เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ "มาตรการกระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัย หนุนยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย อาจหดตัวน้อยลงในปี 2567"



มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยมีบรรยากาศที่ดีขึ้น  
 
• แต่การตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคยังต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสำคัญทั้งความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ความพร้อมทางการเงินของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย รวมถึงรูปแบบและทำเลที่ตั้งของสินค้า ขณะเดียวกันยังต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการอนุมัติสินเชื่อสำหรับผู้ซื้อแต่ละราย 
 
• ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ผลจากมาตรการฯ น่าจะทำให้ในช่วง 9 เดือนที่เหลือของปี 2567 การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศมีประมาณ 2.79 แสนหน่วย หดตัว 1% (YoY) และทำให้ทั้งปี 2567 อาจจะหดตัวประมาณ 1.6% ดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ว่าจะหดตัวประมาณ 3.6% หากไม่มีมาตรการดังกล่าว  

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ 
 
- การปรับปรุงมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยและการขยายเพดานราคาที่อยู่อาศัย เพื่อช่วยเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน และช่วยบรรเทาผลกระทบตลาดที่อยู่อาศัย
 
ทางการได้มีการปรับเกณฑ์การลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยเหลือร้อยละ 0.01 ซึ่งลดลงจากมาตรการเดิมที่จัดเก็บในอัตราร้อยละ 1.0 (อัตราจัดเก็บปกติอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ของราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์) รวมทั้งขยายเพดานราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ที่อยู่อาศัยจากไม่เกินมูลค่า 3 ล้านบาท เป็นราคาที่อยู่อาศัยไม่เกิน 7 ล้านบาท สำหรับที่อยู่อาศัยมือหนึ่งและมือสอง โดยเริ่มตั้งแต่วันที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2567 ผลจากมาตรการดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า 

- กลุ่มผู้บริโภคที่มีความพร้อมทางการเงินและที่กำลังจะโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในช่วงเวลาดังกล่าวรับประโยชน์สูงสุด เนื่องจากภาระรายจ่ายในการทำธุรกรรมการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้ซื้อที่อยู่อาศัยจะลดลง (รูปที่ 1) ทำให้ผู้ซื้อสามารถนำส่วนที่ประหยัดได้ไปซื้อสินค้าตกแต่งที่อยู่อาศัย ซึ่งจะช่วยให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง

รูปที่ 1 มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และการจดจำนองที่อยู่อาศัยช่วยลดภาระรายจ่ายในการทำธุรกรรมการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค
 
 

ขณะเดียวกัน การขยายเพดานราคาที่อยู่อาศัยให้ครอบคลุมระดับราคาระหว่าง 3.01-7.00 ล้านบาท ซึ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ซื้อที่มีรายได้ระดับกลางถึงบน น่าจะช่วยกระตุ้นให้กลุ่มผู้ซื้อที่มีความพร้อมทางการเงินให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้น โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ผลจากมาตรการฯ น่าจะทำให้ในช่วง 9 เดือนที่เหลือของปี 2567 การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศจะมีประมาณ 2.79 แสนหน่วย หดตัว 1% (YoY) และทำให้ทั้งปี 2567 นี้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศอาจมีจำนวน 3.6 แสนหน่วย หดตัวประมาณ 1.6% ดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ว่าจะหดตัว 3.6% หากไม่มีมาตรการฯ (รูปที่ 2)  

รูปที่ 2 มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และการจดจำนองที่อยู่อาศัยเข้ามาช่วยบรรเทาการหดตัวของตลาด


 
- ผลจากมาตรการฯ จะสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการที่ยังคงมีจำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จรอการขาย รวมถึงใกล้สร้างเสร็จในปีนี้ ให้สามารถระบายสินค้าที่มีอยู่เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการมีกระแสเงินสดหมุนเวียนดีขึ้น และลดภาระต้นทุนของผู้ประกอบการ จากข้อมูลของ AREA ณ สิ้นปี 2566 ที่อยู่อาศัยรอขายสะสมเฉพาะในส่วนของผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัยทั่วประเทศมีจำนวนกว่า 4 แสนหน่วย (โดยกรุงเทพฯและปริมณฑลคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 58% ของจำนวนเหลือขายทั่วประเทศ) เมื่อพิจารณาระดับราคาที่อยู่อาศัยรอขายสะสมทั่วประเทศ พบว่า ราคาที่อยู่อาศัยต่ำกว่า 7 ล้านบาท มีสัดส่วนสูงถึง 92% โดยมากกว่าครึ่ง (55%) เป็นกลุ่มที่อยู่อาศัยระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ขณะที่กลุ่มที่ทางการได้ขยายมาตรการครอบคลุมเพิ่มเติม คือ ราคาระหว่าง 3.01-7.00 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนราว 37% (รูปที่ 3) 

รูปที่ 3 ที่อยู่อาศัยรอขายสะสม ภายใต้มาตรการฯ มีสัดส่วน 92% ของทั้งหมด 

 
 
โดยกลุ่มที่จะได้ประโยชน์จากมาตรการฯ นอกจากประเภทคอนโดมิเนียมและทาวน์เฮ้าส์ที่มีสัดส่วนรอขายสะสมค่อนข้างสูงแล้ว คงจะเป็นประเภทบ้านเดี่ยวและบ้านแฝด เพราะเป็นกลุ่มที่มีจำนวนที่อยู่อาศัยรอขายสะสมในระดับราคา 3.01-7.00 ล้านบาทเป็นสัดส่วนที่สูง

สำหรับมาตรการอื่นๆ อาทิ มาตรการสินเชื่อโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัย จะช่วยสนับสนุนสินเชื่อให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง มาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการลงทุน ได้แก่ มาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับประชาชนที่ต้องการปลูกสร้างบ้าน สามารถนำค่าก่อสร้างบ้านมาหักลดหย่อนภาษี โดยค่าก่อสร้างทุก 1 ล้านบาท สามารถใช้หักลดหย่อนภาษีใด้ 1 หมื่นบาท รวมกันไม่เกิน 1 แสนบาท มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์) เป็นระยะเวลา 3 ปี สำหรับการสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อผู้มีรายได้น้อยตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข การให้การส่งเสริมกิจการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย (โครงการบ้าน BOI) 

โดยสรุป นอกจากมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์จะช่วยบรรเทาภาระรายจ่ายในการซื้อที่อยู่อาศัย ช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางสามารถเข้าถึงสินเชื่อ ยังเป็นเครื่องมือในการทำตลาดกระตุ้นการตัดสินใจในการซื้อที่อยู่อาศัย เนื่องจากปัจจุบันตลาดอสังหาริมทรัพย์มีจำนวนที่อยู่อาศัยคงค้างเหลือขายสะสมเป็นจำนวนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี การตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยยังมีองค์ประกอบที่สำคัญอีกมาก ทั้งความคุ้มค่าของสินค้า รวมถึงความพร้อมของผู้ซื้อที่อยู่อาศัยซึ่งจะเป็นภาระผูกพันในระยะยาว ท่ามกลางสถานการณ์ด้านรายได้และกำลังซื้อในช่วงข้างหน้าที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 10 เม.ย. 2567 เวลา : 18:39:46
08-07-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (7 ก.ค.68) ลบ 10 เซนต์ เหตุดอลลาร์แข็งค่า

2. พยากรณ์อากาศวันนี้ (8 ก.ค.68) "กรุงเทพปริมณฑล-ภาคเหนือ-ภาคอีสาน-ภาคตะวันออก" ฝนตกหนัก 70% ภาคกลาง 60% ภาคใต้ 60-70%

3. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (7 ก.ค.68) ร่วง 422.17 จุด หลังทรัมป์ประกาศ 14 ประเทศจะถูกเรียกเก็บภาษีตั้งแต่ 1 ส.ค.

4. ทองเปิดตลาดวันนี้ (8 ก.ค. 68) ปรับขึ้น 250 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 52,100 บาท

5. ตลาดหุ้นไทยเปิด (8 ก.ค. 68) ลบ 12.22 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,110.78 จุด

6. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 32.45-32.70 บาท/ดอลลาร์

7. ตลาดหุ้นปิด (7 ก.ค.2568) บวก 3.06 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,123.00 จุด

8. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (7 ก.ค.68) ลบ 8.48 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,111.46 จุด

9. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีแนวรับที่ระดับ 3,300 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 3,340 เหรียญ

10. กรุงศรีคาดเงินบาทสัปดาห์นี้ซื้อขายในกรอบ 32.10-32.75 จับตาภาษีทรัมป์

11. พยากรณ์อากาศวันนี้ (7 ก.ค.68) ฝนตกหนักในภาคเหนือ-ภาคอีสาน-ภาคตะวันออก 70% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคกลาง 60% ภาคใต้ 40-60%

12. ทองเปิดตลาดวันนี้ (7 ก.ค. 68) ปรับลดลง 150 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 51,800 บาท

13. ตลาดหุ้นไทยเปิดวันนี้ ( 7 ก.ค.68) ลบ 8.67 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,111.27 จุด

14. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (7 ก.ค.68) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 32.39 บาทต่อดอลลาร์

15. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 32.35-32.60 บาท/ดอลลาร์

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ July 8, 2025, 12:52 pm