เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ธนาคารกรุงไทย วิเคราะห์ "Digital Wallet ตัวช่วยเศรษฐกิจไทย ในยามที่การฟื้นตัวยังเปราะบาง"


 
เศรษฐกิจไทยระยะหลังต้องเผชิญกับการเติบโตที่อยู่ในระดับต่ำกว่าศักยภาพมาอย่างต่อเนื่อง จากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัวและกำลังซื้อในประเทศซึ่งยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึง เพื่อประคองการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศที่เปราะบาง โครงการ Digital Wallet ซึ่งคาดว่าจะเริ่มโอนเงินให้กับผู้เข้าร่วมโครงการช่วงไตรมาสที่ 4/2567 จึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยหนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าให้มีความต่อเนื่อง
 
โครงการ Digital Wallet ถือเป็นมาตรการ Quick-win ที่จะผลักดันอุปสงค์ภายในประเทศให้ฟื้นตัวได้ทั่วถึงมากขึ้น ทั้งยังช่วยกระตุ้นความเชื่อมั่นต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย
 
Krungthai COMPASS มองว่าโครงการ Digital wallet สามารถต่อยอดสู่การช่วยผันเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่ในระบบมากขึ้น ในภาวะที่เศรษฐกิจนอกระบบของไทยยังมีขนาดใหญ่ถึง 48.4% ของ GDP รวมถึงการต่อยอดไปสู่ Data driven economy และ Digital economy อย่างเต็มขั้นมากขึ้น
 
เศรษฐกิจไทยโตต่ำติดต่อกันการเร่งกระจายเม็ดเงินเข้าระบบมีความจำเป็น
 
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต้องเผชิญกับการเติบโตที่เปราะบาง ซึ่งในระยะหลังอัตราการเติบโตอยู่ในระดับต่ำกว่าศักยภาพมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตัวเลขจีดีพีล่าสุดในไตรมาสที่ 4/2566 ซึ่งเติบโตได้เพียง 1.7%YoY จากปีก่อน และเมื่อเทียบรายไตรมาสแล้วหดตัวลง -0.6%QoQSA จากช่วงไตรมาสก่อน ขณะที่ตัวเลขทั้งปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียง 1.9% ชะลอลงจาก 2.5% ในปี 2565 
 

 
เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยหลักที่จำกัดการเติบโตทางเศรษฐกิจจะพบว่า ไทยมิได้เผชิญกับแรงกดดันจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลให้การส่งออกสินค้าฟื้นตัวอย่างอ่อนแอเท่านั้น แต่ในภาคอุปสงค์ภายในประเทศ การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุนของภาครัฐและเอกชนต่างอ่อนกำลังลง 
ปัจจัยระยะสั้นประการหนึ่ง คือ กระบวนการงบประมาณปี 2567 ที่ใช้เวลานานกว่าที่คาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนของรัฐบาล นอกจากนี้ การบริโภคภาคเอกชนยังมีทิศทางชะลอตัวลงตามรายได้ที่ยังฟื้นตัวได้ไม่ทั่วถึงและภาระหนี้ครัวเรือน ภาวะดังกล่าวบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจไทยกำลังขาดแรงส่งซึ่งจะฉุดรั้งการฟื้นตัวในระยะข้างหน้า เศรษฐกิจไทยจึงต้องการแรงหนุนเพิ่มเติมจากนโยบายการเงินการคลังเพื่อการฟื้นตัวที่ต่อเนื่อง โครงการ Digital Wallet ซึ่งรัฐบาลมีแผนว่าจะเริ่มดำเนินการโอนเงินให้กับผู้เข้าร่วมโครงการในช่วงไตรมาสที่ 4/2567 จึงอาจเป็นแรงหนุนการฟื้นตัวต่อไปในระยะข้างหน้า

 

 
โครงการDigital Wallet มาตรการสนับสนุนกำลังซื้อเพื่อกระตุ้นการบริโภคในระยะข้างหน้า
 
มาตรการกระเป๋าเงินดิจิทัลหรือ Digital Wallet ถือเป็นเครื่องมืออัดฉีดเข้าระบบที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศซึ่งอยู่ในภาวะอ่อนแอ และช่วยประคองการเติบโตทางเศรษฐกิจท่ามกลางอุปสงค์ภายนอกประเทศที่ฟื้นตัวอย่างเปราะบางและมีความเสี่ยงสูงจากปัจจัยหลายด้าน มาตรการ Digital Wallet นี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 5.0 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 2.8% ของ GDP ซึ่งการโอนเงินโดยตรงถึงมือประชาชนเพื่อเพิ่มกำลังซื้อและหนุนการใช้จ่ายอุปโภคบริโภคผ่านร้านค้าปลีกในภูมิลำเนาของตนจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ทั้งยังช่วยหนุนให้กิจกรรมการค้าปลีกรายย่อยเข้าสู่ระบบ อันจะเป็นที่มาของรายได้รัฐบาลในอนาคต อีกทั้งยังผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและการใช้จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่สำคัญของประเทศ 
 
 
 
คาด Digital Wallet จะหนุนการขยายตัวของ GDP ได้ประมาณ 1.2-1.6%
 
นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่มุ่งเป้าไปยังกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางถึงระดับล่างให้เกิดการใช้จ่ายเพิ่มเติมผ่านร้านค้าปลีกในพื้นที่ใกล้บ้านจากการโอนเงินโดยตรง จะช่วยสร้างแรงกระตุ้นต่ออุปสงค์ภายในประเทศผ่านเงินที่ถูกหนุนเวียน ทั้งจากผู้บริโภคไปยังร้านค้าปลีก และจากร้านค้าย่อยทอดต่อไปยังเครือข่ายของระบบการค้ารวมถึงผู้ผลิต 
 
ผลกระทบจากมาตรการนี้ต่อภาคเศรษฐกิจส่วนรวมจะเกิดขึ้นผ่านผลของตัวคูณทวีทางการคลัง (Fiscal Multiplier) ซึ่งสะท้อนกลไกของการจับจ่ายใช้สอยอันจะกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนของเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจ ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมา คาดว่า ตัวคูณทวีทางการคลังอยู่ที่ประมาณ 0.4-0.7 เท่า  และส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของ GDP โดยทางการประเมินไว้ที่ 1.2-1.6% ซึ่งใกล้เคียงกับตัวเลขซึ่งคณะกรรมการ กกร. เคยคาดไว้ที่ 1.0-1.5% 
 
Krungthai COMPASS มองว่านโยบายนี้ถือเป็นมาตรการ Quick-win ที่จะผลักดันอุปสงค์ภายในประเทศให้สามารถฟื้นตัวดีขึ้น ทั้งยังกระตุ้นความเชื่อมั่นต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า สำหรับตัวเลขประมาณการจีดีพีปี 2567 ล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ 2.6% ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ของสำนักวิจัยหลายแห่งนั้น ยังไม่ได้พิจารณาถึงปัจจัยบวกที่อาจเกิดเกิดขึ้นจากโครงการ Digital Wallet อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของการดำเนินโครงการนี้ยังอาจต้องคำนึงผลของการโยกเงินงบประมาณ 2567 ผ่านการจัดสรรเม็ดเงินที่นำมาจากโครงการอื่น รวมถึงCrowding out effect จากต้นทุนทางการเงินที่อาจเพิ่มสูงขึ้นตามการเร่งระดมทรัพยากรการเงินของภาครัฐ

 
 
โครงการ Digital wallet อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผันเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่ในระบบมากยิ่งขึ้น
เศรษฐกิจนอกระบบของไทยมีขนาดใหญ่ คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 48.4% ของ GDP มากเป็นอันดับ 14 ของโลก จาก 158 ประเทศที่มีฐานข้อมูลของ World bank โดยสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่อยู่ที่ 32.7% และสูงกว่าเกือบทุกประเทศในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ ซึ่งมีสัดส่วนเศรษฐกิจนอกระบบต่อ GDP ที่เฉลี่ยเพียง 26.7%
 
 
มีข้อมูลประชาชนและธุรกิจ SME ที่อยู่ในระบบค่อนข้างน้อย ส่วนหนึ่งสะท้อนจากการมีผู้ที่อยู่ในฐานระบบภาษีน้อย จากประชากรทั้งหมด 66 ล้านคน มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพียง 10-11 ล้านคน และมีธุรกิจนอกระบบจำนวนมาก โดยปัจจุบันนี้ มีจํานวน SME อยู่ราว 3.2 ล้านราย แต่เป็นนิติบุคคลเพียง 8.4 แสนราย หรือคิดเป็น 26% ซึ่งนั่นหมายความว่ามี SME จำนวนมากถึงเกือบ 2.4 ล้านราย หรือ 74% ที่ไม่มีข้อมูลงบการเงินในระบบฐานข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 
 
 
 
ประเทศที่มีเศรษฐกิจนอกระบบขนาดใหญ่มักจะเผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมหลายด้าน โดย จากการศึกษาของ World Bank พบว่าประเทศที่มีเศรษฐกิจนอกระบบขนาดใหญ่มักจะมีรายได้ต่อหัวในระดับต่ำกว่า มีปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำสูงกว่า มีการกำกับดูแลและธรรมาภิบาลที่แย่กว่า มี Productivity ทั้งมิติของภาคธุรกิจและแรงงานที่ต่ำกว่า มี Resilience ต่อวิกฤตต่างๆ ต่ำกว่า และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ช้ากว่าประเทศที่มีเศรษฐกิจนอกระบบขนาดเล็ก
 
ภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับการผันเศรษฐกิจนอกระบบเข้ามาในระบบมากยิ่งขึ้น ซึ่งมาตรการ Digital wallet อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สามารถต่อยอดได้ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศโดยอาศัยข้อมูลเป็นแกนกลาง หรือเรียกได้ว่า Data Driven Economy ทำให้เข้าใจปัญหาที่แท้จริง ตั้งอยู่บนข้อมูลที่ดีพอที่จะนำไปสู่การตัดสินใจในการดำเนินนโยบายต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะถัดไป
 

 
Implication:
 
• โครงการ Digital Wallet ถือเป็นมาตรการด้านการคลังที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยให้สามารถฟื้นตัวได้ดีขึ้น เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศยังขาดแรงกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย การอัดฉีดเงินโดยตรงผ่านมาตรการดังกล่าวไปยังภาคครัวเรือนซึ่งกำลังเผชิญปัจจัยกดดันทั้งภาระหนี้และค่าครองชีพในระดับสูงจะช่วยหนุนกำลังซื้อ นอกจากนี้ แรงส่งจากการบริโภคที่เพิ่มขึ้น จะขับเคลื่อนการลงทุนภาคเอกชน ตลอดจนรายได้ประชาชาติโดยรวม อันจะเป็นฐานภาษีและแหล่งที่มาของรายได้รัฐบาลในอนาคต 
 
• อย่างไรก็ตาม การเร่งรัดนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมและสามารถโอนเงินให้กับประชาชนและร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการในช่วงไตรมาสที่ 4/2567 ถือเป็นความท้าทายในการดำเนินโครงการ
 
• ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะขนาด Micro และ SME เช่น ในธุรกิจค้าปลีก และร้านอาหาร รวมถึงธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรวางแผนเตรียมพร้อมรองรับโอกาสจากโครงการ Digital wallet ในการเพิ่มยอดขาย ตามเงื่อนไขที่รัฐบาลกำหนด
 
• นอกจากวัตุประสงค์เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ภาครัฐควรใช้โอกาสนี้ ในการต่อยอดสู่มาตรการเพื่อผันเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่ในระบบมากขึ้น ทั้งในมิติประชาชนและมิติธุรกิจ รวมถึงดึงเอาศักยภาพของข้อมูลที่จะเกิดขึ้นมาช่วยยกระดับการดำเนินนโยบายภาครัฐอื่นๆ ในอนาคต ให้มีประสิทธิภาพ ตรงกลุ่มเป้าหมาย บนแนวทาง Data driven economy และก้าวสู่ Digital economy อย่างเต็มขั้นมากขึ้น
 
ฉมาดนัย มากนวล
ณัฐพร ศรีทอง
ชนม์นิธิศ ไชยสิงห์ทอง
Krungthai COMPASS 
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 11 เม.ย. 2567 เวลา : 14:26:56
27-07-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (26 ก.ค.67) บวก 15.63 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,307.21 จุด

2. ประกาศ กปน.: ด่วน!!! คืนวันพรุ่งนี้ 27 ก.ค. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าว

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (26 ก.ค.67) บวก 8.27 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,299.85 จุด

4. MTS Gold คาดจะมีกรอบแนวรับ 2,380 เหรียญ และแนวต้าน 2,420 เหรียญ

5. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.15-36.40 บาท/ดอลลาร์

6. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (25 ก.ค.67) ร่วง 62.20 เหรียญ นักลงทุนเทขายทำกำไรหลังราคาพุ่งขึ้น

7. ตลาดหุ้นไทยเปิด (26 ก.ค.67) บวก 0.32 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,291.90 จุด

8. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (25 ก.ค.67) บวก 81.20 จุด ขานรับ GDP สหรัฐโตเกินคาด

9. ทองเปิดตลาด (26 ก.ค. 67) ลดลง 50 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 41,150 บาท

10. มรสุมกำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ส่งผลฝนฟ้าคะนอง กรุงเทพปริมณฑล-ภาคตะวันออก 70% ภาคเหนือ-ภาคอีสาน-ภาคกลาง 60% ภาคใต้ 30%

11. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (26 ก.ค.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 36.22 บาทต่อดอลลาร์

12. ประกาศ กปน.: 31 ก.ค. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนเพชรบุรี

13. ตลาดหุ้นปิด (25 ก.ค.67) ลบ 6.50 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,291.58 จุด

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (25 ก.ค.67) ลบ 5.36 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,292.72 จุด

15. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีแนวรับที่ระดับ 2,350 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,400 เหรียญ

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ July 27, 2024, 11:08 am