เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ "ภาครัฐทยอยลดการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ จะมีส่วนให้เงินเฟ้อไทยกลับมาเป็นบวกในไตรมาส 2/2567"


นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ปี 2563 ภาครัฐได้มีมาตรการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชนจากมาตรการควบคุมโควิดที่ส่งผลให้เศรษฐกิจชะงักงัน ต่อมาปี 2565 ราคาพลังงานในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นเป็นอย่างมากจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน โดยในปีดังกล่าวการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศของภาครัฐอยู่ที่ประมาณ 19-35% ของราคาเฉลี่ยที่แท้จริง จึงส่งผลให้ราคาพลังงานในประเทศมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาพลังงานโลก (รูปที่ 1) และอัตราเงินเฟ้อไทยในปี 2565 ต่ำกว่าหากไม่มีมาตรการ (รูปที่ 2)


 
 
 
ปัจจุบันในปี 2567 แม้ว่าราคาพลังงานในตลาดโลกจะเร่งตัวขึ้นในบางจังหวะ แต่ก็ผ่อนคลายลงจากจุดสูงสุดในปี 2565 ทำให้ภาครัฐทยอยปรับลดการอุดหนุนราคาพลังงานลงจากปีก่อนหน้า โดยปัจจุบันค่าไฟฟ้างวดเดือนม.ค.-เม.ย.67 อยู่ที่ 4.18 บาท/หน่วย และงวดเดือนต่อไป (เดือนพ.ค.-ส.ค.67) ก็มีแนวโน้มจะถูกตรึงไว้ในระดับเดิม เช่นเดียวกับราคาก๊าซหุงต้มก็ยังตรึงอยู่ที่ 423 บาท/ถังขนาด 15 กก. ไปจนถึงเดือนมิ.ย.67 ขณะที่ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลปรับขึ้น 50 สตางค์/ลิตร ตั้งแต่วันที่ 6 เม.ย.67 เป็นต้นไป ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลขณะนี้อยู่ที่ 30.44 บาท/ลิตร ซึ่งผลจากการอุดหนุนราคาพลังงานอย่างต่อเนื่องทำให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กองทุนฯ) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีภาระต้นทุนพลังงานและหนี้สินที่เพิ่มขึ้น (รูปที่ 3 และ 4)

 
ดังนั้น หากภาครัฐไม่มีการทยอยลดการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศจากระดับปัจจุบัน อาจส่งผลให้ภาระต้นทุนของกองทุนฯ และ กฟผ. มีแนวโน้มกลับไปแตะที่ระดับสูงสุดเหมือนในปี 2565 อีกครั้ง

- หากราคาดีเซลและก๊าซ LPG ยังคงได้รับการอุดหนุนเท่ากับในระดับปัจจุบัน ก็มีความเป็นไปได้ที่ภายในไตรมาส 2/2567 กองทุนฯ อาจต้องเผชิญกับสถานะติดลบสูงถึง 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นระดับเดียวกับช่วงปี 2565 ที่สูงสุดในประวัติการณ์ (ภายใต้สมมติฐานว่าราคาพลังงานโลกไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน)

- ในขณะที่ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) หากมีการอุดหนุนในระดับใกล้เคียงกับงวดเดือนม.ค.-เม.ย.67 ก็มีความเป็นไปได้ที่ภายในสิ้นปี 2567 ภาระต้นทุนคงค้างของ กฟผ. จะเพิ่มขึ้นกลับสู่ระดับใกล้เคียงกับช่วงปี 2565 ที่มีภาระต้นทุนสูงถึง 1.5 แสนล้านบาทอีกครั้ง

ในขณะที่ภาระต้นทุนการดำเนินการจากการอุดหนุนพลังงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ลดลง ประกอบกับหากมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ อาจจะเป็นจังหวะเวลาที่ภาครัฐจะทบทวนทยอยปรับลดการอุดหนุนราคาพลังงานลง โดยอาจพิจารณาสนับสนุนเฉพาะกลุ่มที่เห็นว่ามีความจำเป็น อาทิ กลุ่มเปราะบาง เพื่อที่ภาครัฐจะได้ฟื้นฟูฐานะทางการเงินสำหรับใช้รับมือในกรณีที่หากเกิดวิกฤตในอนาคต (buffer) ขณะเดียวกันภาครัฐอาจมุ่งเน้นการปรับโครงสร้างราคาพลังงานและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนของภาคเอกชนมากขึ้น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น เพื่อให้เกิดการลดต้นทุนพลังงานได้อย่างยั่งยืน

จากแนวทางที่ภาครัฐทยอยปรับลดการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศลงและปล่อยให้ราคาค่อยๆ สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง จึงส่งผลให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยจะพลิกกลับมาเป็นบวกได้ตั้งแต่เดือนพ.ค.67 เป็นต้นไป หลังจากเผชิญการติดลบมานาน 6 เดือน ทั้งนี้ ในปี 2567 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยคาดว่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ 0.8%

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 11 เม.ย. 2567 เวลา : 18:15:42
27-07-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (26 ก.ค.67) บวก 15.63 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,307.21 จุด

2. ประกาศ กปน.: ด่วน!!! คืนวันพรุ่งนี้ 27 ก.ค. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าว

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (26 ก.ค.67) บวก 8.27 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,299.85 จุด

4. MTS Gold คาดจะมีกรอบแนวรับ 2,380 เหรียญ และแนวต้าน 2,420 เหรียญ

5. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.15-36.40 บาท/ดอลลาร์

6. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (25 ก.ค.67) ร่วง 62.20 เหรียญ นักลงทุนเทขายทำกำไรหลังราคาพุ่งขึ้น

7. ตลาดหุ้นไทยเปิด (26 ก.ค.67) บวก 0.32 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,291.90 จุด

8. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (25 ก.ค.67) บวก 81.20 จุด ขานรับ GDP สหรัฐโตเกินคาด

9. ทองเปิดตลาด (26 ก.ค. 67) ลดลง 50 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 41,150 บาท

10. มรสุมกำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ส่งผลฝนฟ้าคะนอง กรุงเทพปริมณฑล-ภาคตะวันออก 70% ภาคเหนือ-ภาคอีสาน-ภาคกลาง 60% ภาคใต้ 30%

11. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (26 ก.ค.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 36.22 บาทต่อดอลลาร์

12. ประกาศ กปน.: 31 ก.ค. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนเพชรบุรี

13. ตลาดหุ้นปิด (25 ก.ค.67) ลบ 6.50 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,291.58 จุด

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (25 ก.ค.67) ลบ 5.36 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,292.72 จุด

15. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีแนวรับที่ระดับ 2,350 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,400 เหรียญ

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ July 27, 2024, 6:22 am