แบงก์-นอนแบงก์
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศกำไรสุทธิ ไตรมาส 1 ปี 2568 จำนวน 838.1 ล้านบาท


• กำไรสุทธิ 838.1 ล้านบาท (+33.9% YoY)
• รายได้จากการดำเนินงาน 3,583.8 ล้านบาท (+2.2% YoY) 
• รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น 20.7% YoY 
• รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง 5.1% YoY
• อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ลดลงเหลือ 47.6% เทียบกับ 62.5%  Q1/ 2024 
 

 
พอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย  เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคาร สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2567 มีกำไรสุทธิจำนวน 838.1  ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 212.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 33.9 เมื่อเปรียบเทียบผลกำไรสุทธิของงวดเดียวกันปี 2567 สาเหตุหลักเกิดจากรายได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 และการควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดีขึ้นส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลงร้อยละ 22.1 ในขณะที่ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.2 
 
 
รายได้จากการดำเนินงาน สำหรับงวดสามเดือนปี 2568  มีจำนวน 3,583.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 77.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.2 เมื่อเปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2567 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการดำเนินงานอื่นเพิ่มขึ้นจำนวน 134.3 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.1 สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุนและกำไรสุทธิจากการขายเงินลงทุน   สุทธิกับการลดลงของกำไรสุทธิจากการขายสินเชื่อด้อยคุณภาพ รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 62.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.7 เกิดจากการลดลงของค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมและบริการ  รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงจำนวน 118.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.1 เนื่องจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อและเงินลงทุน    
 
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสำหรับงวดสามเดือนปี 2568 เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันปี 2567 ลดลงจำนวน 485.3 ล้านบาทหรือร้อยละ 22.1 เนื่องจากการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย ทำให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้จากการดำเนินงานสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2568 อยู่ที่ร้อยละ 47.6 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปี 2567 อยู่ที่ร้อยละ 62.5
 
อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Net Interest Margin – NIM) สำหรับงวดสามเดือนปี 2568 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 ลดลงจากงวดเดียวกันปี 2567 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 เป็นผลจากการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อและเงินลงทุน

วันที่ 31 มีนาคม 2568 เงินให้สินเชื่อสุทธิจากรายได้รอตัดบัญชี (รวมเงินให้สินเชื่อซึ่งค้ำประกันโดยธนาคารอื่นและเงินให้สินเชื่อแก่สถาบันการเงิน) ของกลุ่มธนาคารอยู่ที่ 246.3 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.0  เมื่อเทียบกับเงินให้สินเชื่อ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567   กลุ่มธนาคารมีเงินฝาก (รวมตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ และผลิตภัณฑ์ทางการเงินบางประเภท) จำนวน 310.5 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.2 จากสิ้นปี 2567 ซึ่งมีจำนวน 324.0 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (the Modified Loan to Deposit Ratio) ของกลุ่มธนาคารเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 79.3 จากร้อยละ 77.6 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567
 
สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) อยู่ที่ 6.9 พันล้านบาท อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ต่อเงินให้สินเชื่อทั้งสิ้นอยู่ที่ร้อยละ 2.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 อยู่ที่ร้อยละ 2.6  เป็นผลจากการขายสินเชื่อด้อยคุณภาพในปี 2567  อย่างไรก็ตาม ธนาคารซีไอเอ็มบีไทยยังคงมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อ และนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุมขึ้น ตลอดจนได้มีแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการติดตามหนี้ การดำเนินการดูแลและการแก้ไขลูกหนี้ที่ถูกผลกระทบดังกล่าวอย่างใกล้ชิด 
 
อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568 อยู่ที่ร้อยละ 134.3  ลดลงจากสิ้นปี 2567 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 137.9  ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของกลุ่มธนาคารอยู่ที่จำนวน 9.1 พันล้านบาท ซึ่งเป็นเงินสำรองส่วนเกินตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 1.5 พันล้านบาท
 
เงินกองทุนรวมของกลุ่มธนาคาร ณ สิ้นวันที่ 31 มีนาคม 2568 มีจำนวน 59.7 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยงร้อยละ 21.4 โดยเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ร้อยละ 16.7
 
“สำหรับปี 2025 เราระมัดระวังในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจ ท่ามกลางความไม่แน่นอนจากปัจจัยภายนอกและภูมิรัฐศาสตร์ อย่างไรก็ตาม เรายังคงเชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของตลาด ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศ เป้าหมายของธนาคาร คือการผลักดันผลการดำเนินงานหลักและความสามารถในการทำกำไร พร้อมทั้งมองหาโอกาสใหม่ ๆ ที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งในระยะยาว ภายใต้แผนกลยุทธ์ใหม่ของกลุ่มซีไอเอ็มบี นั่นคือ 'Forward30' – Advancing Customer And Society เรามุ่งมั่นในการขับเคลื่อนลูกค้าและสังคมไปข้างหน้า ด้วยแนวทางการทำงานที่ “เรียบง่าย รวดเร็ว และดียิ่งขึ้น” พอล วอง กล่าวทิ้งท้าย
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 18 เม.ย. 2568 เวลา : 13:06:45
09-05-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ประกาศ กปน.: 13 พ.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนสุขสวัสดิ์ ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านใต้) และถนนอนามัยงามเจริญ

2. ตลาดหุ้นปิดวันนี้ (8 พ.ค.68) ลบ 13.68 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,206.59 จุด

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (8 พ.ค.68) ลบ 7.43 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,212.84 จุด

4. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (7 พ.ค.68) ร่วง 30.90 เหรียญ รับสงครามการค้าส่งสัญญาณคลี่คลาย

5. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีแนวรับที่ระดับ 3,380 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 3,425 เหรียญ

6. ทั่วไทยฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ภาคใต้ ฝน 40-60% ภาคตะวันออก 40% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคอีสาน-ภาคกลาง 30% ภาคเหนือ 20%

7. ทองเปิดตลาดวันนี้ (8 พ.ค. 68) พุ่งขึ้น 400 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 53,600 บาท

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 32.70-33.00 บาท/ดอลลาร์

9. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (7 พ.ค.68) บวก 284.97 จุด รับข่าวผ่อนปรนคุมเข้ม AI ดันหุ้นชิปพุ่ง-เฟดคงดอกเบี้ย

10. ตลาดหุ้นไทยเปิดวันนี้ (8 พ.ค.68) ลบ 1.76 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,218.51 จุด

11. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (8 พ.ค.68) อ่อนค่าลง ที่ระดับ 32.87 บาทต่อดอลลาร์

12. ประกาศ กปน.: ด่วน!!! คืนวันพรุ่งนี้ 8 พ.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำประชานุกูล

13. ตลาดหุ้นปิด (7 พ.ค.68) บวก 32.41 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,220.27 จุด

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (7 พ.ค.68) บวก 20.03 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,207.89 จุด

15. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (6 พ.ค.68) ร่วง 389.83 จุด นักลงทุนกังวลมาตรการภาษีทรัมป์ไร้ความแน่นอน

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 9, 2025, 4:38 am