ไทยออยล์ วิเคราะห์สถานการณ์น้ำมัน ประจำวันที่ 23 มิ.ย. ราคาน้ำมันดิบปรับลด หลังตลาดคาดโอเปกพลัสจะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบตั้งแต่ ส.ค. 64 เป็นต้นไป
- ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์ปรับลด หลังกลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตรมีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป หลังความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกฟื้นตัวตอบรับการฉีดวัคซีนที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการตัดสินใจเกี่ยวกับปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยกลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตรจะหารือเรื่องนี้ในการประชุมกลุ่มครั้งต่อไปในวันที่ 1 ก.ค. 64
+ Bank of America (BofA) ปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบเบรนต์ในปีนี้ว่ามีแนวโน้มที่จะเฉลี่ยที่ระดับ 68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยราคาอาจปรับขึ้นไปแตะระดับ 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลได้ในปี 65 เนื่องจากคาดว่าความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งและแซงหน้าการกลับมาของอุปทานน้ำมันดิบ
+ หลังตลาดปิด สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 มิ.ย. 64 ปรับตัวลดลง 7.2 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 459.5 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะปรับตัวลดลง 3.6 ล้านบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบ
เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล 22 มิ.ย. 64 เปลี่ยนแปลง
เวสต์เท็กซัส 73.06 -0.60
เบรนท์ 74.81 -0.09
ดูไบ 72.63 +0.71
ราคาน้ำมันสำเร็จรูปประเทศสิงคโปร์
เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล 22 มิ.ย. 64 เปลี่ยนแปลง
เบนซินออกเทน 95 81.69 +0.99
น้ำมันก๊าดและอากาศยาน 77.11 +0.69
ดีเซลหมุนเร็ว (0.05% S) 77.90 +0.60
น้ำมันเตา (3.5% S) 65.87 -1.02
ราคาน้ำมันเบนซิน
ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากความต้องการใช้น้ำมันเบนซินที่ฟื้นตัวในญี่ปุ่น และอินเดีย อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาดว่าปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ จะปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมา ตามการกลั่นที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐฯ
ราคาน้ำมันดีเซล
ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังความต้องการใช้น้ำมันดีเซลในภูมิภาคได้รับแรงกดดันจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงได้รับแรงหนุนจากการส่งออกของจีนที่ลดลง
ข่าวเด่น