ไทยออยล์ วิเคราะห์สถานการณ์น้ำมัน ประจำวันที่ 11 ก.พ. ราคาน้ำมันดิบทรงตัว หลังเฟดมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น ท่ามกลางอุปสงค์ที่ฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว
+/- ราคาน้ำมันดิบทรงตัว จากความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในสหรัฐฯ และยุโรป อย่างไรก็ตามราคาได้รับแรงกดดันจากการรายงานของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ระบุว่าอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นแตะระดับ 7.5% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยนายเจมส์ บุลลาร์ด ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ สาขาเซนต์หลุยส์กล่าวว่าเขาต้องการให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 1 ภายใน ก.ค. 65 เพื่อยับยั้งการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อ
+ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานกำลังการผลิตของโรงกลั่นในสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 329,000 บาร์เรล หรือคิดเป็น 1.5% ทำให้กำลังการผลิตโดยรวมของโรงกลั่นในสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 88.2 % นอกจากนี้ราคายังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯที่ปรับลดลงแตะระดับต่ำสุดตั้งแต่ ต.ค. 61 เป็นการสะท้อนถึงอุปสงค์น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น
+ ในรายงานเดิอน ก.พ. ของกลุ่มโอเปก (OPEC) คาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันของโลกอาจเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าอุปสงค์น้ำมันของโลกจะเพิ่มขึ้น 4.15 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้ และจะแตะระดับ 100 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในไตรมาสสาม
ราคาน้ำมันดิบ
เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล 10 ก.พ.65 เปลี่ยนแปลง
เวสต์เท็กซัส 89.88 +0.22
เบรนท์ 91.41 -0.14
ดูไบ 90.71 +1.15
ราคาน้ำมันสำเร็จรูปประเทศสิงคโปร์
เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล 10 ก.พ.65 เปลี่ยนแปลง
เบนซินออกเทน 109.80 +2.95
น้ำมันก๊าดและอากาศยาน 105.45 +2.51
ดีเซลหมุนเร็ว (0.05% S) 109.02 +1.62
น้ำมันเตา (3.5% S) 80.40 +1.08
ราคาน้ำมันเบนซิน
ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากความต้องการใช้น้ำมันเบนซินที่เพิ่มขึ้นของ อินเดียและอินโดนีเซีย อีกทั้งน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ ปรับลดลง 1.64 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาน้ำมันดีเซล
ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ ได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในภูมิภาคที่ยังอยู่ในระดับสูง อีกทั้งการส่งออกน้ำมันดีเซลของญี่ปุ่นที่ลดลงกว่า 9.5 % ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ข่าวเด่น