ไทยออยล์ วิเคราะห์สถานการณ์น้ำมัน ประจำวันที่ 2 ก.ย. ราคาน้ำมันดิบทรงตัว หลังกลุ่มโอเปกพลัสคงนโยบายเดิมในการเพิ่มกำลังการผลิตอย่างค่อยเป็นค่อยไป
+/- ราคาน้ำมันดิบเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย หลังกลุ่มโอเปกและพันธมิตรคงนโยบายเดิมในการปรับเพิ่มกำลังการผลิตอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ กลุ่มผู้ผลิตจะปรับเพิ่มกำลังการผลิตเพียงแค่ 4 แสนบาร์เรลต่อวันในเดือน ต.ค. 2564 แม้ว่าสหรัฐฯ จะเสนอให้ทางกลุ่มปรับเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นจากเดิม โดยการประชุมครั้งถัดไปจะจัดขั้นในวันที่ 4 ต.ค. 64
+ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 27 ส.ค. 64 ปรับตัวลดลง 7.2 ล้านบาร์เรล แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ ก.ย. 2562 ที่ประมาณ 425.4 ล้านบาร์เรล ลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะปรับตัวลดลงราว 3.1 ล้านบาร์เรล
- บริษัทฯ น้ำมันในสหรัฐฯ อยู่ระหว่างการประเมินความเสียหายจากเฮอร์ริเคนไอด้า โดยความคืบหน้าล่าสุด บางบริษัทฯ เริ่มกลับมาดำเนินการผลิตแล้ว ส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบที่หายไปปรับลดลงจากเดิมที่ 1.7 ล้านบาร์เรลต่อวันมาอยู่ที่ราว 1.45 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ร้อยละ 80 ของกำลังการผลิตในอ่าวเม็กซิโก)
ราคาน้ำมันดิบ
เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล 1 ก.ย. 64 เปลี่ยนแปลง
เวสต์เท็กซัส 68.59 +0.09
เบรนท์ 71.59 -0.04
ดูไบ 70.56 -0.79
ราคาน้ำมันสำเร็จรูปประเทศสิงคโปร์
เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล 1 ก.ย.64 เปลี่ยนแปลง
เบนซินออกเทน 80.75 -0.32
น้ำมันก๊าดและอากาศยาน 76.57 +0.57
ดีเซลหมุนเร็ว (0.05% S) 76.20 +1.01
น้ำมันเตา (3.5% S) 69.29 -0.41
ราคาน้ำมันเบนซิน
ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากความต้องการใช้น้ำมันจากอินเดียที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคายังได้รับแรงกดดันจากปริมาณการส่งออกของจีนและประเทศในกลุ่มเอเชียเหนือที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
เดินทาง
ราคาน้ำมันดีเซล
ปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากการส่งออกไปยังยุโรปที่ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากสหรัฐฯ คาดจะส่งออกไปยังยุโรปลดลง อย่างไรก็ตาม ราคายังได้รับแรงกดดันจากการส่งออกจากอินเดียที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ข่าวเด่น