เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
คลังเผยความคืบหน้ามาตรการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวปี 2568


 
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินการตามแถลงการณ์ของนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 โดยมีมาตรการที่สำคัญของกระทรวงการคลัง สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อดูแลและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนกลุ่มต่างๆ และผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2568 ดังนี้ 

1. มาตรการขยายวงเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย
 
กรมบัญชีกลางได้ขยายวงเงินทดรองราชการเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน  (กรณีแผ่นดินไหว) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและ 76 จังหวัด ซึ่งเป็นวงเงินในอำนาจของอธิบดี      กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจำนวน 200 ล้านบาท สำหรับใช้จ่ายด้านการดำรงชีพและด้านการปฏิบัติงาน 
 
2. มาตรการผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
 
2.1 ธนาคารออมสิน 
 
2.1.1 มาตรการแบ่งเบาภาระลูกหนี้ปัจจุบัน สำหรับสินเชื่อบ้าน สินเชื่อธนาคารประชาชน และสินเชื่อSMEs โดยพักชำระเงินต้นทั้งหมด และลดดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 0 สูงสุดเป็นระยะเวลา 3 เดือน
 
2.1.2 มาตรการสินเชื่อเพื่อกู้ซ่อมแซมบ้าน กู้ฟื้นฟูกิจการ สำหรับลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ 
 
- สินเชื่อฉุกเฉิน วงเงินกู้สูงสุด 20,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 สูงสุดเป็นระยะเวลา 3 เดือน
 
- สินเชื่อกู้ซ่อมแซมบ้าน และสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูกิจการ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 สูงสุดเป็นระยะเวลา 3 เดือน
2.2 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 
 
2.2.1 โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ปี 2568 เพื่อเสริมสภาพคล่องเกษตรกร
ในด้านค่าใช้จ่ายทั่วไป เช่น ค่าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็น วงเงินต่อรายไม่เกิน 50,000 บาทอัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR ของ ธ.ก.ส. เท่ากับร้อยละ 6.925 ต่อปี) ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปีปลอดชำระดอกเบี้ยใน 6 เดือนแรก
 
2.2.2 โครงการสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป็นค่าลงทุนในการซ่อมแซมบ้านเรือนทรัพย์สิน ค่าซ่อมเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตรที่ได้รับความเสียหาย วงเงินต่อราย   ไม่เกิน 500,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MRR – 2 ต่อปี ระยะเวลากู้ไม่เกิน 15 ปี 
 
2.3 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) 
 
2.3.1 โครงการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย จำนวน 2 มาตรการ ประกอบด้วย 
 
2.3.1.1 กรณีลูกค้าปัจจุบัน ได้รับการลดเงินงวดและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยจะพักชำระหนี้ ใน 3 เดือนแรก พร้อมลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เหลือร้อยละ 0 ต่อปี และเดือนที่ 4 – 12 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.00 ต่อปี พร้อมลดเงินงวดลงร้อยละ 50 ของเงินงวดที่ชำระในปัจจุบัน
 
2.3.1.2 กรณีลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าใหม่ สามารถขอกู้ใหม่หรือกู้เพิ่มเพื่อซ่อมแซมหรือปลูกสร้างทดแทนหลังเดิม วงเงินกู้สูงสุดต่อรายต่อหลักประกันไม่เกิน 2 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเดือนที่ 1 – 3 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อปี พร้อมปลอดชำระเงินงวด เดือนที่ 4 – 24 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.00 ต่อปี 
 
2.3.2 มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ ปี 2568
 
2.3.2.1 มาตรการประนอมหนี้ สำหรับลูกค้าที่ค้างชำระเงินงวดติดต่อกันมากกว่า 3 เดือน หรือมีสถานะอยู่ระหว่างประนอมหนี้ ในกรณีหลักประกันเสียหาย 2) กรณีได้รับผลกระทบต่อรายได้ 3) กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร และ 4) กรณีหลักประกันได้รับความเสียหายทั้งหลังไม่สามารถซ่อมแซมได้ 
 
 ทั้งนี้ ลูกค้าที่มีสถานะหนี้ปกติ สามารถเข้าร่วมมาตรการที่ 3) และ 4) ได้โดยจะพิจารณาเป็นรายกรณี
 
2.3.2.2 มาตรการสินไหมเร่งด่วน สำหรับลูกค้าที่เป็นผู้ประสบภัย กรณีทำกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย ซึ่งคุ้มครองภัยธรรมชาติ จะได้รับค่าสินไหมเร่งด่วนกรณีพิเศษ 
 
ทั้งนี้ เงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่ ธอส. กำหนด โดยสามารถยื่นคำขอเข้าร่วมมาตรการได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2568

2.4 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย 
 
2.4.1 มาตรการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบทางตรงและทางอ้อม สำหรับเงินกู้ยืมแบบมีระยะเวลาพักชำระหนี้สูงสุดไม่เกิน 12 เดือน และกลุ่มสัญญาเบิกเงินทุนหมุนเวียนประเภทตั๋วสัญญาใช้เงินและสินเชื่อแฟคตอริ่ง ขยายระยะเวลาชำระตั๋วสัญญาใช้เงินออกไปสูงสุด 180 วัน และสามารถพักชำระดอกเบี้ยได้
 
2.4.2 มาตรการเติมทุนฉุกเฉิน เพื่อซ่อมแซมฟื้นฟูกิจการ ให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยให้สินเชื่อวงเงินกู้ร้อยละ 10 ของวงเงินเดิม สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี (ปัจจุบัน MLR เท่ากับร้อยละ 7.3 ต่อปี) ระยะเวลากู้ 3 ปี ปลอดชำระเงินต้น 12 เดือน ไม่มีหลักประกัน และยกเว้นค่าธรรมเนียม 
 
ทั้งนี้ สามารถยื่นคำขอเข้าร่วมมาตรการได้ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป
 
2.5 ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) 
 
2.5.1 มาตรการไอแบงก์ไม่ทิ้งกัน 
 
ลูกค้าเดิม : พักชำระเงินต้นและกำไรสูงสุด 6 เดือน  
 
ลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ : สามารถขอสินเชื่อ เพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหรือฟื้นฟูกิจการ วงเงินสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท อัตรากำไรต่ำสุดร้อยละ 1.99 ในปีแรก  และระยะเวลากู้ยืมไม่เกิน 20 ปี
 
2.6. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) 
 
2.6.1 มาตรการช่วยเหลือเงินกู้ระยะสั้น ขยายระยะเวลาตั๋วสัญญาใช้เงินสูงสุด 180 วัน เพิ่มวงเงินหมุนเวียนชั่วคราวสูงสุดร้อยละ 20 ของวงเงินหมุนเวียนเดิม วงเงินกู้ต่อรายไม่เกิน 2 ล้านบาท และเปลี่ยนแปลงภาระหนี้ระยะสั้นเป็นภาระหนี้ระยะยาวผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 3 ปี
 
2.6.2 มาตรการช่วยเหลือสำหรับวงเงินกู้ระยะยาว ขยายระยะเวลาเงินกู้สูงสุด 7 ปี ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ปีแรกลงร้อยละ 0.50 หรือจ่ายดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 50 ในช่วง 6 เดือนแรก และพักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 1 ปี รวมทั้งเพิ่มวงเงินสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ย Prime Rate ในปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 6.25
 
2.7. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จำนวน 2 มาตรการ ได้แก่ 
 
2.7.1 มาตรการพักชำระค่าธรรมเนียม สำหรับลูกค้า บสย. ที่ถึงกำหนดชำระค่าธรรมเนียม
การค้ำประกันสินเชื่อและค่าจัดการค้ำประกันตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2568 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2568 สามารถพักชำระค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อและค่าจัดการค้ำประกันสินเชื่อเป็นระยะเวลา 6 เดือน นับจากวันถึงกำหนดชำระ
 
2.7.2 มาตรการพักชำระค่างวด สำหรับลูกหนี้ ที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระตามแผนปรับโครงสร้างหนี้และไม่ผิดนัดชำระหนี้ โดยสามารถพักชำระค่างวดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ระยะเวลายื่นขอพักชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2568 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2568
 
2.8 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
 
2.8.1 มาตรการแบ่งเบาภาระลูกค้าสินเชื่อปัจจุบัน ลดค่างวดร้อยละ 75 ของค่างวดปัจจุบัน (ชำระเพียงร้อยละ 25) เป็นระยะเวลา 1 ปี โดย 1) ลูกหนี้บ้านและ SMEs คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0 ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นคิดดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี เป็นระยะเวลา 33 เดือน และ 2) ลูกหนี้บุคคล คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี
 
2.8.2 มาตรการสินเชื่อเพื่อกู้ ซ่อมบ้าน/กู้ ฟื้นฟูกิจการ 1) ลูกค้าบ้าน และ SMEs คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0 เป็นระยะเวลา 3 เดือน หลังจากนั้น คิดดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี เป็นระยะเวลา 33 เดือน และ 2) ลูกค้าบุคคล คิดดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี 

3. มาตรการด้านการประกันภัย
 
• คปภ. ได้เข้าพื้นที่ประสบภัย (อาคาร สตง. แห่งใหม่) พร้อมบริษัทประกัน 4 บริษัทเพื่อตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ และอยู่ระหว่างประสานขอรายละเอียดส่วนบุคคลของผู้สูญหายเพื่อค้นหาในระบบฐานข้อมูลของ คปภ. พร้อมแจ้งให้บริษัทประกันภัยให้ความช่วยเหลืออย่างดีที่สุด
 
• นอกจากนี้ คปภ. อยู่ระหว่างการตรวจสอบฐานะการเงินของบริษัทประกันภัยทั้ง 4 แห่ง เบื้องต้นทราบว่ามีการประกันภัยต่อไปยังบริษัทต่างประเทศ ทำให้ไม่กระทบต่อฐานะการเงินของบริษัทแต่อย่างใด
 
• ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. ได้ประสานไปยังสมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย และบริษัทประกันภัยทุกบริษัท เพื่อเร่งติดตามสถานการณ์และให้การช่วยเหลือประชาชนที่ ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน ตลอดจนพิจารณาชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทนให้เป็นไปอย่างถูกต้องและรวดเร็ว นอกจากนี้ คปภ. ยังได้เปิดบริการสายด่วน คปภ. 1186 เพื่อให้คำปรึกษาผู้เอาประกันภัยและประชาชนที่ได้รับผลกระทบตลอด 24 ชั่วโมง

นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ขอความร่วมมือจากสถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับของ ธปท. ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มิใช่สถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับที่มิใช่สถาบันการเงิน ดังนี้
 
1. พิจารณาปรับลดอัตราการผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ ให้ต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำที่ ธปท. กำหนดได้ สูงสุดไม่เกิน 12 เดือน
 
2. พิจารณาให้วงเงินชั่วคราวฉุกเฉินที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีพและระยะเวลาการชำระคืนสินเชื่อให้สอดคล้องกับความจำเป็นของลูกหนี้
 
3. พิจารณาให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนและสภาพคล่องแก่ลูกหนี้เพื่อซ่อมแซม ที่อยู่อาศัย หรือเพื่อให้สามารถประกอบอาชีพหรือดำเนินธุรกิจต่อไปได้ รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยไม่ต้องนำหลักเกณฑ์การพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ตามแนวทาง Responsible Lending มาใช้
 
4. ให้สามารถคงสถานการณ์จัดชั้นสำหรับลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือและยังไม่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพไว้ตามเดิมก่อนเกิดเหตุสาธารณภัยได้ สำหรับการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มดังกล่าว เช่น การให้สินเชื่อใหม่หรือสภาพคล่องเพิ่มเติมในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ การลดเงินต้น หรือดอกเบี้ย หรือการผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ เป็นต้น
 
โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวในตอนท้ายว่า นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ขอให้ประชาชน นักลงทุน และผู้ประกอบการเชื่อมั่นว่า ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยมีความเข้มแข็ง มีเสถียรภาพ และหน่วยงานภาครัฐพร้อมดำเนินการทุกมาตรการที่จำเป็น เพื่อให้สถานการณ์อยู่ภายใต้การควบคุมอย่างรอบคอบและมีประสิทธิภาพ โดยกระทรวงการคลังจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและจะแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมหากมีความคืบหน้าเป็นลำดับในโอกาสต่อไป
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 30 มี.ค. 2568 เวลา : 12:41:01
02-04-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ประกาศ กปน.: ด่วนมาก!!! คืนวันนี้ 1 เม.ย. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนประชาอุทิศ-วัดคู่สร้าง

2. ตลาดหุ้นปิด (1 เม.ย.68) บวก 9.93 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,168.02 จุด

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (1 เม.ย.68) บวก 15.74 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,173.83 จุด

4. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 3,110 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 3,160 เหรียญ

5. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (31 มี.ค.68) บวก 417.86 จุด แต่ตลาดยังกังวลมาตรการภาษีนำเข้าของทรัมป์

6. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (31 มี.ค.68) ทำนิวไฮพุ่ง 36 เหรียญ รับแรงซื้อทองสินทรัพย์ปลอดภัย

7. "กรุงเทพปริมณฑล-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่ง ตต." ฝนฟ้าคะนอง 30% ภาคใต้ ฝั่ง ตอ. 40% ภาคเหนือ 20% ภาคอีสาน 10%

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 33.90-34.10 บาท/ดอลลาร์

9. ตลาดหุ้นไทยเปิด (1 เม.ย.68) บวก 8.10 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,165.76 จุด

10. ทองเปิดตลาดวันนี้ (1 เม.ย. 68) พุ่งขึ้น 450 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 51,300 บาท

11. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (1 เม.ย.68) อ่อนค่าลงเล็กน้อยที่ระดับ 33.99 บาทต่อดอลลาร์

12. ประกาศ กปน.: 5 เม.ย. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง

13. ตลาดหุ้นปิดวันนี้ (31 มี.ค.68) ลบ 17.36 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,158.09 จุด

14. ประกาศ กปน.: 11 เม.ย. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง

15. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (31 มี.ค.68) ลบ 17.41 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,158.04 จุด

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 2, 2025, 8:17 am