เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
Krungthai COMPASS วิเคราะห์ "กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.25% ต่อปี คาดทิศทางนโยบายการเงินปี 68 อาจผ่อนคลายเพิ่มเติม"


 
กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.25% ต่อปี โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ 2.7% ในปี 2567 และ 2.9% ในปี 2568 ใกล้เคียงศักยภาพ ด้วยแรงหนุนจากการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน ตลอดจนการส่งออกสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในช่วงวัฏจักรขาขึ้นเป็นสำคัญ ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าอยู่ที่ 0.4% และ 1.1% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ
 
Krungthai COMPASS ประเมินว่ามีความเป็นไปได้ที่ กนง. จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะข้างหน้า สะท้อนจากการให้ความสำคัญกับการติดตามภาวะสินเชื่อซึ่งหดตัวลง และเศรษฐกิจระยะข้างหน้าที่มีความเสี่ยงด้านต่ำเพิ่มขึ้น หากมาตรการด้านการเงินที่ออกมายังไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นให้สินเชื่อขยายตัว รวมถึงผลเชิงลบจากมาตรการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ที่จะชัดเจนขึ้นในช่วง 2H68 คาดว่ามีโอกาสที่ กนง. จะตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ของปี 2568

กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ “คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบายตามคาดขณะที่คงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 และปี 2568
 
กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.25% ต่อปี ในการประชุมครั้งที่ 6/2567 โดยมีสาระสำคัญดังนี้
 
• เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัว 2.7% ในปี 2567 และ 2.9% ในปี 2568 ซึ่งใกล้เคียงกับศักยภาพ และสอดคล้องกับที่เคยประเมิน ด้วยแรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน รวมถึงการส่งออกสินค้าโดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องจักรที่มีแนวโน้มขยายตัวดีตามวัฏจักรสินค้าเทคโนโลยีที่อยู่ในช่วงขาขึ้น แม้ว่าการเติบโตยังมีความแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน ซึ่งภาคบริการเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้น แต่กลุ่ม SMEs และ ภาคอุตสาหกรรมบางส่วนยังฟื้นตัวได้ช้า จากแรงกดดันด้านความสามารถในการแข่งขัน ทั้งนี้ เศรษฐกิจระยะข้างหน้ามีความไม่แน่นอนสูงจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะความท้าทายจากการแข่งขันจากภายนอกที่รุนแรงขึ้น ทิศทางนโยบายการค้าโลก และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์  
 
• อัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะอยู่ที่ 0.4% และ 1.1% ในปี 2567 และ 2568 (ต่ำกว่าประมาณการเดิมที่ 0.5% และ 1.2% ตามลำดับ) ทั้งนี้ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานจะอยู่ในระดับต่ำตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 2567 และ 2568 คาดว่าอยู่ที่ 0.6% และ 1.0% ตามลำดับ โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นตามทิศทางเศรษฐกิจและการส่งผ่านต้นทุนในหมวดอาหาร ส่วน  อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย
 
 
สินเชื่อรวมหดตัว ส่วนหนึ่งจากความต้องการลงทุนบางสาขาธุรกิจที่ลดลง การชำระคืนหนี้เงินกู้ที่ยืมไว้เมื่อช่วงโควิด-19 และความเสี่ยงด้านเครดิตที่สูง ทั้งนี้ สินเชื่อของภาคท่องเที่ยวและบริการที่ชะลอลงจากการชำระคืนหนี้ ส่วนสินเชื่อSMEs หดตัว จากความเสี่ยงด้านเครดิตสูง โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่เผชิญกับปัญหาการแข่งขันรุนแรง นอกจากนี้ ต้องติดตามแนวโน้มการขยายตัวของสินเชื่อและนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมถึงผลของมาตรการ “คุณสู้ เราช่วย” ของภาครัฐ ที่มีเป้าหมายบรรเทาภาระหนี้แก่กลุ่มเปราะบางอย่างตรงจุด
 
• ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯปรับอ่อนค่าลง ตามการปรับคาดการณ์แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของไทยปรับลง สอดคล้องกับทิศทางของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ผ่านมา ทั้งนี้จำเป็นต้องติดตามพัฒนาการในตลาดการเงินของโลกระยะข้างหน้าที่มีแนวโน้มผันผวนมากขึ้น จากความไม่แน่นอนในแนวนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อตลาดการเงินไทย
 
 
 
Implication:
 
• Krungthai COMPASS ประเมินว่ามีความเป็นไปได้ที่ กนง. จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะข้างหน้า สะท้อนจากท่าทีของ กนง. ที่ความสำคัญกับการติดตามภาวะสินเชื่อรวมที่หดตัว และมุมมองที่มีต่อเศรษฐกิจระยะข้างหน้าซึ่งมีความเสี่ยงด้านต่ำเพิ่มมากขึ้น ดังประเด็นสำคัญในเอกสารแถลงข่าวผลการประชุม ประกอบด้วย (i) การให้ความสำคัญกับประสิทธิผลของการบรรเทาภาระหนี้กลุ่มเปราะบาง ทั้งการลดอัตราดอกเบี้ยที่ผ่านมา รวมถึงมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและ SME ที่ออกมาล่าสุด ว่าจะมีส่วนช่วยให้คุณภาพสินเชื่อปรับตัวดีขึ้น และส่งผลต่อการกลับมาขยายตัวของสินเชื่อได้เพียงใด และ (ii) ความไม่แน่นอนระยะข้างหน้าที่สูงขึ้น ทั้งความท้าทายจากการแข่งขันจากภายนอกที่รุนแรงขึ้น และแนวนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก ซึ่งจะกระทบต่อภาวะการค้าโลกและการส่งออกของไทย โดยเฉพาะในครึ่งหลังของปี 2568 ซึ่ง กนง. ประเมินว่า โมเมนตัมการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจะแผ่วลง (จาก 0.7%QoQsa ใน 1H68 สู่ 0.6% QoQsa ใน 2H68)  
 
• คาดว่ามีโอกาสที่ กนง. จะตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงไตรมาสที่ 2 ถึงไตรมาสที่ 3 ของปี 2568 หากมาตรการด้านการเงินที่ออกมายังไม่เพียงพอต่อการช่วยกระตุ้นให้สินเชื่อกลับมาขยายตัวได้ อย่างน้อยในช่วงไตรมาสที่ 2/68 ประกอบกับผลเชิงลบจากมาตรการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ต่อประเทศต่างๆ โดยเฉพาะจีน และผลโดยอ้อมถึงไทย ซึ่งอาจจะชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2568 ซึ่งจะเพิ่มความไม่แน่นอนต่อภาคการส่งออกและจีดีพีไทย จึงต้องติดตามท่าทีและการผ่อนคลายด้านการเงินเพิ่มเติมของ กนง. ต่อไป
 
ฉมาดนัย มากนวล
Krungthai COMPASS 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 19 ธ.ค. 2567 เวลา : 12:27:36
23-12-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ประกาศ กปน.: 24 ธ.ค. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำบางพลี

2. ตลาดหุ้นปิด (20 ธ.ค.67) ลบ 12.46 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,365.07 จุด

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (20 ธ.ค.67) ลบ 13.48 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.05 จุด

4. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 2,580 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,615 เหรียญ

5. ทั่วไทยอุณหภูมิลดลงเล็กน้อย "ยอดดอย" หนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5 องศา มีน้ำค้างแข็งบางแห่ง "ยอดภู" 6 องศา

6. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (19 ธ.ค.67) บวก 15.37 จุด ตลาดจับตาดัชนี PCE สหรัฐวันนี้

7. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (19 ธ.ค.67) ร่วง 45.20 เหรียญ หลังเฟดส่งสัญญาณชะลอลดดอกเบี้ย

8. ตลาดหุ้นไทยเปิด (20 ธ.ค.67) ลบ 0.50 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,375.83 จุด

9. ทองเปิดตลาดวันนี้ (20 ธ.ค. 67) ปรับลดลง 200 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 43,150 บาท

10. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 34.50-34.75 บาท/ดอลลาร์

11. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (20 ธ.ค.67) อ่อนค่าลง ที่ระดับ 34.59 บาทต่อดอลลาร์

12. ตลาดหุ้นปิด (19 ธ.ค.67) ลบ 21.42 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,377.53 จุด

13. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (19 ธ.ค.67) ลบ 6.55 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,392.40 จุด

14. MTS Gold คาดว่าวันนี้ราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 2,590 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,640 เหรียญ

15. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (19 ธ.ค.67) อ่อนค่าลงหนัก ที่ระดับ 34.58 บาทต่อดอลลาร์

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ December 23, 2024, 9:52 am