บมจ.ไทยออยล์ วิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันประจำวัน ประจำวันศุกร์ที่ 23พ.ย.61
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง หลังปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ แตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 1 ปี
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง หลังปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 60 ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดเกิดความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากข่าวการหารือของกลุ่มโอเปกที่จะปรับลดกำลังการผลิตในปีหน้าลงราว 1-1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับการผลิตเดือน ต.ค. 61 ในการประชุมกลุ่มโอเปกวันที่ 6 ธ.ค. นี้
- สํานักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรฐั ฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 16 พ.ย. 2561 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.9 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 446.9 ล้านบาร์เรล แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 60 นอกจากนี้ ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ ยังคงแตะระดับสูงสุดในประวัติการณ์ที่ 11.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน
+/- แม้ว่าผู้ผลิตกลุ่มโอเปกจะกำลังพิจารณาในการปรับลดกำลังการผลิตลง แต่ผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกอย่างรัสเซียยังไม่มีทีท่าว่าจะเข้าร่วมการปรับลดกำลังการผลิตแต่อย่างใด ซึ่งถือเป็นการสร้างความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก
+ คาดการณ์ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบจากอิหร่านในเดือน พ.ย. ปรับตัวลดลง และมีแนวโน้มแตะระดับ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากผู้ซื้อน้ำมันดิบได้ทำการซื้อน้ำมันดิบไว้ล่วงหน้า ก่อนที่สหรัฐฯ จะผ่อนปรนให้ทั้ง 8 ประเทศยังสามารถนำเข้าน้ำมันมันดิบจากอิหร่านได้อีก 180 วัน
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานน้ำมันเบนซินล้นตลาด นอกจากนี้ โรงกลั่นน้ำมันแห่งหนึ่งในจีนยังเตรียมที่จะเพิ่มปริมาณการส่งออกในเดือน พ.ย.
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังอุปสงค์ปรับตัวลดลง ขณะที่อุปทานในภูมิภาคยังคงอยู่ในระดับสูง
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
O ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 51-56 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
O ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 61-66 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
-จับตาความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกว่าจะมีการปรับลดกำลังการผลิตหรือไม่ หลังแหล่งข่าวเผยว่าผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกมีการพูดคุยเกี่ยวกับการลดกำลังการผลิตของปี 62 ลงสูงสุดถึง 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับการผลิตในเดือนต.ค. 61 โดยข้อตกลงที่จะปรับลดกำลังการผลิตจะมีการพิจารณาในการประชุมวันที่ 6 ธ.ค. 61
-ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านในเดือนพ.ย. 61 คาดว่าจะปรับตัวลดลง ถึงแม้ว่าสหรัฐฯ จะประกาศผ่อนผันให้ 8 ประเทศสามารถนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านได้ โดยในสองสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่าไม่มีการส่งออกน้ำมันจากอิหร่าน เนื่องจากได้มีการวางแผนซื้อน้ำมันดิบล่วงหน้าก่อนการประกาศผ่อนผัน
-ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดว่าจะเริ่มปรับลดลง หลังโรงกลั่นส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ กลับมาจากการปิดซ่อมบำรุง
ข่าวเด่น