ประชาชน 96.9% ยืนยันจะออกไปสิทธิใช้เสียงในการเลือกตั้งครั้งนี้
55.9 % จะตัดสินจากนโยบายที่ใช้ในการหาเสียง
39.7% จะดูจากความรู้ความสามารถมีวิสัยทัศน์
39.3% ดูจากผลงานในอดีต
จากการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติให้วันที่ 24 มีนาคม 2562 เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เป็นการทั่วไปกรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “โค้งสุดท้ายส.ส.แบบไหนคนไทยจะเลือก”โดยเก็บข้อมูลประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,794 คน พบว่า
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 96.9 ระบุว่าตั้งใจว่าจะไปเลือกตั้ง มีเพียงร้อยละ 1.6 เท่านั้นที่ระบุว่า ตั้งใจว่าจะไม่ไป ที่เหลือร้อยละ 1.5 ระบุว่ายังไม่แน่ใจ
สำหรับปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง/ส.ส. เข้ามาบริหารประเทศนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 55.9 ระบุว่าตัดสินจากนโยบายที่ใช้ในการหาเสียง รองลงมาร้อยละ 39.7ระบุว่าดูจากความรู้ความสามารถวิสัยทัศน์ก้าวไกล ร้อยละ 39.3 ระบุว่าดูจากผลงานในอดีต ร้อยละ 38.7 ระบุว่าต้องไม่มีประวัติด่างพร้อยด้านการทุจริต และร้อยละ 35.9 ระบุว่าเป็นคนทำงานช่วยเหลือชุมชนแก้ปัญหาชุมชน
1. ความเห็นต่อการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งส.ส. ในวันที่24 มี.ค. 62
ตั้งใจว่าจะไป 96.9%
ตั้งใจว่าจะไม่ไป
โดยให้เหตุผลว่า เรียน ทำงาน ติดธุระ 0.8%
ไม่มีใครน่าสนใจ 0.2%
เบื่อหน่ายการเมือง 0.1%
เลือกไปก็ไม่เห็นทำประโยชน์ให้เลย 0.1%
อื่นๆ 0.4%
ไม่แน่ใจ 1.5%
2. ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง/ส.ส. เข้ามาบริหารประเทศ
นโยบายที่ใช้ในการหาเสียง 55.9%
มีความรู้ความสามารถ วิสัยทัศน์ก้าวไกล 39.7%
ดูจากผลงานในอดีต 39.3%
ไม่มีประวัติด่างพร้อยด้านการทุจริต 38.7%
ทำงานช่วยเหลือชุมชน แก้ปัญหาชุมชน 35.9%
การเสนอชื่อผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี 26.6%
คนรุ่นใหม่ไฟแรง 21.3%
ส.ส. เก่า เป็นคนในพื้นที่ 20.5%
พรรคการเมืองใหญ่ 10.4%
คนดังมีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก 4.3%
ข่าวเด่น