เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสรุปภาวะตลาดเงินตลาดทุนรายสัปดาห์ "เงินบาทอ่อนค่า ขณะที่ ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลงจากสัปดาห์ก่อน"


สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท

· เงินบาทอ่อนค่าลงเข้าใกล้ระดับ 34.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ

เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้น-กลางสัปดาห์สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค (สกุลเงินเอเชียอื่นๆ อ่อนค่าลงสอดคล้องกับเงินหยวนและเงินเยน ขณะที่ เงินรูเปียห์แตะระดับอ่อนค่าสุดนับตั้งแต่มิ.ย. 2541) ท่ามกลางแรงหนุนต่อเนื่องของเงินดอลลาร์ฯ จากสัญญาณไม่รีบปรับลดดอกเบี้ยของเฟด นอกจากนี้ เงินบาทยังมีปัจจัยลบจากสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติด้วยเช่นกัน

เงินบาทฟื้นตัวขึ้นช่วงสั้น ๆ ระหว่างสัปดาห์ โดยมีอานิสงส์สำคัญจากการทะยานกลับมาทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ของราคาทองคำในตลาดโลก แต่กลับไปอ่อนค่าลงอีกครั้งในช่วงท้ายสัปดาห์ตามแรงขายสุทธิหุ้นไทยของต่างชาติ (ประกอบกับตลาดหุ้นไทยภาคบ่ายปิดการซื้อขาย หลังแผ่นดินไหวรุนแรง)
 

 
· ในวันศุกร์ที่ 28 มี.ค. 2568 เงินบาทปิดตลาดในประเทศที่ 33.98 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับระดับ 33.87 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (21 มี.ค.) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 24-28 มี.ค. 2568 นั้น นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 4,106.21 ล้านบาท และมีสถานะอยู่ในฝั่ง Net Outflows ออกจากตลาดพันธบัตรไทย 1,845 ล้านบาท (แบ่งเป็น ขายสุทธิพันธบัตร 1,701 ล้านบาท และตราสารหนี้หมดอายุ 144 ล้านบาท)

· สัปดาห์ระหว่างวันที่ 31 มี.ค.-4 เม.ย. 2568 ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 33.30-34.30 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ รายละเอียดของการเรียกเก็บ Reciprocal Tariff ของสหรัฐฯ ทิศทางราคาทองคำในตลาดโลก สัญญาณฟันด์โฟลว์ของต่างชาติ และตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนมี.ค. ของไทย ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี ISM และ PMI ภาคการผลิต/ภาคบริการ ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชน ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานเดือนมี.ค. ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนก.พ. รวมถึงตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามข้อมูลดัชนี PMI เดือนมี.ค. ของจีน ญี่ปุ่น ยูโรโซนและอังกฤษ รวมถึงอัตราเงินเฟ้อเดือนมี.ค. ของยูโรโซนด้วยเช่นกัน

สรุปความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย

· ดัชนีหุ้นไทยพลิกร่วงลงท้ายสัปดาห์ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของสงครามการค้า ขณะที่ตลาดหุ้นปิดการซื้อขายในช่วงบ่ายของวันศุกร์หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรง

ดัชนีหุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบแคบเกือบตลอดสัปดาห์ โดยในช่วงแรกตลาดหุ้นมีแรงหนุนจากรายงานข่าวที่ว่าสหรัฐฯ อาจบังคับใช้มาตรการภาษีตอบโต้แบบเจาะจง ซึ่งช่วยคลายความกังวลบางส่วนต่อประเด็นสงครามการค้า ประกอบกับมีแรงซื้อหุ้นรายตัวเข้ามาหนุน โดยเฉพาะหุ้นบริษัทด้านพลังงานรายใหญ่แห่งหนึ่งและบริษัทค้าปลีกรายใหญ่แห่งหนึ่งที่ประกาศแผนซื้อคืนหุ้น รวมถึงหุ้นผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่แห่งหนึ่ง แต่กรอบการปรับขึ้นค่อนข้างจำกัด เนื่องจากนักลงทุนยังกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของประเด็นสงครามการค้า

อย่างไรก็ดี หลังปธน. สหรัฐฯ ประกาศเดินหน้าเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ในอัตรา 25% โดยมีผลบังใช้ในวันที่ 2 เม.ย. นี้ ก็ส่งผลให้ตลาดกลับมากังวลว่าสงครามการค้าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นและเกิดแรงเทขายเพื่อลดความเสี่ยง ทั้งนี้ปริมาณการซื้อขายในสัปดาห์นี้ค่อนข้างเบาบาง โดยเฉพาะวันศุกร์ ซึ่งเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ประกาศปิดการซื้อขายในช่วงบ่าย อนึ่ง สัปดาห์นี้หุ้นแบงก์ปรับตัวได้ต่อเนื่องสวนทางกับภาพรวมตลาด เนื่องจากมีแรงหนุนจากแรงซื้อก่อนจ่ายปันผลและประกาศงบไตรมาส 1/2568

 
· ในวันศุกร์ที่ 28 มี.ค. 2568 ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,175.45 จุด ลดลง 0.94% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 25,147.89 ล้านบาท ลดลง 40.04% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai ลดลง 1.49% มาปิดที่ระดับ 242.90 จุด

· สัปดาห์ถัดไป (31 มี.ค. – 4 เม.ย. 68) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,165 และ 1,155 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,185 และ 1,200 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมี.ค. ของไทย ประเด็นความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้า รวมถึงทิศทางเงินทุนต่างชาติ ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี ISM/PMI ภาคการผลิตและการบริการ ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนของ ADP ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงานเดือนมี.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่ปัจจัยเศรษฐกิจต่างประเทศอื่น ๆ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการเดือนมี.ค. ของญี่ปุ่น จีน ยูโรโซน ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมี.ค. (เบื้องต้น) และดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนก.พ. ของยูโรโซน ตลอดจนผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.พ. ของญี่ปุ่น
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 28 มี.ค. 2568 เวลา : 20:28:09
02-04-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ประกาศ กปน.: ด่วนมาก!!! คืนวันนี้ 1 เม.ย. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนประชาอุทิศ-วัดคู่สร้าง

2. ตลาดหุ้นปิด (1 เม.ย.68) บวก 9.93 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,168.02 จุด

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (1 เม.ย.68) บวก 15.74 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,173.83 จุด

4. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 3,110 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 3,160 เหรียญ

5. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (31 มี.ค.68) บวก 417.86 จุด แต่ตลาดยังกังวลมาตรการภาษีนำเข้าของทรัมป์

6. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (31 มี.ค.68) ทำนิวไฮพุ่ง 36 เหรียญ รับแรงซื้อทองสินทรัพย์ปลอดภัย

7. "กรุงเทพปริมณฑล-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่ง ตต." ฝนฟ้าคะนอง 30% ภาคใต้ ฝั่ง ตอ. 40% ภาคเหนือ 20% ภาคอีสาน 10%

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 33.90-34.10 บาท/ดอลลาร์

9. ตลาดหุ้นไทยเปิด (1 เม.ย.68) บวก 8.10 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,165.76 จุด

10. ทองเปิดตลาดวันนี้ (1 เม.ย. 68) พุ่งขึ้น 450 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 51,300 บาท

11. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (1 เม.ย.68) อ่อนค่าลงเล็กน้อยที่ระดับ 33.99 บาทต่อดอลลาร์

12. ประกาศ กปน.: 5 เม.ย. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง

13. ตลาดหุ้นปิดวันนี้ (31 มี.ค.68) ลบ 17.36 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,158.09 จุด

14. ประกาศ กปน.: 11 เม.ย. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง

15. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (31 มี.ค.68) ลบ 17.41 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,158.04 จุด

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 2, 2025, 8:12 am