เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ "ราคาคาร์บอนเครดิตกับปัญหาของการพัฒนาตลาดคาร์บอนในประเทศไทย (Carbon Credit Series Vol. 2 - Episode 2)"



· ด้วยรูปแบบตลาดคาร์บอนของประเทศไทยมีลักษณะเป็นกลไกภาคสมัครใจ ส่งผลให้ผู้ซื้อขาดแรงจูงใจในการซื้อ ทำให้การพึ่งความต้องการ (Demand) คาร์บอนเครดิตในปริมาณมากจนกดดันให้ราคาขึ้นสูงนั้นจะเกิดขึ้นได้น้อย

· โดยผลสำรวจพบว่ามีเพียง 20-25% ของผู้ซื้อและผู้ขายเท่านั้น ที่สามารถตกลงราคาที่ยินดีซื้อและยินดีขายได้ตรงกัน ที่ราคาระหว่าง 51 – 200 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq) แต่ถือว่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับตลาดภาคบังคับในต่างประเทศ

· อย่างไรก็ดี หลายโครงการสามารถขายได้ในราคาสูงใกล้เคียงตลาดต่างประเทศ เนื่องจากสามารถสร้างคุณค่า เช่น ผลประโยชน์ร่วมของโครงการต่อชุมชน (Co-benefit) หรือตอบโจทย์ของผู้ซื้อโดยตรง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ผู้พัฒนาต้องพิจารณา

ปัญหาด้านราคาของการซื้อขายคาร์บอนเครดิต

ปัจจุบันผลสำรวจพบความสอดคล้องระหว่างราคายินดีซื้อและราคายินดีขายที่ค่อนข้างต่ำเพียง 20 – 25% ที่ผู้ซื้ออยากซื้อคาร์บอนเครดิตในราคาที่ตรงกับผู้ขายต้องการ (Price Equilibrium) (รูปที่ 1)

รูปที่ 1: ช่วงราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่ผู้ซื้อ/ผู้ขาย ยินดีซื้อ/ขายตรงกันมากที่สุด


ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

สาเหตุความแตกต่างของราคา

กลไกภาคสมัครใจ

ด้วยรูปแบบตลาดคาร์บอนของประเทศไทยมีลักษณะเป็นกลไกภาคสมัครใจ ทำให้ผู้ซื้อมีเหตุผลที่จะซื้อต่ำ นอกจากทำเพื่อ CSR หรือ เป็นนโยบายภายในเท่านั้น คาร์บอนเครดิตที่ซื้อขายกันส่วนใหญ่ในปัจจุบันจึงมีราคาซื้อขายค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับตลาดที่เป็นภาคบังคับ (Compliance Market) (รูปที่ 2)

รูปที่ 2: เปรียบเทียบราคาสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและคาร์บอนเครดิต


 
ที่มา: Carbon Credits.com (ณ 26 พ.ย. 2567), อบก., รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ประเภทโครงการ

คาร์บอนเครดิตที่ได้จากโครงการประเภทดูดกลับ GHG มักมีราคาสูงกว่า โดยเฉพาะโครงการที่สร้างผลประโยชน์ร่วมแก่สังคม (Co-Benefits) เช่น ป่าไม้ การจัดการขยะมูลฝอย เป็นต้น ซึ่งผู้ซื้ออาจให้คุณค่า และทำให้ผู้ขายสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากคาร์บอนเครดิตได้

ตารางที่ 1: เปรียบเทียบรูปแบบโครงการคาร์บอนเครดิต

 
อยากให้ราคาคาร์บอนเครดิตขายได้แพงต้องทำอย่างไร

ผู้ขายไม่สามารถพึ่งพาความต้องการ (Demand) คาร์บอนเครดิตปริมาณมากจนกดดันให้ราคาขึ้นสูงได้ เนื่องจากการซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยปัจจุบันอยู่ในรูปแบบสมัครใจ

ดังนั้น หากผู้พัฒนาโครงการอยากขายคาร์บอนเครดิตให้ได้ราคาที่สูงขึ้น อาจพิจารณาใช้ปัจจัยเหล่านี้ เพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งอาจสรุปเป็นหัวข้อได้ดังนี้

1. Co-Benefit

ผู้พัฒนาโครงการอาจเลือกพัฒนาโครงการที่ผู้ซื้อให้ความสนใจและสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ชุมชน เช่น ป่าไม้ การทำปุ๋ยหมัก การผลิตเชื้อเพลิงจากขยะมูลฝอย ซึ่งปัจจุบันโครงการประเภทดังกล่าวก็มีราคาซื้อขายที่ราคาสูง

2. ช่วงเวลาของคาร์บอนเครดิตที่ได้รับรอง (Crediting Period)

ปัจจุบันคาร์บอนเครดิตไม่มีอายุการใช้งานทำให้เกิดการบิดเบือนตลาด (Market Distortion) จาก 2 กรณี ได้แก่ (1) คนซื้อเลือกซื้อตุนเฉพาะที่ราคาถูก และ (2) ผู้ขายไม่ยอมนำคาร์บอนเครดิตมาขายเพราะหวังให้ราคาสูงขึ้นจนปริมาณ supply ล้นตลาด

แต่ในอนาคตจะมีข้อกำหนดการใช้คาร์บอนเครดิตชดเชยในบางมาตรการ ที่อนุญาตใช้คาร์บอนเครดิตรุ่นใหม่เท่านั้น เช่น CORSIA เป็นต้น ดังนั้น การซื้อตุน หรือการสต็อกคาร์บอนเครดิตไว้ชดเชยหรือขายในอนาคตจะทำได้ยาก ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการซื้อขายเครดิตรุ่นปัจจุบันมากขึ้น

3. ประเภทโครงการที่เป็นที่ต้องการ

การพัฒนาโครงการในประเภทที่ยังขาดแคลนส่งผลให้ราคาซื้อขายสูงขึ้นได้ตามหลักการ Demand-Supply เช่น โครงการประเภท ดักจับหรือดูดกลับก๊าซเรือนกระจกโดยใช้เทคโนโลยี เช่น Carbon Capture Utilization and Storage (CCUS), Direct Air Capture (DAC) ซึ่งมีราคาสูงใกล้เคียงกับมาตรฐานอื่นในระดับโลก (รูปที่ 3) ตามความต้องการในหน่วยงานที่ตั้งเป้าหมาย Net Zero แต่ไม่สามารถลดการใช้ GHG เองได้

รูปที่ 3: เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยราคาคาร์บอนเครดิตปี 2021 – 2023 ระหว่างตลาดต่างประเทศ และตลาดในประเทศไทย มีราคาใกล้เคียงกันในโครงการประเภท NBS

 
ที่มา: อบก., Ecosystem Marketplace, คำนวณโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

สุดท้ายนี้ นอกเหนือจากการดำเนินการของผู้พัฒนาโครงการ ภาครัฐและหน่วยงานสนับสนุนจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยผลักดันให้ราคาคาร์บอนเครดิตสูงขึ้นได้อีก

โดยอาจพิจารณานำกลไกการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคบังคับมาใช้ เช่น ภาษีคาร์บอน ในรูปแบบที่อนุญาตให้สามารถใช้คาร์บอนเครดิตไปชดเชยได้ในช่วงแรกของการเปลี่ยนผ่าน จะช่วยกระตุ้นตลาดคาร์บอนเครดิต และผลักดันราคาคาร์บอนในประเทศด้วยอีกทางหนึ่ง

LastUpdate 06/12/2567 20:20:14 โดย : Admin
26-12-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (26 ธ.ค.2567) ลบ 3.05 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,397.80 จุด

2. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (26 ธ.ค.67) ลบ 5.02 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,395.83จุด

3. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะเคลื่อนไหวในกรอบแนวรับที่ระดับ 2,610 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,645 เหรียญ

4. ประเทศไทยอุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศา "ยอดดอย" หนาวถึงหนาวจัด 5 องศา "ยอดภู" 7 องศา

5. ตลาดหุ้นไทยเปิด (26 ธ.ค.67) ลบ 0.03 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,400.60 จุด

6. ทองเปิดตลาดวันนี้ (26 ธ.ค. 67) ปรับขึ้น 150 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 43,050 บาท

7. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (26 ธ.ค.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 34.19 บาทต่อดอลลาร์

8. ประกาศ กปน.: 26 ธ.ค. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนแจ้งวัฒนะตัดถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด

9. ตลาดหุ้นปิด (25 ธ.ค.2567) บวก 6.18 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,400.85 จุด

10. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (25 ธ.ค.2567) บวก 4.35 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,399.02 จุด

11. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (24 ธ.ค.67) พุ่ง 390.08 จุด หุ้นเทคฯ-หุ้น Growth Stocks หนุนตลาด

12. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (24 ธ.ค.67) บวก 7.30 เหรียญ ตลาดจับตาทิศทางดอกเบี้ยเฟด

13. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 2,605 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,640 เหรียญ

14. "ยอดดอย" หนาวถึงหนาวจัด 5 องศา มีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ "ยอดภู" 7 องศา "กรุงเทพปริมณฑล-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก" อุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศา

15. ตลาดหุ้นไทยเปิด (25 ธ.ค.67) บวก 5.68 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,400.35 จุด

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ December 26, 2024, 7:57 pm