เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์ "BI ลดดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 5.25% หนุนเศรษฐกิจฟื้นตัว หลังดีลการค้าสหรัฐฯ ช่วยลดแรงกดดันค่าเงิน"


 

ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% สู่ระดับ 5.25% ในการประชุมวันที่ 15-16 ก.ค.2025 เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ท่ามกลางความเปราะบางของอุปสงค์ในประเทศและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกัน BI ยังคงให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพค่าเงินรูเปียห์ โดยปัจจัยสนับสนุนการลดดอกเบี้ย มีดังนี้

· แรงกดดันเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ แม้อัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย. ขยับขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 1.87% จาก 1.6% ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังอยู่ในกรอบเป้าหมายของ BI ที่ 1.5-3.5% สะท้อนว่าแรงกดดันด้านราคายังอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการผ่อนคลายนโยบายการเงิน โดยเงินเฟ้อที่ขยับขึ้นมีสาเหตุหลักมาจากอุปทานสินค้าเกษตรที่ลดลงส่งผลต่อราคาพืชผัก รวมถึงราคาค่าโดยสารเครื่องบินและเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงในช่วงปิดเทอม (รูปที่1)

รูปที่ 1: BI ปรับลดดอกเบี้ยครั้งที่ 3 ในรอบปีขณะที่เงินเฟ้อปรับตัวอยู่ในกรอบเป้าหมาย
 

 
 
 
· อินโดนีเซียได้ดีลการค้ากับสหรัฐฯ หนุนบรรยากาศเศรษฐกิจ โดยการบรรลุข้อตกลงลดภาษี (Reciprocal Tariffs) ที่เก็บจากสินค้าอินโดนีเซียจาก 32% เหลือ 19% ช่วยลดความเสี่ยงด้านการค้านักลงทุนคลายความกังวลส่งผลบวกต่อตลาดหุ้น โดยดัชนี Jakatar Composite Index (JCI) ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 7,192 จุด เพิ่มขึ้น +51.55% ณ วันที่ 16 ก.ค.2025

· ค่าเงินรูเปียห์ทยอยฟื้นตัวต่อเนื่องหลังอ่อนค่ามากสุดในเดือน เม.ย. 2025 โดยล่าสุดค่าเงินรูเปียห์แข็งค่าขึ้นแตะระดับ 16,281 รูเปียห์/ดอลลาร์ฯ (16 ก.ค.2025) สะท้อนความเชื่อมั่นนักลงทุนหนุนความมั่นใจด้านเสถียรภาพ ช่วยเปิดทางให้ BI ในนโยบายผ่อนคลายเพิ่มเติม (รูปที่ 2)

รูปที่ 2: ดีลการค้ากับสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนคลายกังวลเงินทุนไหลเข้าหนุนค่าเงินรูเปียห์แข็งค่า
 
 
 
 

· กำลังซื้อในประเทศยังไม่พื้นเต็มที่ สัญญาณจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและยอดค้าปลีกยังอยู่ในระดับต่ำ (รูปที่ 3) สะท้อนว่าเศรษฐกิจในประเทศยังต้องการแรงขับเคลื่อนเพิ่มเติม โดยเฉพาะจากฝั่งการบริโภคภาคครัวเรือน โดยยอดขายอาหารและเครื่องดื่มเติบโตช้าลง ยอดขายน้ำมันเชื้อเพลิง ยานยนต์/ชิ้นส่วน และอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์กลับมาคึกคักอีกครั้งในช่วงปิดเทอม

รูปที่ 3: ดัชนีความเชื่อมั่นการบริโภคและยอดค้าปลีกปรับตัวระดับต่ำ
 
 
 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในช่วงที่เหลือของปี 2025 มีแนวโน้มที่ BI จะลดดอกเบี้ยลงอีก 1 ครั้ง เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะข้างหน้า หากอัตราเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปียังอยู่ในกรอบเป้าหมาย และค่าเงินรูเปียห์เคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพ

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 17 ก.ค. 2568 เวลา : 15:14:38
19-07-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (18 ก.ค.68) บวก 8.47 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,206.58 จุด

2. ประกาศ กปน.: 24 ก.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนราชพฤกษ์ และถนนบรมราชชนนี

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (18 ก.ค. 68) บวก 7.06 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,205.17 จุด

4. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 3,320 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 3,350 เหรียญ

5. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (17 ก.ค.68) ร่วง 13.80 เหรียญ เหตุดอลลาร์แข็งค่า-ข้อมูลเศรษฐกิจแกร่ง

6. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (17 ก.ค.68) บวก 229.71 จุด นักลงทุนขานรับข้อมูลเศรษฐกิจ-ผลประกอบการแกร่ง

7. พยากรณ์อากาศวันนี้ (18 ก.ค.68) กรุงเทพปริมณฑล ฝนตกหนัก 70% ภาคเหนือ-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก 60% ภาคอีสาน 40% ภาคใต้ 30-40%

8. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (18 ก.ค.68) แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ที่ระดับ 32.44 บาทต่อดอลลาร์

9. ตลาดหุ้นไทยเปิดวันนี้ (18 ก.ค.68) บวก 0.77 จุดทดัชนีอยู่ที่ 1,198.88 จุด

10. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 32.35-32.55บาท/ดอลลาร์

11. ทองเปิดตลาดวันนี้ (18 ก.ค. 68) "คงที่" ทองรูปพรรณ ขายออก 52,050 บาท

12. ประกาศ กปน.: 23 ก.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก)

13. ตลาดหุ้นปิด (17 ก.ค.68) บวก 40.48 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,198.11 จุด

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (17 ก.ค.68) บวก 33.38 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,191.01 จุด

15. MTS Gold คาดราคาทองคำยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในกรอบแคบ Sideways มีแนวรับสำคัญอยู่ที่ระดับ 3,320 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 3,355 เหรียญ

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ July 19, 2025, 1:37 pm