
(-) ราคาน้ํามันดิบปรับตัวลดลง หลังตลาดยังคงกังวลต่อภาพการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ภายหลังดัชนีราคาจากรายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE) ในเดือน ก.พ. 68 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.8% ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 2.7% ตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่าปัญหาเกี่ยวกับเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ยังคงจับตาอย่างใกล้ชิด
(+/-) ตลาดจับตาท่าทีของการดำเนินนโยบายของสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิดในสัปดาห์นี้ หลังตลาดคาดรัฐบาลสหรัฐฯ เตรียมประกาศมาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariff) กับประเทศในกลุ่ม "Dirty 15" อันประกอบด้วยเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก อันได้แก่ จีน อินเดียและสหภาพยุโรป เป็นต้น
(+/-) ตลาดจับตาสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางอย่างใกล้ชิด หลังอิสราเอลเปิดฉากโจมตีทางตอนใต้ของเบรุต ซึ่งถือเป็นเมืองหลวงของเลบานอนอีกครั้งนึง เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังในช่วงเดือนที่ผ่านมา สหรัฐฯ และอิสราเอลได้เปิดปฎิบัติการทางทหารเพื่อโจมตีกลุ่มฮูตีและฮามาสครั้งใหม่ อย่างไรก็ดี ล่าสุดอิสราเอลและฮามาสได้แจ้งผ่านอียิปต์และกาตาร์ซึ่งถือเป็นตัวกลางในเจรจาไกล่เกลี่ยมาโดยตลอดว่าอาจบรรลุข้อตกลงหยุดยิงครั้งใหม่เป็นระยะเวลา 50 วัน
ราคาน้ำมันเบนซิน
ราคาน้ำมันเบนซินปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดูไบ หลังตลาดคาดการนำเข้าน้ำมันเบนซินของอินโดนีเซียมีแนวโน้มปรับลดลง ภายหลังค่าเงินของอินโดนีเซียอ่อนค่าลงมากที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการเงินในช่วงปี 2540 อย่างไรก็ดี ตลาดยังคงได้รับแรงหนุนจากปริมาณสต๊อกน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ สำหรับสิ้นสุด ณ วันที่ 21 มี.ค. ปรับลดลง 1.45 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 239.1 ล้านบาร์เรล
ราคาน้ำมันดีเซล
ราคาน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดูไบ หลังปริมาณสต๊อกน้ำมันดีเซลคงคลังสิงคโปร์ สำหรับสิ้นสุด ณ วันที่ 27 มี.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 3.2% สู่ระดับ 10.22 ล้านบาร์เรล นอกจากนี้ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากปริมาณการส่งออกน้ำมันดีเซลของเกาหลีใต้ในเดือน ก.พ. 68 ที่ปรับเพิ่มขึ้น 6.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
ข่าวเด่น