หุ้นทอง
แนวทางการวัดผลกระทบทางสังคม (Social Value Impact Measurement)


ทุกวันนี้ประเด็นเรื่องการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น โดยรัฐบาลได้เดินหน้าพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bioeconomy, Circular Economy, Green Economy) และสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ด้านภาครัฐ ที่ผ่านมามีนโยบายการส่งเสริมต่างๆ อาทิ การตราร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ธุรกิจที่ลงทุนในการสนับสนุนโครงการชุมชน ด้านภาคเอกชนโดยในส่วนของตลาดทุน ก.ล.ต. มีนโยบายส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดเผยข้อมูลที่ครอบคลุมถึงความยั่งยืนในมิติต่าง ๆ รวมถึงในมิติด้านสังคม อาทิ การเคารพสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า และการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม ซึ่งบริษัทจดทะเบียนที่มีโครงการพัฒนาชุมชนและสังคมนอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการเข้าร่วมโครงการของบีโอไอ ยังสามารถนำผลการดำเนินงานที่สร้างผลกระทบต่อสังคมอย่างยั่งยืน (social impact) มาเผยแพร่ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี (แบบ 56-1 One Report) เพื่อสะท้อนถึงประสิทธิภาพการบริหารงานของบริษัท และเป็นปัจจัยในการพิจารณาความน่าเชื่อถือ การยอมรับและการสนับสนุนแบรนด์ของบริษัทจากผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียด้วย 

 
การรายงานผลลัพธ์ (outcomes) ที่มีการวัดผลกระทบจากการดำเนินงานของบริษัทต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงพัฒนาการในการจัดการความยั่งยืนของบริษัทอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ปัจจุบันยังพบว่ามีการรายงานไม่มากนัก ซึ่งแท้จริงแล้วการรายงานจะทำให้รู้ว่าโครงการหรือการดำเนินงานของบริษัท ตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้เสียที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้มากน้อยเพียงใด สามารถนำไปติดตามผล พิจารณาปรียบเทียบและปรับปรุงแนวทางการดำเนินงาน รวมถึงเพิ่มผลกระทบเชิงบวกและลดผลกระทบเชิงลบ หรือนำไปพิจารณาความคุ้มค่าของเงินลงทุนในโครงการนั้นได้

ปัจจุบันแนวทางการวัดผลกระทบจากการดำเนินงานสามารถทำได้หลายวิธี อาทิ การเปรียบเทียบก่อนและหลัง (pre-post comparisons) การวิเคราะห์ความแตกต่างในความแตกต่าง (Difference-in-Differences) และการทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม (RCTs) ตลอดจนการคำนวณผลตอบแทนการลงทุนทางสังคม (Social Return on Investment หรือ SROI และการวัดและจัดการผลกระทบ (Impact Measurement & Management หรือ IMM) ซึ่งการวัดผลแบบ SROI และ IMM เป็นแนวทางที่นิยมใช้ในระดับสากล เพื่อให้ภาคธุรกิจพิจารณานำเครื่องมือและหลักการวัดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมมากขึ้น นำไปสู่การยกระดับการเปิดเผยรายงานข้อมูลด้านความยั่งยืนในตลาดทุนไทยให้น่าเชื่อถือและสอดคล้องมาตรฐานสากล

 
การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment: SROI) เป็นการนำผลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการเพื่อสังคม มาคำนวณให้เป็นมูลค่าทางการเงิน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการวิเคราะห์คุณค่าของโครงการและประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่สังคม โดยมีหน่วยเป็น “เท่า” เมื่อเทียบกับเงินลงทุนทั้งหมดของโครงการ หรืออาจกล่าวได้ว่า จากเงินลงทุน 1 บาทนั้น สามารถสร้างผลตอบแทนทางสังคมเป็นมูลค่าเท่าไร ซึ่งการวิเคราะห์ SROI จะช่วยให้ผู้ดำเนินโครงการมีแนวทางปรับปรุงการทำงานเพื่อให้สังคมได้รับประโยชน์มากขึ้น และช่วยให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลความคุ้มค่าของโครงการเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน โดยมีวิธีการประเมินมูลค่า เช่น การสำรวจความเต็มใจที่จะจ่าย (willingness-to-pay surveys) ราคาตลาด (market prices) หรือวิธีการตามต้นทุน (cost-based approaches) และสามารถนำไปเปรียบเทียบกับโครงการอื่น ๆ ของกิจการของตนเองได้

การวัดและจัดการผลกระทบ (Impact Measurement and Management: IMM) เป็นการระบุและพิจารณาถึงผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบจากการดำเนินธุรกิจหรือดำเนินโครงการขององค์กรที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อหาวิธีในการลดผลกระทบเชิงลบและเพิ่มผลกระทบเชิงบวกเพื่อให้ตอบโจทย์เป้าหมายด้านยั่งยืน โดยการระบุผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ ไม่ได้จำกัดเฉพาะผลที่เกิดในระยะสั้น แต่รวมถึงผลระยะยาวเพื่อให้องค์กรมีข้อมูลสำหรับการตัดสินใจและปรับปรุงผลการดำเนินงานของธุรกิจ โดยกระบวนการทำ IMM มีทั้งเครื่องมือผ่านแพลตฟอร์ม Business Call to Action’s Impact Lab (BcTA) ซึ่งพัฒนาโดย UNDP และแพลตฟอร์ม Impact Flow* ซึ่ง UNDP พัฒนาร่วมกับ ก.ล.ต. เพื่อวัดผลลัพธ์และประเมินความก้าวหน้าของโครงการ รวมทั้งใช้จัดทำรายงานผลลัพธ์ไปยังผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือ

ความแตกต่างระหว่าง SROI และ IMM

 
SROI แสดงมูลค่าทางการเงินของผลลัพธ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ในการสื่อสารผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อาจคุ้นเคยกับตัวชี้วัดทางการเงินมากกว่า ทำให้การเปรียบเทียบข้อมูลผลลัพธ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นจากการลงทุนสามารถเข้าใจได้ง่าย ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจลงทุน อย่างไรก็ดี การประเมินมูลค่าออกมาในรูปแบบตัวเงินอาจมีประเด็นที่ท้าทาย เพราะเป็นการประเมินมูลค่าโดยใช้ความเห็นของผู้ประเมิน ซึ่งหากขาดแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ อาจทำให้การประเมินมีความลำเอียงหรือมีอคติ รวมทั้งกระบวนการวิเคราะห์ที่เน้นผลลัพธ์ในเชิงปริมาณอาจไม่สามารถใช้เปรียบเทียบระหว่างธุรกิจที่มีบริบทแตกต่างกัน อีกทั้งยังไม่สามารถครอบคลุมผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ทั้งหมด นอกจากนี้ อาจต้องใช้เวลาและทรัพยากรจำนวนมากในการดำเนินการ จึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ในวิธีการวิเคราะห์และประมวลผลโดยเฉพาะ ทำให้องค์กรหรือโครงการขนาดเล็กเข้าถึงได้น้อย**

ขณะที่ IMM ประเมินโดยตัวชี้วัดที่หลากหลาย นอกเหนือจากข้อมูลทางการเงิน โดยบริษัทสามารถอ้างอิงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) มาเป็นตัวชี้วัด ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลและสามารถวัดผลกระทบตามบริบทและวัตถุประสงค์เฉพาะของแต่ละธุรกิจ เพื่อจัดการผลกระทบของกิจกรรมของบริษัทโดยครอบคลุมในระยะยาว ทำให้บริษัทสามารถติดตามความคืบหน้า และปรับเปลี่ยนเป้าหมายหรือกลยุทธ์การดำเนินงานให้เข้ากับสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้

*หมายเหตุ: ข้อมูลสรุปจากเครือข่ายส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (Link)

ปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลและแพลตฟอร์มดิจิทัลที่นำมาใช้ในการวัดผลกระทบอาจช่วยในเรื่องการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลได้มากขึ้น และหากในอนาคตมีการรวมตัวกันระหว่างผู้มีส่วนได้เสียในการพิจารณากำหนดมาตรฐานตัวชี้วัดที่จะใช้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดความสอดคล้องในการประเมินผลลัพธ์ ก็จะช่วยเพิ่มความสะดวก โปร่งใสและน่าเชื่อถือในรายงานความยั่งยืนได้มากขึ้น

โดยรวมแล้ว ทั้ง SROI และ IMM เป็นแนวทางที่ใช้ในการวัดและจัดการผลกระทบทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการจัดทำรายงานความยั่งยืนของภาคธุรกิจที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยแต่ละวิธีก็มีจุดแข็ง จุดอ่อน ที่แตกต่างกันไป ดังนั้น ในการเปิดเผยข้อมูลผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม องค์กรควรพิจารณาวัตถุประสงค์ บริบท และทรัพยากรที่จำเป็นอย่างรอบคอบเพื่อเลือกแนวทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับความต้องการ วัฒนธรรมองค์กร ทรัพยากร และแนวปฏิบัติภายในองค์กรของตนเอง เพื่อประโยชน์ในการช่วยเสริมสร้างความโปร่งใสและแสดงความรับผิดชอบในการรายงานผลการดำเนินงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของธุรกิจต่อสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบทของตน และที่สำคัญไม่ทำให้ผู้ลงทุน ผู้ถือหุ้น ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียสำคัญผิดด้วยการเปิดเผยข้อมูลหรือข้อความที่แสดงความเป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของธุรกิจที่เกินความเป็นจริง (greenwashing)

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 26 ก.ค. 2567 เวลา : 19:25:58
08-09-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (6 ก.ย.67) บวก 23.36 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,427.64 จุด

2. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (6 ก.ย.67) บวก 22.52 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,426.80 จุด

3. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำยังคงแกว่งตัวในกรอบแนวรับที่ระดับ 2,490 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,525 เหรียญ

4. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 33.50-33.75 บาท/ดอลลาร์

5. ทองเปิดตลาดวันนี้ (6 ก.ย. 67) ลดลง 150 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 40,500 บาท

6. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (6 ก.ย.67) แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ที่ระดับ 33.60 บาทต่อดอลลาร์

7. มรสุมกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ส่งผลฝนตกหนักในภาคใต้ ฝั่ง ตต. 70% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก 60% ภาคอื่น 40%

8. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (5 ก.ย.67) ร่วง 219.22 จุด ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน-ตลาดจับตาจ้างงานสหรัฐ

9. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (5 ก.ย.67) บวก 17.10 เหรียญ รับความหวังเฟดลดดอกเบี้ย 0.50%

10. ตลาดหุ้นไทยเปิด (6 ก.ย.67) บวก 9.63 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,413.91 จุด

11. ข่าวดี !!! พรุ่งนี้ (6 ก.ย. 67) น้ำมันเบนซิน ลด 40 สต. แก๊สโซฮอล์ ลด 50 สต.

12. ตลาดหุ้นปิดวันนี้ (5 ก.ย.67) พุ่งแรง บวก 38.79 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,404.28 จุด

13. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (5 ก.ย.67) บวก 28.71 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,394.20 จุด

14. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 2,480 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,510 เหรียญ

15. ประกาศ กปน.: 10 ก.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล โรงงานผลิตน้ำสามเสน 2

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ September 8, 2024, 6:56 am