บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นประจำวันที่ 16/10/61
กลยุทธ์การลงทุน
คาดว่า SET ยังผันผวน และต่ำกว่า 1700 จุด โดยมีแรงกดดันเดิมๆ คือ เศรษฐกิจโลกกับผลกระทบสงครามการค้า Fund Flow ไหลออก และแรงขายรับงบ ธ.พ. (ประกาศแล้ว TISCO, LHFG) แต่ยังมีประเด็นบวก จากความคืบหน้าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรองรับ EEC ล้วนหนุน BGRIM/ EASTW Top Picks BGRIM(FV@B32) และ GLOW(FV@B95.5) ซึ่งราคาหุ้นมี upside หลัง GPSC ยกเลิกการทำ Tender offer เพราะ กกพ. ไม่อนุญาต
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …. ดัชนียังคงซื้อขายต่ำกว่า 1700 จุด
วันศุกร์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยฟื้นตัว ขึ้นไปทดสอบบริเวณ 1700 จุด แต่ปิดตลาดที่ 1696.16 จุด เพิ่มขึ้น 13.27 จุด หรือ 0.79% แต่มูลค่าการซื้อขายเบาบางเพียง 3.96 หมื่นล้านบาท แรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มพลังงาน PTT PTTEP ปรับตัวขึ้น 1% และ 1.4% ตามลำดับ สวนทางราคาน้ำมันดิบโลกที่ย่อตัว หลัง EIA รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นมากกว่าคาด ส่วนกลุ่ม ธ.พ. หุ้นขนาดใหญ่ (SCB KTB BBL) มีแรงซื้อเข้ามาเก็งงบ 3Q61 ที่กำลังจะทยอยประกาศ ขณะที่ TISCO (-0.6%) เผชิญแรงขายรับงบ 3Q61 ที่กำไรเติบโตเด่น 6.2% qoq และ 15.4% yoy จากการขายเงินลงทุนและขายพอร์ตบัตรเครดิต
แนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ คาดดัชนียังผันผวนและต่ำกว่า 1700 จุด เพราะขาดแรงหนุน ขณะที่ยังมีแรงฉุด ทั้งสงครามการค้า fund flow ไหลออก และแรงขายรับงบ 3Q61 แต่ยังคงมีปัจจัยหนุนจากความคืบหน้าโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน EEC ล้วนบวกต่อผู้ให้บริการอย่าง BGRIM, EASTW
IMF ยังมีโอกาสตัด GDP Growth โลก หากสหรัฐขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนอีกครั้ง
แรงกดดันสงครามการค้าสหรัฐ-จีน อาจลดลงในช่วงสั้น ๆ หลัง IMF มีการปรับลด GDP Growth โลก สะท้อน ที่สหรัฐขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนไปแล้ว 3 รอบวงเงินรวม 2.5 แสนล้านเหรียญฯ ขณะที่จีนตอบโต้เพียง 1.1 แสนล้านเหรียญฯ คาดว่าอาจจะเห็นการปรับลด GDP Growth โลกอีกครั้ง หากสหรัฐเดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้าอีกครั้งเพื่อให้ครบวงเงิน 5 แสนล้านเหรียญฯ เท่ากับที่สหรัฐขาดดุลการค้ากับจีน อย่างไรก็ตามก่อนจะมีการขึ้นภาษีรอบใหม่ ตลาดคาดหวังทั้ง 2 ประเทศ น่าจะหาข้อสรุปกันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการประชุมครั้งใหญ่ G-20 ช่วง 30 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2561 ที่ประเทศอาร์เจนติน่า โดยเชื่อว่าสหรัฐน่าจะเร่งขึ้นภาษีนำเข้าให้เกิดขึ้นภายในปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจของสหรัฐยังแข็งแรง ประเด็นนี้จึงยังคงกดดันตลาดหุ้นโลกในระยะถัดไป
ขณะที่ราคาน้ำมันดิบโลกยังผันผวน ความต้องการใช้น้ำมันโลกมีแนวโน้มชะลอจากผลกระทบของสงครามการค้าที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งสหรัฐเป็นบริโภคน้ำมันสูงสุดของโลกราว 24.9 ล้านบาร์เรล/วัน หรือคิดเป็น 25.5% ของการบริโภคน้ำมันทั่วโลก และจีนอันดับ 2 ราว 12.5 ล้านบาร์เรล/วัน หรือ 12.8% แต่ยังถูกหักล้างจากปัญหาด้าน Supply จำกัด ทั้งการควบคุมการผลิตน้ำมันดิบโลกจนถึงสิ้นปี และ Supply ที่หายไปจากอิหร่านราววันละ 5-6 แสนบาร์เรลต่อวัน หลังสหรัฐคว่ำบาตรทางการค้าตั้งแต่ มิ.ย. (มีผลบังคับใช้ 4 พ.ย.) และล่าสุดมีความตึงเครียดระหว่างสหรัฐและซาอุดีอาระเบีย หลังจากนักข่าวชาวซาอุฯ ที่เขียนวิพากวิจารณ์รัฐบาลซาอุฯ และได้ลี้ภัยไปสหรัฐ แต่ได้หายสาบสูญ อาจจะเป็นประเด็นที่สหรัฐจะคว่ำบาตรการค้าซาอุฯ อีกประเทศ (ซาอุฯ ผลิตน้ำมันราว 32.1% ของกำลังการผลิตทั้งใน OPEC ) ซึ่งน่าจะทำให้ราคาน้ำมันดูไบยังคงแกว่งตัวในกรอบ 75-80 เหรียญฯ
ขณะที่ราคาหุ้นน้ำมันทั้ง PTTEP(FV’62@B 161) , PTT(FV@B54) ได้สะท้อนราคาน้ำมันที่สูงและแม้จะใช้ Fair Value หุ้นปี 2562 พบว่ามี upside จำกัด ยังคงแนะนำ Switch โดย ASPS คงสมมติฐานราคาน้ำมันดิบปี 2562 70 เหรียญฯ และ 75 เหรียญฯ ในปี 2563 เป็นต้นไป
แรงขายรับงบ 3Q61 ยังมีให้เห็นหลังประกาศ TISCO/LHFG
หลังจากประกาศงบ TISCO เป็นแห่งแรก ซึ่งมีกำไรจากการดำเนินงาน 1.81 พันล้านบาท เติบโตถึง 6.2% qoq และ 15.4% yoy และสูงกว่าคาด ขณะที่แนวโน้มปี 2562 คาดสินเชื่อยังเติบโตทั้ง ทะเบียนรถ(สัดส่วน 11%) เช่าซื้อรถยนต์ (สัดส่วน 52%) และสินเชื่อธุรกิจ (สัดส่วน 20%) ขณะที่ NIM น่าว่าจะอ่อนตัวลงบ้างจากต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตามในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น มีโอกาสที่จะปรับเพิ่มดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์
ภาพรวมของธุรกิจที่แข็งแกร่งเกินคาด จึงปรับเพิ่มประมาณการฯปี 2561-62 ขึ้นเฉลี่ย 5% จากเดิม ส่วนใหญ่เป็นผลบวกจากการปรับเพิ่มสมมติฐาน NIM ที่ประเมินต่ำไปมาก ส่งผลให้กำไรสุทธิปี 2561-62 เติบโต 11.9% yoy และ 9.0% yoy ขณะที่ราคาหุ้นผ่านการปรับฐานไปมากแล้ว บวกกับปันผลที่สูงถึง 6-7% p.a. จึงมีการปรับไปใช้ Fair Value ปี 2562 ที่ 95.80 บาท เพิ่มคำแนะนำเป็นซื้อ (เดิม switch)
ตามมาด้วย LHFG กำไรสุทธิออกมาต่ำกว่าคาด 4% (ลดลง 3.4% qoq แต่เพิ่มขึ้น 16.2% yoy) ผลจากบันทึกขาดทุนจากเงินลงทุน แต่หากไม่รวมรายการดังกล่าว ผลการดำเนินงานปกติเป็นไปตามคาด คือเติบโต 3.9%qoq และ 8.3%yoy แม้สินเชื่อสุทธิเติบโตเกินคาด แต่เป็นสินเชื่อรายใหญ่ (Corporate Banking ประเภท trade finance แก่ลูกค้าไทยที่ไปลงทุนต่างประเทศ และลูกค้าสัญชาติไต้หวันที่เข้ามาลงทุนในไทย) ส่งผลให้ NIM อยู่ที่ 2.09% ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 2.11% และ cost to income ratio เพิ่มขึ้นเป็น 40.4% จาก 38.7% ใน 2Q61 เนื่องจากฐานรายได้ลดลง ทางฝั่งของคุณภาพสินทรัพย์นั้น NPL ถือว่าใกล้เคียงกับงวดก่อนหน้าที่ 1.97% และ credit cost ลดลง สอดคล้องกับกำไรจากเงินลงทุนที่ลดลง (เพื่อบริหารกำไร) ส่งผลให้ coverage ratio ลดลงเช่นกัน
ทั้งนี้ กำไรสุทธิใน 9M61 คิดเป็น 84% ของประมาณการฯ เดิม จึงปรับเพิ่มประมาณการฯ ปี 2561-62 ขึ้น 10.5% และ 3.4% จากเดิม ภายหลังเพิ่มประมาณการ คาดกำไรสุทธิปี 2561-62 เติบโต 18.6% yoy และ 2.1% yoy และ Fair Value ปี 2562 อยู่ที่ 1.80 บาท จึงคงคำแนะนำ ซื้อ
ส่วน ธ.พ. แห่งอื่นๆ คาดจะรายงานงบเสร็จสิ้นในวันที่ 17-18 ต.ค. นี้ จึงเชื่อว่าน่าจะยังเกิด Sell on Fact ในหุ้นกลุ่ม ธ.พ. ในระยะนี้ ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยคาดกำไรสุทธิ 3Q61 ของ ธ.พ.10 แห่งที่ศึกษา เท่ากับ 5.18 หมื่นล้านบาท หดตัว 3.0% qoq (แต่ยังเพิ่มขึ้น 9.2% yoy) และยังแนะนำ BBL(FV ปี 2561 -62 เท่ากับ 220 บาท และ 233 บาท) และ TCAP (FV ปี 2561 -62 เท่ากับ 65 บาท และ 70 บาท)
ต่างชาติเดินหน้าขายหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่อง
วันจันทร์ นักลงทุนต่างชาติยังขายสุทธิตลาดเอเชีย ต่อเนื่องเป็นวันที่ 10 ด้วยมูลค่าสูงถึง 754 ล้านเหรียญ โดยเป็นการขาย 3 ประเทศ ยกเว้นอินโดนีเซียสลับมาซื้อสุทธิ และตลาดหุ้นไทยปิดทำการ กล่าวคืออินโดนีเซียซื้อ 22 ล้านเหรียญ (หลังจากขายติดต่อกัน 9 วัน) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 แห่ง ต่างชาติยังคงขายสุทธิ นำโดยไต้หวัน 646 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 9), เกาหลีใต้ 117 ล้านเหรียญ (หลังซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) และฟิลิปปินส์ 14 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่อง 33 วัน)
ส่วนวันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นในภูมิภาคยังมีแรงขายจากต่างชาติกดดันต่อเนื่อง มูลค่า 253 ล้านเหรียญ เป็นการขายสุทธิในตลาดหุ้นทุกแห่งยกเว้นเกาหลีใต้ ที่สลับมาซื้อเพียง 83 ล้านเหรียญ โดย ตลาดหุ้นที่เหลืออีก 4 แห่ง ถูกขายสุทธิทุกแห่ง นำโดย ไต้หวัน 133 ล้านเหรียญ, อินโดนิเซีย 79 ล้านเหรียญ, ฟิลิปปินส์ 13 ล้านเหรียญ และไทยขายสุทธิ 111 ล้านเหรียญ หรือ 3.65 พันล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 9) ตรงข้ามกับสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 4.7 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4)
Bond Yield สหรัฐฯ ที่ขยับแกว่งตัวบริเวณ 3.16% ยังกดดันให้ต่างชาติลดพอร์ตการลงทุนดังกล่าวข้างต้น ขณะที่ Bond Yield 10 ปี ของไทย แกว่งทรงตัวอยู่ที่ 2.85% ยังน้อยกว่าสหรัฐฯ แต่มีโอกาสเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หาก ธปท. ปรับดอกเบี้ยขึ้นในช่วงปลายปีนี้
ข่าวเด่น