สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน ม.ว.ม., ป.ช, ต.จ., ภ.ป.ร.๔ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
วันศุกร์ที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕'๖๗ (ณ ศาลาร้อยปีฯ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม)
๑๐.๐๐ น. บำเพ็ญกุศลออกเมรุ พระสงฆ์ ๑๐ รูป สวดพระพุทธมนต์
และเทศน์ ๑ กัณฑ์ ถวายภัตตาหาร และบังสุกุล
วันเสาร์ที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๗
๑๓.๓๐ น. พระสงฆ์ ๑๐ รูป สวดมาติกาและบังสุกุล
เชิญโกศศพจากศาลาร้อยปีฯ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
ไปยังเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
๑๔.๓o น. เชิญโกศศพแท่เวียนเมรุ แล้วเชิญขึ้นตั้งบนจิตกาธาน
๑๗.๐๐ น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิง
หมายเหตุ ประวัติโดยย่อ หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน
หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน เป็นลื่อในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระปนัดดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีกรมพระจักรพรรดิพงษ์ และเป็นพระนัดดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์
ชื่อเดิมว่า หม่อมราชวงศ์สดศรีสุริยา จักรพันธุ์ ธิดาของพลโทหม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์ (พระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ กับหม่อมหวน จักรพันธุ์ ณ อยุธยา) กับหม่อมเจ้าทิตยาทรงกลดรพีพัฒน์ (พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ กับหม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา) เกิดเมื่อวันที่ 21 กรกฏาคม พ.ศ. 2479 มีพี่น้อง ร่วมบิดามารดา คือ หม่อมราชวงศ์กทลี สุนทรสิงคาล และ หม่อมราชวงศ์ตราจักร จักรพันธุ์
หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน สมรสกับ นายอานันท์ ปันยารชุน มีบุตรี 2 คน คือ
นางนันดา ไกรฤกษ์ สมรสกับ นายไกรทิพย์ ไกรฤกษ์ (บุตรนายพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ อดีตเลขาธิการสำนักพระราชวัง กับ ท่านผู้หญิงกุณฑี ไกรฤกษ์)
นางดารณี เจริญรัชต์ภาคย์ สมรสกับ ดร.ชัชวิน เจริญรัชต์ภาคย์ (บุตรศาสตราจารย์ นาวาเอก ดร.เจริญ เจริญรัชต์ภาคย์ ร.น. อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม กับ ท่านผู้หญิงสมศรี เจริญรัชต์ภาคย์)
\
หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน เป็นกุลสตรีที่เพรียบพร้อมด้วยความงามทั้งกายและใจ ทั้งกิริยามารยาท ที่นุ่มนวล มีเสน่ห์ ได้มีโอกาสเห็นโลกกว้างตั้งแต่เยาว์วัย โดยได้ติดตาม เมื่อท่านพ่อทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบกประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ที่ประเทศฝรั่งเศส นั้น จึงได้เรียนและพูดภาษาอังกฤษตั้งแต่เล็ก ทำให้มีความชำนิชำนาญในภาษานั้น อันเป็นคุณสมบัติติดตัวและเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตในฐานะภริยานักการทูตและผู้นำของประเทศ
ด้านการศึกษา หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน ให้ความสำคัญกับการศึกษามาก เริ่มต้นการศึกษาที่โรงเรียน มาแตร์ เดอี ณ กรุงเทพฯ , โรงเรียนอเมริกัน ณ กรุงปารีส และช่วยวัยรุ่นช่วงเวลาศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ในวิชาเลขานุการที่วิทยาลัยควีนส์ คอลเลจ ในกรุงลอนดอน ได้พบรักกับ นายอานันท์ ปันยารชุน หนุ่มนักศึกษาไทยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และได้สมรสปี พ.ศ. ๒๔๙๙ นับแต่นั้นมา
นอกจากภรรยาอันเป็นที่รักของสามี และแม่ที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกสาวทั้งสองคนแล้ว หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน เป็นที่ประจักษ์ในผลงานและได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 (ภ.ป.ร.) ปี 2510 , ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) ปี 2534 , ประถมมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) ปี 2534 และ มหาวิชรมงกุฏ (ม.ว.ม.) ในปี 2535
ข่าวเด่น