สรุปภาวะตลาดวันก่อน : SET +4.40 จุด คาดหวังเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีนคืบหน้า
SET แกว่งแดนบวกตลอดทั้งวันในกรอบ 1635-44 ปรับขึ้น 2 วันติด สอดคล้องกับทิศทางตลาดหุ้นตปท.-ภูมิภาค รับความหวังเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีนคืบหน้า และตลาดบอนด์เริ่มมีเสถียรภาพ (10Y US Bond Yield ดีดขึ้น 3 bps จากจุดต่ำรอบ 15 เดือน) ต่างชาติซื้อสุทธิ 1.32 พันลบ. 2 วันติด และพลิก Short S50 Futures 4,518 สัญญา ?
ทิศทางตลาดวันนี้ : ไต่ขึ้น รับความหวังเจรจาการค้า, PMI จีนพลิกสู่ภาวะขยายตัว
หุ้นโลกวันศุกร์ (29 มี.ค.) ปรับขึ้นเกือบ 1% ขานรับความคืบหน้าในการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน และการเปิดเผยข้อมูลศก.เชิงบวกของสหรัฐฯ (ตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภค และยอดขายบ้านใหม่) ช่วยคลายความกังวลศก.ชะลอตัว ด้านราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้น 84 เซนต์ ปิดยืนระดับ 60 $/บาร์เรล จากการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่ม OPEC+ และสหรัฐฯ คว่ำบาตรการส่งออกของอิหร่านและเวเนซุเอลา ส่วนประเด็น Brexit ยังคาราคาซัง โดยรัฐสภาอังกฤษมีมติด้วยคะแนนเสียง 344 ต่อ 286 เสียง คว่ำข้อตกลง Brexit เป็นครั้งที่ 3 ทำให้ EU ระบุว่าขณะนี้มีแนวโน้มที่อังกฤษจะแยกตัวออกจาก EU ใน 12 เม.ย.โดยไม่มีข้อตกลง ทั้งนี้รัฐสภาจะมีการประชุมต่อในต้นสัปดาห์นี้ เพื่อหาทางออกอีกครั้ง ขณะที่ผู้นำ EU จะจัดการประชุมในวันที่ 10 เม.ย.เพื่อหารือเกี่ยวกับ Brexit มอง SET มีแนวโน้มไต่ขึ้นต่อ นลท.เริ่มคลายกังวลศก. หลังตัวเลขศก.สหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด, ความคืบหน้าการเจรจาการค้า และล่าสุดทางการจีนเปิดเผย PMI ภาคการผลิตพลิกกลับมาสู่ภาวะขยายตัว โดยปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 50.5 ใน มี.ค. จาก 49.2 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นจุดต่ำในรอบ 3 ปี ผสานกับ MSCI เปลี่ยนกฎนำ NVDR เข้ารวมคำนวณ คาดจะทำให้หุ้นไทยได้รับการเพิ่มน้ำหนักจาก 2.5% เป็น 3.0% คาดมีเม็ดเงินไหลเข้าราว 5-6 หมื่นลบ. สัปดาห์นี้ แนะติดตาม 1. จีนเยือนสหรัฐฯ เพื่อเจรจาการค้า 2. ตัวเลข PMI ภาคการผลิตทั่วโลก 3.จ้างงานและยอดค้าปลีกสหรัฐฯ 4. ประเด็น Brexit แนวรับ 1635 แนวต้าน 1646, 1650-52 ?
กลยุทธ์การลงทุน : มอง SET ลงเพื่อขึ้น เป็นจังหวะสะสม, ใช้ 1625 เป็น Stop
มอง SET อ่อนตัวเป็นจังหวะในการทยอยสะสม, พอร์ตเทรดดิ้งใช้ SET ปิดต่ำกว่า 1625 เป็นจุด Stop / พอร์ตลงทุนรอบ 1-2 เดือน ถือทนแกว่ง จาก MSCI เพิ่มน้ำหนักหุ้นไทยจากการนำ NVDR เข้าคำนวณ และการจัดตั้งรัฐบาลที่คาดว่าจะเห็นภาพชัดขึ้นในระยะถัดไป
• ประเด็นหุ้นน่าสนใจ Fundamental Pick LH – เป็นหนึ่งในหุ้น 10 อันดับแรกที่คาดว่าจะได้รับการปรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากสุดจาก MSCI เปลี่ยนแปลงกฎใหม่นำ NVDR เข้ามารวมคำนวณ แต่ราคายังปรับขึ้นช้า (Laggard), มีปันผล 0.35 บ./หุ้น XD 3 พ.ค. คิดเป็น Div. Yield 3.3% รออยู่, บ.ตั้งเป้ายอดจองปีนี้ 3.3 หมื่นลบ. เพิ่มขึ้น 12% YoY, เป้าพื้นฐาน 12.5 บ. / หุ้นคาดได้ประโยชน์จาก MSCI เปลี่ยนกฎใหม่ – SCC, BDMS, INTUCH, CPN, RATCH, LH, BANPU, CENTEL, DTAC / หุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากนโยบายหาเสียงของทุกพรรคการเมือง ไม่ว่าจะได้ร่วมเป็นรัฐบาลหรือไม่ก็ตาม ด้านการบริโภค CPALL, BJC, CPN, AEONTS, RS ด้านการลงทุน AMATA, WHA, STEC, SEAFCO, BTS, BEM / เราคาดกลุ่มแบงก์มีกำไรรวม 1Q19F ลดลง 2% YoY แต่เพิ่มขึ้น 24% QoQ โดย BAY จะมีกำไรโตโดดเด่นสุดเนื่องจากมีรายการขายเงินลงทุน “เงินติดล้อ” แต่เราแนะนำ “ถือ” ขณะที่หุ้นแบงก์ที่เราชอบสุด คือ BBL (เป้าพื้นฐาน 235 บ.), KBANK (231 บ.) / หุ้นปันผลดีมี Yield > 3% รออยู่ในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า - ชอบ ANAN, AP, JMT, LH, QH, ROJNA, VNT, WHAUP
• หุ้นเด่น เม.ย. (Smart Tactics) AEONTS, ANAN, JWD, LH, PTTEP, ROJNA, RS, SEAFCO ?
ปัจจัยติดตาม
1 เม.ย.
TH, JP ดัชนีราคาผู้บริโภค, ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจไทยใน มี.ค., ยอดขายรถยนต์ญี่ปุ่นใน มี.ค.
JP, CH, EU PMI ภาคอุตฯ ญี่ปุ่น, จีน (ภาคเอกชน – Caixin), สหภาพยุโรปใน มี.ค.
EU, US อัตราว่างงานสหภาพยุโรปใน ก.พ., การเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลสหรัฐฯ ใน ก.พ.
US ISM Manuf. สหรัฐฯ ใน มี.ค., ยอดค้าปลีก, การใช้จ่ายด้านการก่อสร้าง, สหรัฐฯ ใน ก.พ.
2 เม.ย.
JP, US การเปลี่ยนแปลงฐานเงินญี่ปุ่นใน มี.ค., คำสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ ใน ก.พ. (เบื้องต้น)
ที่มา : Bloomberg, TISCO Research
ข่าวเด่น