เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ "Sustainable Aviation Fuel (SAF) ช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานระดับโลก และบทบาทของประเทศไทย"


 
ประเด็นสำคัญ

- หน่วยงานกำกับดูแลการบินทั่วโลกเริ่มกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับเป้าหมายสัดส่วนที่สายการบินต้องใช้ SAF ภายในปี 2568 โดยในสหภาพยุโรป สัดส่วนจะอยู่ที่ 2% และระดับภูมิภาคกำหนดในสัดส่วนรองลงมา ได้แก่ สิงคโปร์ 1% และไทย 1% ภายในปี 2568

- อุปทานทั่วโลกน้อยกว่าอุปสงค์มาก โดยสหภาพยุโรปจำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิตมากกว่า 40 เท่าเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย SAF ระยะแรก

- ในไทยหากโรงงานผลิต SAF แห่งใหม่ของผู้ประกอบการ สามารถจัดหาวัตถุดิบได้ จะทำให้สายการบินในไทยมี SAF พอใช้ได้จนถึงปี 2573

บทนำ

SAF คืออะไร?

อุตสาหกรรมการบินมีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก 2-3%1 ทำให้กิจการการบินเป็นภาคส่วนสำคัญในการลดการปล่อยคาร์บอนของอุตสาหกรรมทั่วโลก หนึ่งในกลไกหลักคือการทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานปัจจุบันด้วยเชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน (SAF) ที่มีสายการบินมากกว่า 40 แห่งนำมาใช้แล้ว

SAF เป็นเชื้อเพลิงหมุนเวียนที่สามารถใช้ขับเคลื่อนอากาศยานโดยมีการปล่อยคาร์บอนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานทั่วไปที่ผลิตจากฟอสซิล โดยคาดว่าจะลดการปล่อยมลพิษได้ถึง 80% เมื่อเทียบกับน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบดั้งเดิม2

จุดสำคัญของ SAF คือการเป็น "Drop-in Fuel" หมายความว่าสามารถใช้กับเครื่องบินที่มีอยู่ได้โดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ เพราะเหตุนี้ทำให้ SAF สามารถผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานทั่วไปได้ ในอัตราส่วนสูงสุดที่ 50% ในปัจจุบัน

การวิเคราะห์

กฎระเบียบและช่องว่างด้านอุปทาน

ปัจจุบันยังมีช่องว่างระหว่างข้อกำหนด SAF ที่กำลังจะมาถึงกับอุปทานการผลิต SAF ทั่วโลก จนทำให้สหภาพยุโรป ซึ่งเป็นผู้นำด้านกฎระเบียบ SAF อาจไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการใช้ SAF ได้

 
ปัจจุบันมีแรงกดดันทั่วโลกให้สายการบินนำ SAF มาใช้ โดยสหภาพยุโรปเป็นผู้นำ ในการกำหนดเป้าหมายให้สายการบินต้องใช้ SAF เป็นสัดส่วน 2% ภายในปี 2568 และจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 70% ภายในปี 2593 สำหรับภูมิภาคอาเซียน สิงคโปร์เป็นประเทศแรกที่กำหนดข้อบังคับที่ 1% ภายในปี 2568 ในขณะที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) กำลังพิจารณาข้อกำหนด 1% ภายในปี 2568 เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม อุปทานในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยสหภาพยุโรปจำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิตมากกว่า 40 เท่าเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย SAF ปัจจุบันเที่ยวบินที่บินเข้าสหภาพยุโรปใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน 65 ล้านตันต่อปี ขณะที่โรงผลิตในสหภาพยุโรปสามารถผลิต SAF ได้ 0.24 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วน 0.04% ของเชื้อเพลิงทั้งหมด3

การวิเคราะห์อุปทาน SAF


 
อุปทานของ SAF ต่ำกว่าอุปสงค์มาก โดยอุปทานของ SAF ทั่วโลกอยู่ที่ 1.5 ล้านตันต่อปี เพิ่มขึ้นสามเท่าจากปี 25664 แม้จะเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด แต่ก็คิดเป็นเพียง 0.53% ของความต้องการเชื้อเพลิงการบินทั่วโลกในปี 2567 (การบินทั่วโลกปัจจุบันใช้เชื้อเพลิงอยู่ที่ 316 ล้านตัน)

กำลังการผลิตปัจจุบันต่ำกว่าประมาณการความต้องการ SAF อยู่ 24 ล้านตันต่อปี ที่จำเป็นต่อการบรรลุข้อกำหนด แม้จะมีการประกาศโครงการใหม่จำนวนมากทุกปีก็ตาม แต่ อุปทานมีลักษณะกระจุกตัว โดย 76.8% ของการผลิตทั้งหมดที่คาดการณ์ไว้มาจาก 10 บริษัท

ปัจจุบัน SAF เกือบทั้งหมดผลิตโดยใช้น้ำมันเหลือใช้และแปลงเป็น SAF ในกระบวนการที่เรียกว่า Hydroprocessed Esters and Fatty Acids (HEFA) เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกับการกลั่นน้ำมันแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นกระบวนการเดียวกันที่โรงกลั่น SAF ของผู้ประกอบการ แห่งเดียวของไทยใช้ผลิต SAF

 
คาดว่าการผลิต SAF โดยใช้กระบวนการ HEFA จะสร้างอุปทานเพียงพอที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายปี 2573 แต่จะมีความท้าทายจากวัตถุดิบที่มีจำกัด อันจะส่งผลต่อการเพิ่มกำลังการผลิตในระยะข้างหน้า แม้ว่าเชื้อเพลิงจากแอลกอฮอล์และเชื้อเพลิงทางเลือกทดแทนน้ำมันดิบจากแก๊ซ (Gas-to-liquid) เป็นวัตถุดิบที่มีต้นทุนต่ำกว่า HEFA แต่ทั้งคู่ยังเผชิญกับอุปสรรคด้านเทคโนโลยี จึงจำเป็นต้องปรับและพัฒนาเทคโนโลยีมารองรับ

ต้นทุนของ SAF และผลกระทบต่ออัตราการทำกำไรของสายการบิน
 

 
ปัจจุบัน SAF มีทุนราคาสูงกว่าน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานทั่วไป 1.5 - 3 เท่า ซึ่งนับเป็นอุปสรรคสำคัญของสายการบิน เนื่องจากต้นทุนเชื้อเพลิงคิดเป็นประมาณ 31% ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ขณะที่ อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกมีอัตราการทำกำไรไม่มากนัก อยู่ที่ประมาณ 2.6 – 3.1%

การเพิ่มขึ้นของต้นทุนเชื้อเพลิงจะบั่นทอนความสามารถในการทำกำไร ทำให้อัตราการผสม SAF ทำได้ไม่เกิน 6.4 – 7.5% (ถ้าไม่ปรับ Cost Structure) ดังนั้น จึงทำให้สายการบินมีความยากลำบากในการนำ SAF มาใช้ในวงกว้าง หากไม่ได้รับการสนับสนุนหรือเงินอุดหนุนจากภาครัฐ5

บทบาทของประเทศไทยกับการดำเนินการ SAF

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) กำลังศึกษาความเป็นไปได้ของการบังคับใช้ข้อกำหนด SAF 1% ภายในปี 2568 สอดคล้องกับสิงคโปร์ ซึ่งสายการบินส่วนใหญ่จะเป็นสายการบินระหว่างประเทศที่จะได้รับผลกระทบจากข้อกำหนดของสิงคโปร์และสหภาพยุโรปอยู่แล้ว สำหรับข้อกำหนดนี้ของไทยจึงจะบังคับ ใช้เฉพาะเที่ยวบินภายในประเทศเท่านั้น

ในประเทศไทย มีผู้ประกอบการเพียงรายเดียวและเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ที่มุ่งเน้นด้าน SAF คือ บริษัทบางจาก โดยกำลังก่อสร้างโรงงานที่พระโขนงโดยมีเป้าหมายผลิต SAF 2.3 ล้านบาร์เรลต่อปีภายในปี 25686 ซึ่งหากทำได้ตามเป้าหมาย ปริมาณ SAF จะมีปริมาณที่เพียงพอ สำหรับการใช้งานทั้งสำหรับการใช้ภายในประเทศและการส่งออก (คิดเป็น 6.5% ของการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานของไทย)

ภาคผนวก

เคมีของ SAF

SAF ประกอบด้วยไฮโดรคาร์บอนเช่นเดียวกับที่พบในน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานทั่วไป แต่มีปริมาณกำมะถันและสารอะโรมาติกต่ำกว่า และมีความหนาแน่นพลังงานต่ำกว่า

การลดลงของกำมะถันส่งผลให้มีการปล่อยมลพิษที่เป็นอันตราย เช่น ซัลเฟอร์ออกไซด์ (SOx) และอนุภาคน้อยลง แต่ด้วย ปริมาณสารอะโรมาติกที่ต่ำอาจส่งผลต่อซีลของระบบเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นเหตุผลที่ปัจจุบัน SAF ต้องผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานทั่วไปเพื่อไปใช้เครืองยนต์อากาศยานที่มีอยู่

ห่วงโซ่คาร์บอนของ SAF ค่อนข้างสั้นกว่า มีความหนาแน่นพลังงานน้อยกว่า 15-20% เมื่อเทียบกับน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานทั่วไป หมายความว่าต้องใช้เชื้อเพลิงมากขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้ได้กำลังการผลิตเท่ากัน SAF ถูกไฮโดรจีเนตด้วยความยาวห่วงโซ่เฉลี่ย C117 ในขณะที่เชื้อเพลิง Jet-A1 ประกอบด้วยห่วงโซ่คาร์บอนที่มีความยาวหลากหลาย รวมถึง 9% C8--C9, 65% C10--C14, และ 7% C15--C178

SAF ผลิตอย่างไร?

SAF ผลิตโดยใช้หลายวิธี วิธีที่พบบ่อยที่สุดคือ:

· Hydroprocessed Esters and Fatty Acids (HEFA): เป็นวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุด HEFA SAF ผลิตจากน้ำมันเหลือใช้ ไขมัน และน้ำมันทอดซ้ำ

· Alcohol-to-Jet (AtJ): แปลงแอลกอฮอล์ เช่น เอทานอล เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน เปิดโอกาสสำหรับวัตถุดิบทางการเกษตร เช่น อ้อย

· Fischer-Tropsch (FT): แปลงชีวมวลเป็นไฮโดรคาร์บอนสังเคราะห์ผ่านการแปรสภาพเป็นก๊าซ

· Gas to Liquids (GtL): เป็นการใช้ก๊าซ เช่น H2 และผสมกับ CO2 มาใช้เป็น SAF ได้

· Power to Liquids (PtL): เป็นการโดยใช้ใช้พลังงานหมุนเวียนมาดูด CO2 จากอากาศและผสมกับน้ำโดยใช้ พลังงานไฟฟ้าเป็นตัวเร่งสร้าง SAF

· Pyrolysis: คือการใช้ความร้อนเพื่อทำให้สารมีการสลายออกเป็นสารอื่นๆ

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 03 ธ.ค. 2567 เวลา : 20:20:30
26-12-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (26 ธ.ค.2567) ลบ 3.05 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,397.80 จุด

2. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (26 ธ.ค.67) ลบ 5.02 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,395.83จุด

3. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะเคลื่อนไหวในกรอบแนวรับที่ระดับ 2,610 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,645 เหรียญ

4. ประเทศไทยอุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศา "ยอดดอย" หนาวถึงหนาวจัด 5 องศา "ยอดภู" 7 องศา

5. ตลาดหุ้นไทยเปิด (26 ธ.ค.67) ลบ 0.03 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,400.60 จุด

6. ทองเปิดตลาดวันนี้ (26 ธ.ค. 67) ปรับขึ้น 150 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 43,050 บาท

7. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (26 ธ.ค.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 34.19 บาทต่อดอลลาร์

8. ประกาศ กปน.: 26 ธ.ค. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนแจ้งวัฒนะตัดถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด

9. ตลาดหุ้นปิด (25 ธ.ค.2567) บวก 6.18 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,400.85 จุด

10. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (25 ธ.ค.2567) บวก 4.35 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,399.02 จุด

11. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (24 ธ.ค.67) พุ่ง 390.08 จุด หุ้นเทคฯ-หุ้น Growth Stocks หนุนตลาด

12. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (24 ธ.ค.67) บวก 7.30 เหรียญ ตลาดจับตาทิศทางดอกเบี้ยเฟด

13. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 2,605 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,640 เหรียญ

14. "ยอดดอย" หนาวถึงหนาวจัด 5 องศา มีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ "ยอดภู" 7 องศา "กรุงเทพปริมณฑล-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก" อุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศา

15. ตลาดหุ้นไทยเปิด (25 ธ.ค.67) บวก 5.68 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,400.35 จุด

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ December 26, 2024, 7:49 pm