ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ค่าเงินบาทเปิดตลาด (15 ต.ค.66) แข็งค่าขึ้น ที่ระดับ 34.94 บาทต่อดอลลาร์


 

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ (15 ต.ค.66) ที่ระดับ  34.94 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้น” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  35.06 บาทต่อดอลลาร์

โดยในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน แต่โดยรวมแข็งค่าขึ้น (แกว่งตัวในช่วง 34.78-35.07 บาทต่อดอลลาร์) ท่ามกลางการทยอยอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ หลังบรรยากาศในตลาดการเงินยังคงอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง ขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ก็เผชิญแรงกดดันจากการแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องของสกุลเงินฝั่งยุโรป ทั้งเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) และเงินยูโร (EUR) หลังธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ต่างมีมติคงอัตราดอกเบี้ยเช่นเดียวกันกับเฟด ทว่าทั้งสองธนาคารกลางกลับย้ำจุดยืนคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับสูง จนกว่าจะคุมปัญหาเงินเฟ้อได้สำเร็จ ซึ่งสวนทางกับการส่งสัญญาณพร้อมทยอยลดดอกเบี้ยลงของเฟด นอกจากนี้ เงินบาทยังได้แรงหนุนจากโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ หลังราคาทองคำทยอยปรับตัวสูงขึ้น แต่ยังคงไม่สามารถผ่านโซนแนวต้านระยะสั้นไปได้ 

บรรยากาศตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) ท่ามกลางความหวังของผู้เล่นในตลาดที่มองว่า เฟดจะสามารถทยอยลดดอกเบี้ยลงได้พอสมควรในปีหน้า นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังได้แรงหนุนจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ อย่าง ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ที่ยังคงขยายตัวได้ +0.3%m/m ดีกว่าคาด และยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) ที่ลดลงสู่ระดับ 2 แสนราย น้อยกว่าคาด ทำให้โดยรวมดัชนี S&P500 ปิดตลาด +0.26% 

ส่วนในฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี stoxx600 พลิกกลับมาปรับตัวขึ้น +0.87% หนุนโดยแนวโน้มการทยอยลดดอกเบี้ยของเฟดในปีหน้า อย่างไรก็ดี การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นยุโรปก็ถูกจำกัดโดยท่าทีของทั้ง BOE และ ECB ที่ยังคงต้องการคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูง จนกว่าทั้ง BOE และ ECB จะมั่นใจว่าสามารถควบคุมปัญหาเงินเฟ้อได้สำเร็จ

ในฝั่งตลาดบอนด์ แม้ว่า รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะออกมาดีกว่าคาด ทว่า มุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ยังคงมองว่า เฟดอาจเริ่มลดดอกเบี้ยได้ในการประชุมเดือนมีนาคมหน้า และเฟดอาจลดดอกเบี้ยลงได้ราว -1.50% ยังคงเป็นปัจจัยที่กดดันให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 4.00% ทั้งนี้ เราเริ่มเห็นแรงขายทำกำไรสถานะ Long บอนด์ระยะยาวของผู้เล่นในตลาดบ้าง หลังบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวลดลงมาพอสมควร ทำให้เรามองว่า นักลงทุนควรรอจังหวะเข้าซื้อในช่วงบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น มากกว่าจะไล่ราคาซื้อ (เน้น Buy on Dip) นอกจากนี้ มุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟด นั้นอาจยังไม่สอดคล้องกับภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุดมากนัก ทำให้ ยังมีความเสี่ยงที่บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ อาจผันผวนสูงขึ้นได้ ในกรณีที่ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด จนทำให้ผู้เล่นในตลาดต้องปรับเปลี่ยนมุมมองต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดอีกครั้ง 

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ทยอยอ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) และเงินยูโร (EUR) ต่างปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง จากท่าทีของทั้ง BOE และ ECB ที่ยังคงต้องการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับสูง จนกว่าจะสามารถคุมปัญหาเงินเฟ้อได้ นอกจากนี้ บรรยากาศเปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินก็มีส่วนลดความต้องการถือเงินดอลลาร์ เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยลงบ้าง ส่งผลให้ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 101.9 จุด (กรอบ 101.8-102.6 จุด)  ในส่วนของราคาทองคำ จังหวะอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ รวมถึงการย่อตัวลงบ้างของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้ช่วยหนุนให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ.) รีบาวด์ขึ้นทดสอบโซนแนวต้านแถว 2,050-2,060 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทว่า ราคาทองคำยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นต่อไปได้ ท่ามกลางแรงขายทำกำไรของผู้เล่นในตลาด ซึ่งโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น
 
สำหรับวันนี้ ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายงานเดือนของจีน ทั้ง ยอดค้าปลีก (Retail Sales) และยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) ซึ่งจะช่วยสะท้อนแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนในช่วงนี้ได้ 

นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตา รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการ (S&P Manufacturing and Services PMIs) ในเดือนธันวาคม จากฝั่งอังกฤษ ยูโรโซน และสหรัฐฯ เพื่อประกอบการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจและทิศทางนโยบายการเงินของบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลักดังกล่าว 

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เราประเมินว่า การแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องของเงินบาทนับตั้งแต่ตลาดรับรู้ผลการประชุมเฟด รวมถึงผลการประชุม BOE และ ECB อาจเริ่มชะลอลงบ้าง โดยเงินบาทอาจติดอยู่แถวโซนแนวรับ 34.80 บาทต่อดอลลาร์ จนกว่าเงินบาทจะได้รับปัจจัยหนุนฝั่งแข็งค่าใหม่ๆ เพิ่มเติม โดยหนึ่งในปัจจัยที่อาจช่วยให้เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้นต่อได้ คือ ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะในส่วนตลาดหุ้น หลังล่าสุด นักลงทุนต่างชาติพลิกกลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทยราว +3.5 พันล้านบาท อย่างไรก็ดี เรามองว่า การปรับตัวลดลงของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ที่อาจส่งผลกระทบต่อบอนด์ยีลด์ไทย ก็อาจทำให้นักลงทุนต่างชาติทยอยขายทำกำไรสถานะถือครองบอนด์ไทยได้บ้าง ดังจะเห็นได้จากแรงขายบอนด์ระยะยาวไทยในวันก่อนหน้า

นอกจากนี้   ควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือนของจีน เพราะหากข้อมูลดังกล่าวออกมาแย่กว่าคาด ก็จะยิ่งสร้างความกังวลให้กับผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจจีน ซึ่งอาจกดดันให้ เงินหยวนจีน (CNY) และสกุลเงินเอเชียส่วนใหญ่ ผันผวนอ่อนค่าลงได้ ในทางกลับกัน เนื่องจากผู้เล่นในตลาดต่างไม่ได้คาดหวังว่า ภาพเศรษฐกิจจีนจะออกมาสดใสมากนักในช่วงนี้ ทำให้ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจออกมาดีกว่าคาด ก็อาจทำให้ตลาดกล้าเปิดรับความเสี่ยงการถือครองสินทรัพย์จีนมากขึ้น ซึ่งจะช่วยหนุนการแข็งค่าของเงินหยวนจีน (CNY) และสกุลเงินเอเชียได้บ้าง

และนอกเหนือจากความผันผวนจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจจีน เรากังวลว่า หากรายงานดัชนี PMI ของสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาดชัดเจนและยังสะท้อนภาพเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ก็อาจทำให้ ผู้เล่นในตลาดต้องทยอยปรับลดความคาดหวังต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟดในปีหน้า ซึ่งจะทำให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ อาจปรับตัวสูงขึ้น กดดันทั้งเงินบาทและราคาทองคำได้ 

ในช่วงนี้ ทุกสินทรัพย์ยังอยู่ในช่วงเผชิญความผันผวนสูง ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.80-35.10 บาท/ดอลลาร์ค่าเงินบาทเปิดตลาด (15 ต.ค.66) แข็งค่าขึ้น ที่ระดับ  34.94 บาทต่อดอลลาร์ 

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ (15 ต.ค.66) ที่ระดับ  34.94 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้น” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  35.06 บาทต่อดอลลาร์

โดยในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน แต่โดยรวมแข็งค่าขึ้น (แกว่งตัวในช่วง 34.78-35.07 บาทต่อดอลลาร์) ท่ามกลางการทยอยอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ หลังบรรยากาศในตลาดการเงินยังคงอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง ขณะเดียวกัน เงินดอลลาร์ก็เผชิญแรงกดดันจากการแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องของสกุลเงินฝั่งยุโรป ทั้งเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) และเงินยูโร (EUR) หลังธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ต่างมีมติคงอัตราดอกเบี้ยเช่นเดียวกันกับเฟด ทว่าทั้งสองธนาคารกลางกลับย้ำจุดยืนคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับสูง จนกว่าจะคุมปัญหาเงินเฟ้อได้สำเร็จ ซึ่งสวนทางกับการส่งสัญญาณพร้อมทยอยลดดอกเบี้ยลงของเฟด นอกจากนี้ เงินบาทยังได้แรงหนุนจากโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ หลังราคาทองคำทยอยปรับตัวสูงขึ้น แต่ยังคงไม่สามารถผ่านโซนแนวต้านระยะสั้นไปได้ 

บรรยากาศตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) ท่ามกลางความหวังของผู้เล่นในตลาดที่มองว่า เฟดจะสามารถทยอยลดดอกเบี้ยลงได้พอสมควรในปีหน้า นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังได้แรงหนุนจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ อย่าง ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ที่ยังคงขยายตัวได้ +0.3%m/m ดีกว่าคาด และยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) ที่ลดลงสู่ระดับ 2 แสนราย น้อยกว่าคาด ทำให้โดยรวมดัชนี S&P500 ปิดตลาด +0.26% 

ส่วนในฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี stoxx600 พลิกกลับมาปรับตัวขึ้น +0.87% หนุนโดยแนวโน้มการทยอยลดดอกเบี้ยของเฟดในปีหน้า อย่างไรก็ดี การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นยุโรปก็ถูกจำกัดโดยท่าทีของทั้ง BOE และ ECB ที่ยังคงต้องการคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูง จนกว่าทั้ง BOE และ ECB จะมั่นใจว่าสามารถควบคุมปัญหาเงินเฟ้อได้สำเร็จ

ในฝั่งตลาดบอนด์ แม้ว่า รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะออกมาดีกว่าคาด ทว่า มุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ยังคงมองว่า เฟดอาจเริ่มลดดอกเบี้ยได้ในการประชุมเดือนมีนาคมหน้า และเฟดอาจลดดอกเบี้ยลงได้ราว -1.50% ยังคงเป็นปัจจัยที่กดดันให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 4.00% ทั้งนี้ เราเริ่มเห็นแรงขายทำกำไรสถานะ Long บอนด์ระยะยาวของผู้เล่นในตลาดบ้าง หลังบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวลดลงมาพอสมควร ทำให้เรามองว่า นักลงทุนควรรอจังหวะเข้าซื้อในช่วงบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น มากกว่าจะไล่ราคาซื้อ (เน้น Buy on Dip) นอกจากนี้ มุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟด นั้นอาจยังไม่สอดคล้องกับภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุดมากนัก ทำให้ ยังมีความเสี่ยงที่บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ อาจผันผวนสูงขึ้นได้ ในกรณีที่ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด จนทำให้ผู้เล่นในตลาดต้องปรับเปลี่ยนมุมมองต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดอีกครั้ง 

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ทยอยอ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) และเงินยูโร (EUR) ต่างปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง จากท่าทีของทั้ง BOE และ ECB ที่ยังคงต้องการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับสูง จนกว่าจะสามารถคุมปัญหาเงินเฟ้อได้ นอกจากนี้ บรรยากาศเปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินก็มีส่วนลดความต้องการถือเงินดอลลาร์ เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยลงบ้าง ส่งผลให้ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 101.9 จุด (กรอบ 101.8-102.6 จุด)  ในส่วนของราคาทองคำ จังหวะอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ รวมถึงการย่อตัวลงบ้างของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้ช่วยหนุนให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ.) รีบาวด์ขึ้นทดสอบโซนแนวต้านแถว 2,050-2,060 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทว่า ราคาทองคำยังไม่สามารถปรับตัวขึ้นต่อไปได้ ท่ามกลางแรงขายทำกำไรของผู้เล่นในตลาด ซึ่งโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น
 
สำหรับวันนี้ ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายงานเดือนของจีน ทั้ง ยอดค้าปลีก (Retail Sales) และยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) ซึ่งจะช่วยสะท้อนแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนในช่วงนี้ได้ 

นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตา รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการ (S&P Manufacturing and Services PMIs) ในเดือนธันวาคม จากฝั่งอังกฤษ ยูโรโซน และสหรัฐฯ เพื่อประกอบการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจและทิศทางนโยบายการเงินของบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลักดังกล่าว 

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เราประเมินว่า การแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องของเงินบาทนับตั้งแต่ตลาดรับรู้ผลการประชุมเฟด รวมถึงผลการประชุม BOE และ ECB อาจเริ่มชะลอลงบ้าง โดยเงินบาทอาจติดอยู่แถวโซนแนวรับ 34.80 บาทต่อดอลลาร์ จนกว่าเงินบาทจะได้รับปัจจัยหนุนฝั่งแข็งค่าใหม่ๆ เพิ่มเติม โดยหนึ่งในปัจจัยที่อาจช่วยให้เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้นต่อได้ คือ ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะในส่วนตลาดหุ้น หลังล่าสุด นักลงทุนต่างชาติพลิกกลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทยราว +3.5 พันล้านบาท อย่างไรก็ดี เรามองว่า การปรับตัวลดลงของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ที่อาจส่งผลกระทบต่อบอนด์ยีลด์ไทย ก็อาจทำให้นักลงทุนต่างชาติทยอยขายทำกำไรสถานะถือครองบอนด์ไทยได้บ้าง ดังจะเห็นได้จากแรงขายบอนด์ระยะยาวไทยในวันก่อนหน้า

นอกจากนี้   ควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือนของจีน เพราะหากข้อมูลดังกล่าวออกมาแย่กว่าคาด ก็จะยิ่งสร้างความกังวลให้กับผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจจีน ซึ่งอาจกดดันให้ เงินหยวนจีน (CNY) และสกุลเงินเอเชียส่วนใหญ่ ผันผวนอ่อนค่าลงได้ ในทางกลับกัน เนื่องจากผู้เล่นในตลาดต่างไม่ได้คาดหวังว่า ภาพเศรษฐกิจจีนจะออกมาสดใสมากนักในช่วงนี้ ทำให้ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจออกมาดีกว่าคาด ก็อาจทำให้ตลาดกล้าเปิดรับความเสี่ยงการถือครองสินทรัพย์จีนมากขึ้น ซึ่งจะช่วยหนุนการแข็งค่าของเงินหยวนจีน (CNY) และสกุลเงินเอเชียได้บ้าง

และนอกเหนือจากความผันผวนจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจจีน เรากังวลว่า หากรายงานดัชนี PMI ของสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาดชัดเจนและยังสะท้อนภาพเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ก็อาจทำให้ ผู้เล่นในตลาดต้องทยอยปรับลดความคาดหวังต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟดในปีหน้า ซึ่งจะทำให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ อาจปรับตัวสูงขึ้น กดดันทั้งเงินบาทและราคาทองคำได้ 

ในช่วงนี้ ทุกสินทรัพย์ยังอยู่ในช่วงเผชิญความผันผวนสูง ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.80-35.10 บาท/ดอลลาร์

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 15 ธ.ค. 2566 เวลา : 10:19:12

22-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 22, 2024, 2:19 am