เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ "จีนเผชิญน้ำท่วมใหญ่ ฉุดผลผลิตข้าวเสียหายหนัก แม้ไทยจะได้อานิสงส์ แต่ปริมาณส่งออกข้าวไทยไปจีนปี 2024 อาจยังหดตัว 2%YoY"


จีนตอนใต้เผชิญน้ำท่วมใหญ่ตั้งแต่มิ.ย.2024 คาดฉุดผลผลิตข้าวจีนทั้งปี 2024 ลดลง 3%YoY หรือคิดเป็นกว่า 4 ล้านตัน สูงสุดในรอบ 20 ปี    
 
• จีนคงทยอยนำเข้าข้าวเพื่อชดเชยผลผลิตที่เสียหาย และเพื่อเพิ่มสต็อกตามนโยบายความมั่นคงด้านอาหาร โดยจีนคงเลือกนำเข้าจากไทยเป็นหลัก เพราะตรงกับฤดูข้าวหลักออกสู่ตลาด ทำให้ไทยอาจได้รับอานิสงส์ แต่คงไม่มากเพราะต้องแข่งกับข้าวเวียดนามที่ราคาถูกกว่า  
 
• แม้ไทยจะได้อานิสงส์หลังจีนน้ำท่วม แต่คาดทั้งปี 2024 อาจยังเห็นปริมาณส่งออกข้าวไทยไปจีนลดลง 2%YoY ขณะที่ราคาอาจพุ่ง 14%YoY หนุนมูลค่าส่งออกเติบโต 12%YoY  
 
 
จีนตอนใต้เผชิญน้ำท่วมใหญ่ปี 2024 ฉุดผลผลิตข้าวเสียหายหนัก โดยฝนตกหนัก/น้ำท่วมเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ตั้งแต่มิ.ย.2024 และบางพื้นที่ฝนตกหนักเตือนระดับสีแดง จนทางการจีนต้องออกประกาศรับมือน้ำท่วมฉุกเฉินในพื้นที่ระดับมณฑล 4 แห่ง และล่าสุดในต้นก.ค.ได้เกิดเขื่อนแตกในมณฑลหูหนาน ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวใหญ่ที่สุดในแถบแม่น้ำแยงซี 
 
ทั้งนี้ ผลผลิตข้าวทางตอนใต้ของจีนคิดเป็นมากกว่า 65% ของผลผลิตข้าวทั้งประเทศ (รูปที่ 1) ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวในฤดูหลัก นอกจากนี้ ผลของน้ำท่วมอาจกระทบต่อเนื่องไปยังข้าวในฤดูรองของจีนที่อาจได้รับความเสียหายด้วย ทำให้คาดว่าภาพรวมผลผลิตข้าวจีนทั้งปี 2024 อาจลดลง 3%YoY หรือลดลงราว 4 ล้านตัน รุนแรงที่สุดในรอบ 20 ปี
 
จีนอาจทยอยนำเข้าข้าวเพิ่มหลังน้ำท่วม เพื่อชดเชยผลผลิตที่เสียหายและเพื่อเป็นความมั่นคงด้านอาหาร แม้จีนจะผลิตข้าวได้เอง แต่ด้วยประชากรจำนวนมากที่บริโภคข้าวเป็นหลัก จีนจึงยังต้องนำเข้าข้าวทุกปี และเพื่อเป็นไปตามนโยบายหมายเลขที่ 1 ของจีนที่เน้นเรื่องความมั่นคงด้านอาหารอย่างจริงจังตลอดจนเป้าหมายสู่การเป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งด้านการเกษตรเป็นภารกิจหลัก ทำให้เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างน้ำท่วมใหญ่ จีนจึงอาจจำเป็นต้องนำเข้าข้าวเพิ่มเพื่อชดเชยผลผลิตที่เสียหาย และเติมสต็อกให้เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ สะท้อนผ่านสัดส่วนปริมาณสต็อกต่อการบริโภคต่อปีของจีนที่ชี้ให้เห็นถึงระดับความมั่นคงด้านอาหาร (รูปที่ 2) 
 
 
ทั้งนี้ คาดว่าอย่างน้อยที่สุดจีนจะต้องรักษาระดับสัดส่วนสต็อกต่อการบริโภคข้าวในปี 2024 ไว้ที่ราว 68% หรือมีกันไว้เป็นสต็อกสำหรับบริโภคในประเทศได้ราว 8.2 เดือนจากทั้งปี ซึ่งคงเป็นสัดส่วนใกล้เคียงปีก่อน/ก่อนโควิด โดยอาจเห็นจีนทยอยนำเข้าข้าวมากขึ้นในก.ย.-ธ.ค.2024 หลังสถานการณ์น้ำท่วมหนักช่วงมิ.ย.-ส.ค.คลี่คลายลง
 
จีนอาจเลือกนำเข้าจากไทยเป็นหลัก เพราะตรงกับฤดูข้าวหลักของไทยที่มีผลผลิตออกสู่ตลาด (ข้าวนาปี)  ในจังหวะที่ผลผลิตข้าวของจีนและคู่แข่งสำคัญอย่างเวียดนามมีผลผลิตทยอยลดลงตามฤดูกาล โดยคาดว่าไทยอาจได้อานิสงส์จากจีนเกิดน้ำท่วม จะหนุนให้ปริมาณส่งออกข้าวไทยไปจีนในมิ.ย.-ธ.ค.2024 โตราว 2%YoY (จาก 0.31 ล้านตันในปี 2023 เป็น 0.32 ล้านตันในปี 2024) 
 
อย่างไรก็ดี ด้วยภาพรวมราคาข้าวไทยที่สูงกว่าเวียดนาม (รูปที่ 3) จะเป็นปัจจัยกดดันสำคัญที่ทำให้ไทยแข่งขันได้ยาก ซึ่งอาจลดทอนผลของอานิสงส์ที่ไทยจะได้รับและอาจกระทบต่อส่วนแบ่งตสาดข้าวไทยในจีน
 
 
แม้ไทยจะได้อานิสงส์จากน้ำท่วมใหญ่ในจีน แต่คาดว่าภาพทั้งปี 2024 จะยังคงเห็นปริมาณส่งออกข้าวไทยไปจีนที่หดตัวราว 2%YoY (จาก 0.47 ล้านตันในปี 2023 เป็น 0.46 ล้านตันในปี 2024) เนื่องจากความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของไทยที่ลดลง ขณะที่คาดว่าราคาข้าวคงพุ่งราว 14%YoY จะช่วยหนุนมูลค่าส่งออกข้าวไทยไปจีนให้ขยายตัวได้ราว 12%YoY (จาก 311 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2023 เป็น 347 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2024) (รูปที่ 4) 
 
จีนเผชิญน้ำท่วมใหญ่ ฉุดผลผลิตข้าวเสียหายหนัก แม้ไทยจะได้อานิสงส์ แต่ปริมาณส่งออกข้าวไทยไปจีนปี 2024 อาจยังหดตัว 2%YoY

จีนตอนใต้เผชิญน้ำท่วมใหญ่ตั้งแต่มิ.ย.2024 คาดฉุดผลผลิตข้าวจีนทั้งปี 2024 ลดลง 3%YoY หรือคิดเป็นกว่า 4 ล้านตัน สูงสุดในรอบ 20 ปี    
 
• จีนคงทยอยนำเข้าข้าวเพื่อชดเชยผลผลิตที่เสียหาย และเพื่อเพิ่มสต็อกตามนโยบายความมั่นคงด้านอาหาร โดยจีนคงเลือกนำเข้าจากไทยเป็นหลัก เพราะตรงกับฤดูข้าวหลักออกสู่ตลาด ทำให้ไทยอาจได้รับอานิสงส์ แต่คงไม่มากเพราะต้องแข่งกับข้าวเวียดนามที่ราคาถูกกว่า  
 
• แม้ไทยจะได้อานิสงส์หลังจีนน้ำท่วม แต่คาดทั้งปี 2024 อาจยังเห็นปริมาณส่งออกข้าวไทยไปจีนลดลง 2%YoY ขณะที่ราคาอาจพุ่ง 14%YoY หนุนมูลค่าส่งออกเติบโต 12%YoY  
 
จีนตอนใต้เผชิญน้ำท่วมใหญ่ปี 2024 ฉุดผลผลิตข้าวเสียหายหนัก โดยฝนตกหนัก/น้ำท่วมเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ตั้งแต่มิ.ย.2024 และบางพื้นที่ฝนตกหนักเตือนระดับสีแดง จนทางการจีนต้องออกประกาศรับมือน้ำท่วมฉุกเฉินในพื้นที่ระดับมณฑล 4 แห่ง และล่าสุดในต้นก.ค.ได้เกิดเขื่อนแตกในมณฑลหูหนาน ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวใหญ่ที่สุดในแถบแม่น้ำแยงซี 
 
ทั้งนี้ ผลผลิตข้าวทางตอนใต้ของจีนคิดเป็นมากกว่า 65% ของผลผลิตข้าวทั้งประเทศ (รูปที่ 1) ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวในฤดูหลัก นอกจากนี้ ผลของน้ำท่วมอาจกระทบต่อเนื่องไปยังข้าวในฤดูรองของจีนที่อาจได้รับความเสียหายด้วย ทำให้คาดว่าภาพรวมผลผลิตข้าวจีนทั้งปี 2024 อาจลดลง 3%YoY หรือลดลงราว 4 ล้านตัน รุนแรงที่สุดในรอบ 20 ปี
 
จีนอาจทยอยนำเข้าข้าวเพิ่มหลังน้ำท่วม เพื่อชดเชยผลผลิตที่เสียหายและเพื่อเป็นความมั่นคงด้านอาหาร แม้จีนจะผลิตข้าวได้เอง แต่ด้วยประชากรจำนวนมากที่บริโภคข้าวเป็นหลัก จีนจึงยังต้องนำเข้าข้าวทุกปี และเพื่อเป็นไปตามนโยบายหมายเลขที่ 1 ของจีนที่เน้นเรื่องความมั่นคงด้านอาหารอย่างจริงจังตลอดจนเป้าหมายสู่การเป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งด้านการเกษตรเป็นภารกิจหลัก ทำให้เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างน้ำท่วมใหญ่ จีนจึงอาจจำเป็นต้องนำเข้าข้าวเพิ่มเพื่อชดเชยผลผลิตที่เสียหาย และเติมสต็อกให้เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ สะท้อนผ่านสัดส่วนปริมาณสต็อกต่อการบริโภคต่อปีของจีนที่ชี้ให้เห็นถึงระดับความมั่นคงด้านอาหาร (รูปที่ 2) 
 
ทั้งนี้ คาดว่าอย่างน้อยที่สุดจีนจะต้องรักษาระดับสัดส่วนสต็อกต่อการบริโภคข้าวในปี 2024 ไว้ที่ราว 68% หรือมีกันไว้เป็นสต็อกสำหรับบริโภคในประเทศได้ราว 8.2 เดือนจากทั้งปี ซึ่งคงเป็นสัดส่วนใกล้เคียงปีก่อน/ก่อนโควิด โดยอาจเห็นจีนทยอยนำเข้าข้าวมากขึ้นในก.ย.-ธ.ค.2024 หลังสถานการณ์น้ำท่วมหนักช่วงมิ.ย.-ส.ค.คลี่คลายลง
 
จีนอาจเลือกนำเข้าจากไทยเป็นหลัก เพราะตรงกับฤดูข้าวหลักของไทยที่มีผลผลิตออกสู่ตลาด (ข้าวนาปี)  ในจังหวะที่ผลผลิตข้าวของจีนและคู่แข่งสำคัญอย่างเวียดนามมีผลผลิตทยอยลดลงตามฤดูกาล โดยคาดว่าไทยอาจได้อานิสงส์จากจีนเกิดน้ำท่วม จะหนุนให้ปริมาณส่งออกข้าวไทยไปจีนในมิ.ย.-ธ.ค.2024 โตราว 2%YoY (จาก 0.31 ล้านตันในปี 2023 เป็น 0.32 ล้านตันในปี 2024) 
 
อย่างไรก็ดี ด้วยภาพรวมราคาข้าวไทยที่สูงกว่าเวียดนาม (รูปที่ 3) จะเป็นปัจจัยกดดันสำคัญที่ทำให้ไทยแข่งขันได้ยาก ซึ่งอาจลดทอนผลของอานิสงส์ที่ไทยจะได้รับและอาจกระทบต่อส่วนแบ่งตสาดข้าวไทยในจีน
 
แม้ไทยจะได้อานิสงส์จากน้ำท่วมใหญ่ในจีน แต่คาดว่าภาพทั้งปี 2024 จะยังคงเห็นปริมาณส่งออกข้าวไทยไปจีนที่หดตัวราว 2%YoY (จาก 0.47 ล้านตันในปี 2023 เป็น 0.46 ล้านตันในปี 2024) เนื่องจากความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของไทยที่ลดลง ขณะที่คาดว่าราคาข้าวคงพุ่งราว 14%YoY จะช่วยหนุนมูลค่าส่งออกข้าวไทยไปจีนให้ขยายตัวได้ราว 12%YoY (จาก 311 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2023 เป็น 347 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2024) (รูปที่ 4)
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 25 ก.ค. 2567 เวลา : 15:15:02
18-10-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ร่องมรสุมพาดผ่านส่งผลฝนฟ้าคะนองในกรุงเทพปริมณฑล-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่ง ตต. 70% ภาคใต้ ฝั่ง ตอ. 60% ภาคกลาง 40% ภาคเหนือ-ภาคอีสาน 30%

2. ทองเปิดตลาดวันนี้ (18 ต.ค. 67) พุ่งขึ้น 200 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 42,800 บาท

3. ตลาดหุ้นไทยเปิด (18 ต.ค.67) ลบ 0.14 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,493.98 จุด

4. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 33.00-33.25บาท/ดอลลาร์

5. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (18 ต.ค.67) แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย แทบไม่เปลี่ยนแปลง ที่ระดับ 33.20 บาทต่อดอลลาร์

6. ตลาดหุ้นปิด (17 ต.ค. 67) บวก 10.01 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,495.02 จุด

7. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (17 ต.ค.67) บวก 10.20 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,495.21 จุด

8. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 2,650 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,695 เหรียญ

9. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (16 ต.ค.67) บวก 0.46% รับแรงหนุนบอนด์ยีลด์ร่วง

10. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (16 ต.ค.67) บวก 337.28 จุด รับหุ้นแบงก์พุ่งผลประกอบการแกร่ง

11. ทองเปิดตลาดวันนี้ (17 ต.ค. 67) ปรับขึ้น 100 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 42,600 บาท

12. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 33.10-33.35 บาท/ดอลลาร์

13. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (17 ต.ค.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย แทบไม่เปลี่ยนแปลง ที่ระดับ 33.20 บาทต่อดอลลาร์

14. ร่องมรสุมเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านภาคใต้ตอนบนและภาคตะวันออก ส่งผล "กรุงเทพปริมณฑล-ภาคตะวันออก-ภาคใต้" ฝนตก 60% ภาคกลาง 40% ภาคเหนือ 30% ภาคอีสาน 20%

15. ตลาดหุ้นไทยเปิด (17 ต.ค.67) บวก 7.69 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,492.70 จุด

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ October 18, 2024, 12:26 pm