แบงก์-นอนแบงก์
กรุงศรี ไพรเวท แบงก์กิ้ง วิเคราะห์เกมเศรษฐกิจโลกในยุคทรัมป์ 2.0 ชี้ไทยเตรียมรับมือความท้าทายครั้งใหญ่



 
กรุงเทพฯ (23 มกราคม 2568) – กรุงศรี ไพรเวท แบงก์กิ้ง เผยมุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนในปี 2568 ในงานสัมมนา KRUNGSRI PRIVATE BANKING Investment Outlook 2025 ในหัวข้อ 2025 and Beyond: Power Dynamics after Trump Era โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและการลงทุน ได้แก่ Mr. Shaun Jamieson, Vice President Global Allocation Team BlackRock ดร. อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายวิรัตน์ วิทยศรีธาดา, CFA ผู้บริหารฝ่ายกลยุทธ์และที่ปรึกษาการลงทุน และหัวหน้าทีม Krungsri Investment Intelligence ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) โดยสรุปเศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอน ชี้นักลงทุนควรจับตานโยบายทรัมป์ 2.0 ที่อาจมีผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนทั่วโลกอย่างใกล้ชิด

BlackRock คาดการณ์โอกาสและความเสี่ยงรอบใหม่
 
เริ่มต้นด้วยมุมมองเศรษฐกิจโลก ท่ามกลางความไม่ชัดเจนของนโยบายรัฐบาล โดนัลด์ ทรัมป์ Mr. Shaun Jamieson, Vice President Global Allocation Team, BlackRock ได้แบ่งกรอบการวิเคราะห์สถานการณ์ออกเป็น 3 ส่วน ประกอบไปด้วย ปัจจัยคงที่ ปัจจัยผันแปร และสุดท้ายคือการนำทั้ง 2 ส่วนมาวิเคราะห์เป็นกลยุทธ์การลงทุน ทั้งนี้ ในส่วนของปัจจัยคงที่ ได้แก่ 1) เศรษฐกิจสหรัฐฯ พึ่งพาภาคบริการมากขึ้น ทำให้ความผันผวนทางเศรษฐกิจลดน้อยลง 2) ตลาดแรงงานสหรัฐฯ แข็งแกร่ง อัตราการว่างงานต่ำ และการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในภาคบริการ 3) ภาคครัวเรือนสหรัฐฯ มีเงินออมสูง สืบเนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วง COVID-19  4) การลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) และค่าใช้จ่ายด้านการลงทุน (CapEx) ที่เกี่ยวข้องกับ AI ได้กลายเป็นส่วนสำคัญในโครงสร้างเศรษฐกิจ และคาดว่า AI จะช่วยเพิ่ม GDP ได้ถึง 15% ใน 10 ปีข้างหน้า และ 5) สภาพคล่องส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง สะท้อนจากมูลค่าเงินทุนจำนวนกว่า 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในกองทุนตลาดเงิน ซึ่งอาจหนุนตลาดหุ้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง
 
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีตัวแปรที่ยังคงต้องติดตาม ได้แก่ 1) ความไม่แน่นอนด้านนโยบายการคลังของสหรัฐฯ โดยเฉพาะด้านการค้า ขณะที่นโยบายด้าน Deregulation อาจจะให้ผลในเชิงบวก 2) ผลกระทบของกระแสทวนกลับของโลกาภิวัตน์ (Deglobalization) โดยที่แต่ละประเทศจะเน้นการพึ่งพาตนเองมากขึ้น 3) ทิศทางนโยบายการเงินของ FED ที่ยังคาดเดาไม่ได้ และ 4) หนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง สิ่งเหล่านี้กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่จะระบุถึงแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในระยะถัดไป ซึ่งหากนำปัจจัยทั้ง 2 มาวิเคราะห์ถึงผลกระทบโดยรวมที่อาจเกิดขึ้น มองว่าในระยะสั้นจะมี Positive Demand Shock จากตลาดแรงงานที่ยังแข็งแกร่ง ซึ่งส่งผลดีต่อภาคการบริโภค รวมถึงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI ที่จะยังส่งผลบวกต่ออุปสงค์ในภาพรวม ขณะที่เงินเฟ้อจะยังคงมีอยู่ แต่ในระยะยาวจะเกิด Positive Supply Shock การลงทุนภาครัฐและเอกชนที่เน้นประสิทธิภาพการผลิต เช่น เทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน ที่ช่วยทดแทนแรงงาน
 
สำหรับมุมมองด้านการลงทุน แม้ว่าปัจจุบันราคาหุ้นจะไม่ได้อยู่ในระดับต่ำ แต่ยังมีโอกาสการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นที่มีผลประกอบการและกระแสเงินสดเติบโต ซึ่งปัจจุบันอัตราการเติบโตของรายได้และกระแสเงินสดอิสระสูงกว่าในอดีต ขณะที่ยุโรปมี Valuation ที่น่าสนใจ แต่มีความเสี่ยงในการเติบโต อย่างไรก็ตาม ยังคงมีบริษัทชั้นนำในกลุ่ม Healthcare และ Financial ที่น่าสนใจเช่นเดียวกับญี่ปุ่น ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงของ Corporate Reform ซึ่งการซื้อหุ้นคืนช่วยเพิ่มมูลค่าให้ผู้ถือหุ้นด้านตราสารหนี้ แนะนำลงทุนในตราสารอายุสั้นที่ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับตราสารหนี้ระยะยาว นอกจากนี้ High Yield Bond และตราสารหนี้ที่มีหลักประกันยังเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ โดยเฉพาะบริษัทที่มีฐานะการเงินแข็งแกร่งจากการชำระหนี้ในช่วงดอกเบี้ยต่ำ
 
จับตาจีนตั้งรับ ‘ทรัมป์ 2.0’ ขณะที่ ‘ไทย’ เตรียมสู้ศึกการค้าสองด้าน
 
ด้าน ดร. อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แบ่งการวิเคราะห์การลงทุนในจีนเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนและนโยบายทรัมป์ 2.0 ซึ่งมีผลต่อเศรษฐกิจไทยและโลก โดยมองว่าเศรษฐกิจจีนยังอยู่ในช่วง Stabilization คือเน้นทำให้เศรษฐกิจมีความมั่งคง รักษาระดับการเติบโต และเตรียมปรับโครงสร้างระยะยาว โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีผลต่อ GDP ประมาณ 15-30% ขณะที่รัฐบาลจะหันไปสนับสนุนเทคโนโลยีมากขึ้น เช่น พลังงานสะอาด ซึ่งมีสัดส่วนการเติบโตกว่า 8% ของ GDP ส่วนด้านนโยบาย ทรัมป์ 2.0 ที่มุ่งเป้าไปที่ประเทศจีนและดึงฐานการผลิตกลับสหรัฐฯ อาจเป็นการขึ้นกำแพงภาษีกับทุกประเทศ เพื่อดึงโรงงานจากจีนและประเทศอื่นๆ กลับไปยังสหรัฐฯ 
 
สำหรับท่าทีการตอบโต้ของจีน มองว่า จีนจะเน้นการพัฒนาตลาดภายในประเทศและขยายไปยังตลาดเกิดใหม่ เช่น ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเน้นลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ที่เริ่มต้นพร้อมกันระหว่างสหรัฐฯ และจีน เช่น AI, พลังงานทางเลือก และ Quantum Computing ซึ่งโดยสรุปแล้ว มองว่าการกระจายตัวทางเศรษฐกิจ (Globalization) ในรอบนี้ สหรัฐฯ และจีนจะพึ่งพาตนเองมากขึ้น ซึ่งอาจกระทบกับความมั่งคั่งที่ลดลง แต่จะแข็งแกร่งในระยะยาว ขณะที่ประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะไทยและประเทศกำลังพัฒนา จะเผชิญความท้าทายจากการย้ายฐานการผลิตกลับและสินค้าจีนที่ทะลักเข้าสู่ตลาดโลก

Krungsri Investment Intelligence แนะคอยความชัดเจนจากปัจจัยสำคัญ
 
ด้าน นายวิรัตน์ วิทยศรีธาดา, CFA ผู้บริหารฝ่ายกลยุทธ์และที่ปรึกษาการลงทุน และหัวหน้าทีม Krungsri Investment Intelligence ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มองปัจจัยสำคัญสำหรับการลงทุนในปี 2568 เป็น 4 ประเด็น ดังนี้
 
1. เศรษฐกิจโลกและสหรัฐฯ : นักลงทุนส่วนใหญ่มองว่าเศรษฐกิจโลกยังเติบโตได้ดี และมีโอกาสเกิด Recession ต่ำ อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง และความไม่แน่นอนจากนโยบายการค้าของทรัมป์ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจ
 
2. ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน : ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากการประกาศผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาด 7 ไตรมาสติดต่อกัน อย่างไรก็ตามในระยะถัดไป การเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งความท้าทายสำหรับตลาดหุ้นในปี 2568
 
3. อัตราผลตอบแทนของพันธบัตร (Bond Yield) : อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงช้าและเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง รวมถึงนโยบายทรัมป์ 2.0 อาจส่งผลให้ FED ปรับลดดอกเบี้ยได้น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ซึ่งจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรปรับตัวสูงขึ้น และกดดันราคาสินทรัพย์เสี่ยงโดยเฉพาะหุ้น ทั้งนี้ ด้วยตัวเลขเศรษฐกิจปัจจุบันที่ยังคงแข็งแกร่ง ส่งผลให้ Bond Yield อยู่ในระดับสูง ซึ่งมองว่าเป็นจังหวะที่ดีในการเข้าซื้อกองทุนตราสารหนี้โลก
 
4. นโยบายทรัมป์ 2.0 : อาจส่งผลให้เงินเฟ้อเร่งตัว และเพิ่มความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามนโยบายในแง่บวกคือนโยบายการลดภาษีนิติบุคคลและ Deregulation ทั้งนี้ผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั้งแง่บวกและลบ ขึ้นอยู่กับว่าทรัมป์จะสามารถดำเนินนโยบายตามที่สัญญาไว้ได้มากน้อยและรวดเร็วแค่ไหน
โดยทีม Krungsri Investment Intelligence ได้สรุปมุมมองและคำแนะนำการลงทุนของแต่ละสินทรัพย์ ไว้ดังนี้
 
- ตราสารหนี้โลก : แนะนำให้ลงทุนในช่วงที่อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้สหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยแนะนำกองทุน KF-CSINCOM ที่มีการปรับ Duration ของกองทุนสม่ำเสมอ และปรับสัดส่วน High Quality กับ High Yield ตามสภาวะตลาด
 
- ตลาดหุ้นโลก : มีมุมมองที่เป็นกลาง แต่มีมุมมองเป็นบวกกับการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ โดยมองว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะได้ประโยชน์จากมาตรการของทรัมป์ อย่างไรก็ตามควรติดตามผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากราคาหุ้นอาจมีความผันผวนจาก Valuation ที่อยู่ในระดับสูง
 
- หุ้นยุโรป : จังหวะซื้อที่ดีคือช่วงที่ตัวเลขเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว แต่ปัจจุบันเศรษฐกิจยุโรปยังมีความไม่แน่นอนสูง แนะนำรอความชัดเจนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
 
- หุ้นญี่ปุ่น : ยังคงได้รับประโยชน์จากค่าเงินเยนที่อ่อนและเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการที่บริษัทมีนโยบายการซื้อหุ้นคืน
 
- หุ้นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา : มองว่ามีปัจจัยกดดัน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ความไม่แน่นอนของการค้าระหว่างประเทศ ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า และอัตราผลตอบแทนสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
 
- หุ้นจีน : มองว่ากำลังเผชิญ 2 ประเด็นหลัก คือ การค้าระหว่างประเทศและภาคอสังหาฯ อย่างไรก็ตามมองว่ารัฐบาลจีนน่าจะมีการประกาศนโยบายด้านเศรษฐกิจเป็นระยะๆ ซึ่งจะเป็นผลบวกต่อตลาดหุ้น 
 
- หุ้นไทย : มองว่ามีความเสี่ยงจากการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสัดส่วนหลักของ GDP อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นปัจจัยบวก 
 
- หุ้นเวียดนาม : จะมีปัจจัยบวกจากการอัปเกรดเป็น Emerging Markets แต่ต้องระวังผลกระทบจากนโยบายการค้าของทรัมป์ ซึ่งมีผลต่อประเทศที่เกินดุลกับสหรัฐฯ 
 
สำหรับผู้สนใจบริการ KRUNGSRI PRIVATE BANKING สามารถเข้าไปปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนได้ที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขาทั่วประเทศ หรือศึกษารายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.krungsri.com/th/wealth/krungsri-private-banking 
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 23 ม.ค. 2568 เวลา : 11:02:49
24-01-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (23 ม.ค.68) ดัชนีอยู่ที่ 1,344.17 จุด ลบ 17.60 จุด

2. ประกาศ กปน.: 27 ม.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนประชาชื่น

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (23 ม.ค.68) ลบ 5.60 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,356.17 จุด

4. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีแนวรับที่ระดับ 2,745 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,780 เหรียญ

5. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (23 ม.ค.68) อ่อนค่าลง ที่ระดับ 33.91 บาทต่อดอลลาร์

6. ทั่วไทยอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย "ยอดดอย" หนาวถึงหนาวจัด 4 องศา มีน้ำค้างแข็งบางแห่ง "ยอดภู" 8 องศา

7. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 33.80-34.00 บาท/ดอลลาร์

8. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (22 ม.ค.68) บวก 11.70 เหรียญ นักลงทุนเดินหน้าซื้อทองคำสินทรัพย์ปลอดภัย

9. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (22 ม.ค.68) บวก 130.92 จุด รับ โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศโครงการลงทุน AI

10. ตลาดหุ้นไทยเปิด (23 ม.ค.68) ลบ 1.72 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,360.05 จุด

11. ข่าวดี!!! พรุ่งนี้น้ำมันลด "เบนซิน - แก๊สโซฮอล์" ลด 40 สต./ลิตร เว้น E85 ลด 50 สต.

12. ประกาศ กปน.: 28 ม.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนบางนา-ตราด

13. ตลาดหุ้นปิด (22 ม.ค.68) บวก 9.24 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.77 จุด

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (22 ม.ค.68) บวก 7.15 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,359.68 จุด

15. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีแนวรับที่ระดับ 2,720 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,770 เหรียญ

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ January 24, 2025, 4:06 am