เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ธปท.ปรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ จูงใจจ่ายขั้นต่ำเกิน 8% รับเครดิตเงินคืน เทียบเท่าลดดบ. 0.50% ในช่วงครึ่งแรก 68 และ 0.25% ช่วงครึ่งปีหลัง


นายสมชาย เลิศลาภวศิน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การปรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ในส่วนของการผ่อนชำระขั้นต่ำ (Minimum payment) ของบัตรเครดิต โดยให้คงอัตราอยู่ที่ 8% ออกไปอีก 1 ปีจนถึงปี 2568 จากเดิมที่จะปรับเพิ่มเป็น 10% ตั้งแต่ 1 ม.ค.68 นั้น มีเป้าหมายเพื่อช่วยลดภาระการจ่ายหนี้ และช่วยรักษาสภาพคล่องให้กับครัวเรือนโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง
 
 
ซึ่งปัจจุบัน พบว่า ระดับหนี้ครัวเรือนในไตรมาส 1/67 อยู่ที่ 90.8% ของ GDP แยกตามประเภทสินเชื่อได้เป็นดังนี้ สินเชื่อบ้าน คิดเป็นสัดส่วน 34% รองลงมา เป็นสินเชื่อส่วนบุคคล 25% สินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ 18% สินเชื่อรถยนต์ 11% สินเชื่อบัตรเครดิต 3% และสินเชื่ออื่นๆ 9%

ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่ผ่อนชำระขั้นต่ำมากกว่าหรือเท่ากับ 8% จะได้รับเครดิตเงินคืนเทียบเท่าการลดดอกเบี้ย 0.50% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2568 (ม.ค.-มิ.ย.68) และอีก 0.25% ในช่วงครึ่งหลังของปี (ก.ค.-ธ.ค.68) โดยลูกหนี้จะได้รับเครดิตเงินคืนทุก 3 เดือน เพื่อจูงใจให้ลูกหนี้ปิดจบหนี้เร็วขึ้น และมีภาระดอกเบี้ยทั้งสัญญาลดลง

 
นายสมชาย ประเมินว่า จากมาตรการจูงใจเพื่อให้ลูกค้าผ่อนชำระขั้นต่ำมากกว่า 8% ด้วยการให้เครดิตเงินคืนดังกล่าวที่เทียบเท่าการลดดอกเบี้ยนี้ คาดว่าจะกระทบรายได้ของธนาคารพาณิชย์ และผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ประมาณ 1,000 ล้านบาทต่อปี ส่วนกลุ่มลูกหนี้ที่ชำระเต็ม (Transactor) จะไม่ได้รับการลดดอกเบี้ย แต่จะได้รับในเรื่องของสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ แทน เช่น คะแนะสะสม

ส่วนกลุ่มลูกหนี้ที่สามารถชำระขั้นต่ำได้ตั้งแต่ 5% แต่ไม่ถึง 8% สามารถใช้สิทธิปรับโครงสร้างหนี้ก่อนเป็นหนี้เสียได้ โดยเปลี่ยนประเภทหนี้ของบัตรเครดิตไปเป็นสินเชื่อระยะยาว (term loan) เพื่อจ่ายชำระเป็นงวด โดยลูกหนี้จะยังมีโอกาสได้สภาพคล่องจากวงเงินบัตรเครดิตส่วนที่เหลือ

 
“เช่น ลูกค้ามีวงเงิน 30,000 บาท ใช้ไป 18,000 บาท เหลือวงเงิน 12,000 บาท ซึ่ง ธปท.ได้ผ่อนคลายจากเดิมที่จะต้องปิดวงเงินลูกหนี้ โดยให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณาคงวงเงินให้กับลูกหนี้ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับวินัยการเงินของลูกหนี้ หรือพฤติกรรมชำระหนี้ของลูกหนี้เป็นหลัก” นายสมชาย กล่าว

อย่างไรก็ดี หากดูตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และสินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ (SM) ในช่วงก่อนปรับมาตรการชำระขั้นต่ำ 8% พบว่า ในไตรมาสที่ 1/67 หนี้ NPL อยู่ที่ 3.5% เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1/66 ซึ่งอยู่ที่ 2.8% และตัวเลข SM ไตรมาส 1/67 อยู่ที่ 5.5% เพิ่มจากไตรมาส 1/66 ซึ่งอยู่ที่ 5.3%

“ประเทศไทยเราใช้ Min Pay อยู่ที่ 10% มาตั้งแต่ปี 47 และมาผ่อนผันในช่วงโควิด-19 เหลือ 5% เป็นเวลา 4 ปี ก่อนจะมาปรับเป็น 8% ตั้งแต่ม.ค. 67 ซึ่งหากดูตัวเลขภายหลังปรับขึ้น จะเห็นว่าตัวเลขที่จ่ายน้อยกว่า 8% ในเดือน ม.ค.67 อยู่ที่ 18% แต่มาในเดือนพ.ค.ลดลงเหลือ 7% แม้ว่าจะปรับลดลง แต่ยอมรับว่าใน 7% มีที่เป็นหนี้เสีย และยังชำระได้ เราจึงยกเลิกการปิดวงเงิน เพื่อให้ลูกหนี้มีสภาพคล่อง” นายสมชาย กล่าว

นายสมชาย กล่าวต่อไปว่า สำหรับมาตรการช่วยลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt) ภายใต้หลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ธปท. ได้ขยายระยะเวลาการปิดจบหนี้จากภายใน 5 ปี เป็น 7 ปี อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปีเท่าเดิม เพื่อให้ค่างวดที่ลูกหนี้ต้องชำระปรับลดลง และลูกหนี้จะยังมีโอกาสได้สภาพคล่องจากวงเงินสินเชื่อส่วนที่เหลือ โดยมาตรการจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค.68 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ธปท. พยายามปรับมาตรการเพื่อให้ช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางได้ตรงจุด ซึ่งจากเดิม ลูกหนี้ยังกังวลในเรื่องของการปิดวงเงิน และระยะเวลาการปิดจบหนี้ ทำให้ความสามารถในการผ่อนชำระค่อนข้างตึง ส่งผลให้มีลูกหนี้เข้าโครงการค่อนข้างน้อยประมาณ 1-2% ของยอดจำนวนบัญชี 5 แสนบัญชี วงเงินรวม 1.44 หมื่นล้านบาท ภายหลังจากการปรับเกณฑ์ครั้งนี้ คาดว่าจะมีลูกหนี้เข้าโครงการเพิ่มเป็น 20% ของ 5 แสนบัญชี

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 05 ส.ค. 2567 เวลา : 20:26:27
16-06-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ประกาศ กปน.: 20 มิ.ย. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำมหาสวัสดิ์

2. ตลาดหุ้นปิด (13 มิ.ย.68) ลบ 5.92 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,122.70 จุด

3. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 3,400 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 3,450 เหรียญ

4. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (13 มิ.ย.68) ลบ 3.56 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,125.06 จุด

5. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (12 มิ.ย.68) บวก 101.85 จุด ดัชนี PPI ต่ำกว่าคาด หนุนเฟดลดดอกเบี้ย

6. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (12 มิ.ย.68) พุ่ง 58.70 เหรียญ เหตุตะวันออกกลางตึงเครียด หนุนแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย

7. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (13 มิ.ย.68) แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ที่ระดับ 32.33 บาทต่อดอลลาร์

8. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (12 มิ.ย.68) บวก 101.85 จุด ดัชนี PPI ต่ำกว่าคาด หนุนเฟดลดดอกเบี้ย

9. พยากรณ์อากาศวันนี้ (13 มิ.ย.68) ภาคเหนือ-ภาคอีสาน ฝนตกหนัก 70% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก 60% ภาคใต้ 30-40%

10. ตลาดหุ้นไทยเปิด (13 มิ.ย.68) ลบ 6.87 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,121.75 จุด

11. ทองเปิดตลาดวันนี้ (13 มิ.ย. 68) พุ่งขึ้น 850 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 53,350 บาท

12. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 32.30-32.55 บาท/ดอลลาร์

13. ตลาดหุ้นปิด (12 มิ.ย.68) ลบ 12.96 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,128.62 จุด

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (12 มิ.ย.68) ลบ 6.65 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,134.93 จุด

15. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (11 มิ.ย.68) บวก 30 เซนต์ หลังเงินเฟ้อชะลอตัวคาดเฟดลดดอกเบี้ย

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ June 16, 2025, 10:44 am