่ปรับตัวดีขึ้น คาดช่วยลดต้นทุนต่อหน่วยลง ประกอบกับโรงงานแห่งใหม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี (BOI) ส่งผลดีต่ออัตราภาษีเงินได้ของ TKN คาดกำไรสุทธิปี’61 อยู่ที่ 765 ล้านบาท กลับมาเติบโต 26% หลังลดลง 22%เมื่อปี’60 พร้อมคาดเงินปันผล 0.44 บาท หรือคิดเป็น Div. Yield ประมาณ 3.0% ประเมินราคาเป้าหมายที่ 19.50 บาท
ข่าวเด่น